IT’S A LIVING THING

Having taken inspiration from the traditional tropical architecture of the region, the design of this factory in Ho Chi Minh City was developed with a porous façade devised to act as a lush green “skin”.

Text: Jaksin Noyraiphoom
Photo courtesy of G8A Architecture & Urban Planning

Download the online journal Issue 02 More Than Skin Click here

ผิวผนังภายนอกของ อาคารโรงงานเป็นผนัง ที่ปลูกต้นไม้หลากหลายชนิดโดยรอบ
Photo courtesy of G8A Architecture & Urban Planning

เดิมทีอาคารประเภทโรงงานนั้น มักเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นเสมือนผลผลิตจากระบบอุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอย และความคุ้มค่าด้านการลงทุนเป็นหลัก จึงทำให้ภาพจำของโรงงานในความคิดของคนจำนวนมาก มักเป็นอาคารที่คำนึงถึงมิติทางด้านการใช้งาน และคำนึงถึงมิติด้านอื่นๆ เช่น ความงามน้อยหรือไม่คำนึงถึงเลย ซึ่งนั่นคือภาพจำาของโรงงานในอดีต ที่อาจกลายเป็นเพียงสิ่งเก่าล้าสมัยในไม่ช้านี้ เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะสร้างและออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ๆ โดยคำานึงถึงมิติทางด้านความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีโรงงานอุตสาหกรรมรูปลักษณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในผลผลิตจากแนวคิดดังกล่าว คือโรงงาน Jakob Factory แห่งนี้

อาคาร Jakob Factory เป็นโรงงานของบริษัท Jakob Rope Systems ผู้ผลิตลวดสลิงสเตนเลสรายใหญ่จากประเทสวิตเซอร์แลนด์ โรงงานแห่งนี้ ตั้งอยู่ภายในเขตอุตสาหกรรมทางตอนเหนือของเมืองโฮจิมินต์ ประเทศเวียดนาม ด้วยลักษณะเด่นที่ชวนให้ผู้พบเห็นประทับใจตั้งแต่แรกพบ คือกรอบผนังอาคารสีเขียวขนาดใหญ่ที่ห่อหุ้มตัวอาคารไว้ ทำให้อาคารแห่งนี้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากอาคารโดยรอบเป็นอย่างมาก โดยมี G8A Architecture & Urban Planning และ Rollimarchini Architekten สองบริษัทจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำหน้าที่ออกแบบโรงงานแห่งนี้

ในกระบวนการออกแบบ ทีมสถาปนิกมองว่าการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมรูปแบบเดิมนั้น มักมองแค่ผลตอบแทนทางด้านธุรกิจเป็นหลัก โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก ดังจะเห็นได้จากอาคารโรงงานอุตสาหกรรมในละแวกรอบๆที่สร้างมาก่อนที่เต็มไปด้วยพื้นคอนกรีตแข็งกระด้าง ขาดความเป็นธรรมชาติ ทางทีมงานผู้ออกแบบจึงมีความตั้งใจจะทำในสิ่งที่แตกต่างออกไป เริ่มจากการวางผังที่พยายามลดพื้นที่ดาดแข็งให้เหลือน้อยที่สุด โดยการนำพื้นที่โรงงานมาซ้อนชั้นในแนวตั้ง แทนที่จะแผ่ไปตามแนวราบเหมือนโรงงานปกติทั่วไป การซ้อนชั้นทำาให้เหลือพื้นที่ดินส่วนหนึ่งสำหรับเป็นพื้นที่สีเขียวเพิ่มเข้ามา เมื่อมองจากด้านบน ผังโครงการมีสัณฐานเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่เป็นคอร์ทยาร์ดอยู่ตรงกลาง และมีพื้นที่โรงงานล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ทำให้ทุกพื้นที่ สามารถสัมผัสความเป็นธรรมชาติของสวนตรงกลางได้อย่างทั่วถึง 

มุมมองจากลานโล่ง กลางอาคาร
Photo courtesy of G8A Architecture & Urban Planning

ด้วยความที่โรงงานแห่งนี้เป็นผู้ผลิตลวดสลิงรายใหญ่ ที่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักถูกนำมาใช้ในงานสถาปัตยกรรม และหลายผลิตภัณฑ์ มีจุดขายด้านความยั่งยืน เช่น ลวดสำหรับให้ไม้เลื้อยเกาะ ลวดตาข่ายสำหรับสร้างเป็นผนังต้นไม้ เป็นต้น ทางผู้ออกแบบจึงมีแนวคิดที่จะนำผลิตภัณฑ์ของบริษัทมาใช้เป็นองค์ประกอบที่สร้างเอกลักษณ์ให้กับอาคาร กลายเป็นที่มาของผนังสีเขียวขนาดใหญ่โดยรอบ โดยผนังนี้จะถูกแบ่งออกเป็นชั้นๆ จำนวนชั้นมากน้อยตามความสูงของอาคาร แต่ละชั้นจะมีลักษณะเป็นรางสำหรับปลูกต้นไม้วางตัวตลอดแนวความยาวของอาคาร ภายในรางปูด้วยแผ่น Geo-textile สำหรับปลูกต้นไม้ โดยผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่นำมาใช้ประกอบเป็นผนังสีเขียวได้แก่ ลวดสลิงที่ขึงไขว้กันตลอดแนวจากพื้นถึงหลังคา ทำหน้าที่ยึดรางปลูกต้นไม้เข้าไว้ด้วยกัน และลวดตาข่ายที่บุอยู่ด้านใน ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับอาคารแล้ว ผนังสีเขียวนี้ยังทำหน้าที่เป็นเสมือนป้ายโฆษณาผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปด้วยในตัว

