Kulthida Songkittipakdee, Public Relations Director

ทิศทางของเราคือการชัดเจนในเรื่องการประชาสัมพันธ์สถาปนิกไทยไปสู่ระดับนานาชาติมากขึ้น ซึ่งจะเป็นหน้าที่สำคัญของประชาสัมพันธ์วาระนี้ ขณะที่การพัฒนาการประชาสัมพันธ์ในประเทศเราก็ยังคงยังทำอยู่ต่อเนื่องเช่นกัน เพียงแค่ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายต่างประเทศ และฝ่ายอื่นๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับโครงการนั้นๆ

กุลธิดา ทรงกิตติภักดี
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สมาคมสถาปนิกสยามฯ

อาษา: ช่วยแนะนำตัวและเล่าถึงบทบาทการทำงานภายในสมาคมฯ สั้นๆ 

กุลธิดา ทรงกิตติภักดี: ถ้าในเชิงวิชาชึพ ปัจจุบันเป็นสถาปนิกและผู้ก่อตั้งออฟฟิศ HAS Design and Research ส่วนในการทำงานร่วมกับสมาคมฯ มีโอกาสได้ร่วมงานกับสมาคมฯ ตั้งแต่วาระที่แล้ว ในส่วนของอนุกรรมการสถาบันสถาปนิกสยามฯ (ISA) และส่วนฝ่ายประชาสัมพันธ์ก็ได้รับหน้าที่ให้ดูเรื่องวารสารอาษาเป็นหลัก พอมาวาระนี้ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เข้ามาดูในส่วนของประชาสัมพันธ์เต็มตัว คือดูแลทุกช่องทางการประชาสัมพันธ์ของสมาคมฯ ขณะเดียวกันก็ยังเป็นอนุกรรมการของสถาบันสถาปนิกฯ (ISA) ควบคู่ไปด้วย

อาษา: หลังจากได้เข้ามาดูฝ่ายประชาสัมพันธ์เต็มตัว คุณกุลธิดาได้วางทิศทางการพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของสมาคมฯ ไว้อย่างไรบ้าง

กุลธิดา ทรงกิตติภักดี: ในวาระนี้หน้าที่ค่อนข้างเข้มข้น เพราะอยากต่อยอดพื้นฐานที่มีอยู่มาทำให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทิศทางที่คุยกับท่านนายกสมาคมฯ คือการชัดเจนในเรื่องการประชาสัมพันธ์สถาปนิกไทยไปสู่ระดับนานาชาติ ซึ่งนี่จะเป็นหน้าที่สำคัญของประชาสัมพันธ์วาระนี้ ขณะที่การพัฒนาการประชาสัมพันธ์ในประเทศเราก็ยังคงทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ที่เพิ่มเติมเข้ามาจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายประชาสัมพันธ์และฝ่ายต่างประเทศ รวมถึงฝ่ายทะเบียนและฝ่ายอื่นๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับโครงการนั้นๆ  

อาษา: ช่องทางที่สมาคมฯ ใช้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารสถาปนิกไทยไปสู่ระดับนานาชาติ มีช่องทางใดบ้าง

กุลธิดา ทรงกิตติภักดี: ณ ตอนนี้หลักๆ คงเป็นวารสารอาษา เพราะเราจัดทำเป็นสองภาษา และเร็วๆ นี้ก็ได้วางแผนปรับโฉมเว็บไซต์ของสมาคมฯ ใหม่ทั้งหมด หลังจากทราบมาว่าเว็บไซต์ของสมาคมฯ ไม่ได้รับการปรับปรุงมาเกือบ 7 ปีแล้ว (หัวเราะ) ซึ่งรูปแบบที่มีอยู่เดิม ทำให้เกิดการหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนไม่ดึงดูด ก่อนจะเสนอปรับปรุงเราก็ได้มีการศึกษาต้นแบบจากสมาคมสถาปนิกอื่นๆ อย่างสิงคโปร์บ้าง ญี่ปุ่นบ้าง เพื่อดูว่ารูปแบบการประชาสัมพันธ์ของเค้าสื่อสารออกไปอย่างไร สิ่งสำคัญคือเราจะปรับปรุงเว็บไซต์ของเราให้มีเนื้อหาหลักที่เข้าถึงได้ทั้ง 2 ภาษา และสามารถเข้าถึงทุกๆ กิจกรรม ข้อมูล และเนื้อหาทางวิชาการได้ง่ายขึ้น  

ในฐานะของประชาสัมพันธ์เราจะเป็นศูนย์รวมให้ทุกฝ่าย โดยนำข้อมูลมาจัดทำให้เข้าถึงง่ายขึ้น ส่วนกิจกรรมต่างๆ ก็จะเป็นรูปแบบ digital calendar ที่สมาชิกหรือทุกคนสามารถเข้ามาดูได้เลยว่าในแต่ละเดือนสามารถร่วมกิจกรรมอะไรได้บ้าง ทั้งนี้ถ้าดูข้อมูลจาก data หลังบ้านจะพบว่ากลุ่มสถาปนิกที่เข้ามาดูเว็บไซต์ของเราเป็นเป็นเด็กรุ่นใหม่เยอะ แต่เข้ามาดูในส่วนของการหางาน (หัวเราะ) ฉะนั้นไหนๆ เค้าก็คลิกเข้ามาในเว็บไซต์แล้ว เราจึงต้องออกแบบเว็บไซต์ให้น่าสนใจ เพื่อดึงให้เค้าคลิกดูข้อมูลอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อวิชาชีพเพิ่มเติม 

และอีกหนึ่งโครงการที่กำลังวางแผนร่วมกันอยู่จะมีในส่วนของการทำปฏิทินกิจกรรมในเว็บไซต์ด้วย เพราะตอนนี้ทุกฝ่ายมีกิจกรรมแต่ได้รับการประชาสัมพันธ์ที่แตกต่างกันออกไป ในฐานะของประชาสัมพันธ์เราจะทำตัวเหมือนเป็นศูนย์รวมให้ทุกฝ่าย โดยทำเป็นรูปแบบ digital calendar ที่สมาชิกหรือทุกคนสามารถเข้ามาดูได้เลยว่าในแต่ละเดือนสามารถร่วมกิจกรรมอะไรได้บ้าง

อาษา: นอกจากเว็บไซต์ที่กำลังจะมีการปรับปรุงใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงยิ่งขึ้นแล้ว ช่องทางการประชาสัมพันธ์อื่นๆ ของสมาคมฯ มีความน่าสนใจและแตกต่างกันอย่างไร

กุลธิดา ทรงกิตติภักดี: ถ้าช่องทางอื่นๆ ก็จะเป็นในแง่ของมีเดีย ตอนนี้เรามี Facebook เพจต่างๆ เช่น เพจหลักของสมาคมฯ เพจ ASA Platform ในขณะเดียวกันยังมีเพจในส่วนภูมิภาคอีก ซึ่งเราก็พยายามหาวิธีการในการรวมศูนย์ข้อมูลทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียวอยู่ เพราะแต่ละเพจก็จะมีข้อมูลข่าวสารและความน่าสนใจที่แตกต่างกันไป ท่านนายกฯ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานอีกทีมหนึ่งขึ้นมาเพื่อทำงานส่วนนี้โดยเฉพาะ คือการเข้าไปประสานและสนับสนุนส่วนภูมิภาค รวมถึงทุกๆ เพจ ให้สามารถนำข่าวสารกิจกรรมเข้ามาประชาสัมพันธ์ในส่วนกลางได้มากขึ้น เหมือนกับแชร์พื้นที่ส่วนกลางให้ส่วนย่อยสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ 

นอกจาก Facebook เพจแล้ว ก็มี instragram และ Line@ ที่เชื่อมต่อกับสมาชิกได้โดยตรง และก็มีแผนการประชาสัมพันธ์ที่ได้ร่วมวางแผนกับฝ่ายทะเบียนและสถาบันสถาปนิกฯ (ISA) จัดกิจกรรม roadshowโดยจะตระเวนไปตามมหาวิทยาลัยในภูมิภาค เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพื่อไปเล่าให้ฟังว่าสมาคมสถาปนิกฯ มีความสำคัญอย่างไร เป็นสมาชิกแล้วมีสิทธิประโยชน์อย่างไรบ้าง รวมถึงในปีนี้ในส่วนของวารสารอาษา (ASA Journal) เราก็จะมีจัด talk ในรูปแบบไฮบริด ทั้งออนไลน์ออฟไลน์ และ site tour พาไปชมโครงการต่างๆ ที่ลงในวารสาร ให้ได้มาเห็นอาคารจริง คุยกับสถาปนิกที่ออกแบบกันหน้างาน และนำเสนอเรื่องราวใหม่ๆ ที่น่าสนใจเน้นไปในเชิงต่อยอดกิจกรรมให้กับสมาชิก และนำเสนอเนื้อหาที่ลงในนิตยสารผ่านทางรูปแบบที่สัมผัสได้จริง ซึ่งตรงนี้ก็เป็นกิจกรรมใหม่ที่กำลังเซตอัพกันอยู่ 

อาษา: ระหว่างนี้มีกิจกรรมอะไรอื่นๆ อีกไหม ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์กำลังดำเนินการอยู่และอยากประชาสัมพันธ์ผ่านคอลัมน์นี้

กุลธิดา ทรงกิตติภักดี: เราพยายามหาพันธมิตร media partners ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มากขึ้น ที่ไม่ใช่แค่ในเชิงการประชาสัมพันธ์ข่าวสารสถาปนิกไทยอย่างที่กล่าวไป แต่ยังเป็นการเข้าไปมีส่วนร่วมในเชิงกิจกรรมเพื่อให้สมาชิกของเราสามารถเข้าไปร่วมแต่ละกิจกรรมของกลุ่ม media partners ได้ด้วย อย่างปลายปีนี้เรากำลังจะมีกิจกรรมไปร่วมบรรยายเนื้อหาด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบกับ ACASIA ซึ่งมีทีมวารสาร Architecture Asia ที่เซียงไฮ้เป็นผู้จัด โดยจะเป็นกิจกรรมรูปแบบออนไลน์ที่นำเชิญสถาปนิกจากหลายๆ ประเทศในเครือ ACASIA มาบรรยาย

และในส่วนที่เราจัดกันเองปลายปีก็จะมีกิจกรรม ASAWOW (WONDER OF WELL-BEING CITY) เป็นงานใหญ่ที่เราร่วมกับอมรินทร์ กทม. และ ททท. โดยคณะทำงานตั้งใจให้งานนี้เป็นการเปิดประเด็นให้คนทั่วไปคาดการณ์อนาคตของเมืองว่าเราจะมีเมืองสุขภาวะได้อย่างไร เป็นกิจกรรมที่จะจัดในสวน outdoor โดยสิ่งที่น่าสนใจคือ จะเป็นการรวมตัวกันระหว่างผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้ผลิตวัสดุต่างๆ และสถาปนิก ที่อยากให้มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในเมือง กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมใหม่ที่ยังไม่เคยจัดมาก่อน และเราก็อยากจะจัดต่อเนื่องเหมือนที่เราจัด ASA Expo กันทุกๆ ปี

เราพยายามเข้าไปร่วมกับ media partners ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศให้มากขึ้น ที่ไม่ใช่แค่ในเชิงการประชาสัมพันธ์ข่าวสารสถาปนิกไทย แต่ยังเป็นการเข้าไปมีส่วนร่วมในเชิงกิจกรรมเพื่อให้สมาชิกของเราสามารถเข้าไปร่วมแต่ละกิจกรรมของกลุ่ม media partners ได้ด้วย อย่างปลายปีนี้ เรากำลังมีกิจกรรมที่จะได้กลับไปร่วมบรรยายเนื้อหาด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบกับ ARCASIA โดยจะเป็นกิจกรรมรูปแบบออนไลน์ที่นำสถาปนิกหลายๆ ประเทศในเครือ ARCASIA มาบรรยาย

สิ่งที่คุณกุลธิดาอยากให้เกิดขึ้นในวงการสถาปัตยกรรมไทยมากที่สุด ผ่านช่องทางและกระบวนการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของสมาคมฯ คืออะไร

กุลธิดา ทรงกิตติภักดี: ถ้ามองจากมุมของตนเองในบทบาทสถาปนิกและอาจารย์ วารสารอาษาเป็นช่องทางแรกๆ ในการประชาสัมพันธ์ผลงานของสถาปนิกไทย ขณะเดียวกันก็นำเสนอบทความเชิงวิชาการที่ให้ความรู้ในหลายแง่มุม บางทีเราก็หยิบเนื้อหาจากวารสาร หรือบทความเก่าๆ ในวารสารเดิมมาอ้างอิงให้นิสิตนักศึกษาดูเป็นตัวอย่างในการสอน ส่วนตัวเลยมองว่าวารสารอาษากลายเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ ที่แสดงถึงวิวัฏนาการของสถาปัตยกรรมในเมืองไทย สามารถนำมาใช้ค้นคว้าหรือเรียนรู้โดยสมาคมฯเองก็มีความตั้งใจจะนำวารสารฉบับเก่าๆ มาสแกนเพื่อเผยแพร่ลงในรูปแบบออนไลน์ จัดทำเป็นเหมือนคลังห้องสมุดให้กับสถาปนิกหรือบุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาค้นคว้าและเข้าถึงข้อมูลทั้งยุคเก่าและใหม่ได้ง่าย ขณะเดียวกันถ้าอาจารย์นำข้อมูลในวารสารไปแบ่งปันกับนิสิตนักศึกษา ก็จะทำให้คนรุ่นใหม่เริ่มรู้จักและเห็นภาพการทำงานของสมาคมฯ มากขึ้น 

ขณะที่บทบาทของประชาสัมพันธ์ในยุคนี้นอกจากจะทำหน้าที่เสมือนเป็นสะพานในการเผยแพร่ข้อมูลวิชาชีพสถาปนิกให้กับผู้ที่สนใจในประเทศผ่านรูปแบบที่นำสมัยแล้ว เรายังเป็นอีกแรงกระตุ้นหนึ่งที่จะผลักดันให้สถาปนิกไทยมีความพร้อมในการนำเสนอผลงานของตนเองบนเวทีโลกอีกด้วย รวมถึงในส่วนของฝ่ายวิชาการเองก็มีความตั้งใจจะนำวารสารฉบับเก่าๆ มาสแกนเพื่อเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ จัดทำเป็นเหมือนคลังห้องสมุดให้กับสถาปนิกหรือบุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาค้นคว้าและเข้าถึงข้อมูลทั้งยุคเก่าและใหม่ได้ง่าย 

อ่านบทความคอลัมน์อื่นๆ หรือดาวน์โหลดเล่มวารสารฉบับออนไลน์ 08 True Colors คลิกได้ที่นี่

Pin It on Pinterest

Shares
Share This