พืชพรรณหลากหลายชนิดจากพันธุ์ไม้ ท้องถิ่น ถูกเลือกมาใช้ตามความเหมาะสมกับทิศที่ตั้งของอาคารแต่ละด้าน
Photo courtesy of G8A Architecture & Urban Planning

เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้นที่ไม่ปิดตัวเองจากธรรมชาติ ถูกถ่ายทอดผ่านผนังสีเขียวซึ่งมีความโปร่ง สามารถระบายอากาศและความชื้นได้ดี แสงธรรมชาติสามารถสาดส่องเข้ามาได้ ทำให้ผู้ที่อยู่ภายในไม่ตัดขาดตัวเองจากธรรมชาติ สามารถสัมผัสความเป็นธรรมชาติได้ พืชพรรณส่วนใหญ่ที่นำมาปลูกบนผนังเป็นพืชพื้นเมือง ประเภทไม้พุ่มเมืองร้อนขนาดเล็ก ทำให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดี มีความทนทาน และง่ายต่อการดูแลรักษา มีการเลือกพืชพรรณที่หลากหลายชนิดมาปลูกร่วมกัน สะท้อนเอกลักษณ์ของพืชพรรณในแถบนี้ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เสมือนเป็นการจำาลองระบบนิเวศแบบเมืองร้อนขึ้นมาไว้บนตัวอาคาร เกิดผิวเปลือกอาคารที่มีชีวิตชีวา

ประเด็นด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สถาปนิกผู้ออกแบบให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และได้ถ่ายทอดลงในงานชิ้นนี้ด้วยการออกแบบโดยเน้นการประหยัดพลังงาน ด้วยระบบ Passive คือเน้นการพึ่งพาธรรมชาติและใช้เครื่องกลในการปรับอากาศให้น้อยที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่ภายในโรงงานแห่งนี้ จึงเป็นพื้นที่ที่ไม่ปรับอากาศ แต่ใช้การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ โดย Jakob Factory ถือเป็นโรงงานแห่งแรกในเวียดนามที่มีพื้นที่ส่วนผลิต (Manufacturing halls) ที่ไม่ปรับอากาศและระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งผิวเปลือกอาคารที่ล้อมรอบด้วยผนังต้นไม้สีเขียวนี้มีส่วนช่วยอย่างมาก ทั้งในการกรองแดด กันฝน และกรองความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร ช่วยลดอุณหภูมิที่จะเข้าสู่อาคารได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยฟอกอากาศ กรองฝุ่น และสร้างความร่มรื่นให้กับผู้พบเห็นทั้งจากภายในและภายนอกอาคาร ช่วยสร้างบรรยากาศให้โรงงานแห่งนี้มีความพิเศษและเป็นเอกลักษณ์ซึ่งหาไม่ได้ง่ายนักในโรงงานทั่วๆไป

ประตูทางเข้าหลัก
Photo courtesy of G8A Architecture & Urban Planning

Varieties of plants grown together reflect the distinct natural biodiversity of plants in the region. The green system also simulates a tropical ecosystem on the buildings expressing a sense of movement, purpose, and tranquility.

Traditionally, factories are a byproduct of the industrial system, with the main emphasis on utility and investment value. Most people perceive stereotypical factory buildings as utilitarian without much consideration for aesthetics and environmental impact. This stereotype, seen in older factories however, may soon become obsolete. Recent design practices place more emphasis on considerations relating to sustainability, environment, and social impact rather than just the building use. An example of this current trend and its application is the recently completed Jakob Factory Saigon in South Vietnam.

The Jakob Factory Saigon produces specialized steel wire rope systems for architectural and industrial purposes. The factory is located in an industrial zone north of Ho Chi Minh City, Vietnam. The building itself is clad in a large ‘green’ landscaped wall frame giving it a distinct character and setting it apart from the surrounding buildings, impressing all that use and visit the site. Switzerland’s G8A Architecture & Urban Planning and rollimarchini architekten designed the building breaking the stereotype mold.

ผังบริเวณแสดงให้เห็นถึง พื้นที่ว่างที่เกิดขึ้น จากการออกแบบโรงงานขึ้นทางแนวตั้ง
Photo courtesy of G8A Architecture & Urban Planning

The approach that the architects took differs from that of other factories. They determined that the traditional process in factory design related only to its utility and the maximization of profit without considerations in site context, aesthetics, or environmental impact, as evidenced by the surrounding industrial buildings was not an environmentally sustainable solution. As such, the planning of the Jakob Factory Saigon actually reduces the floor footprint by stacking the factory’s space vertically rather than horizontally, freeing up space at ground level that is utilizing for other functions including a landscaped ‘green space’. Viewed from the top, the project’s plan is arranged as a square in profile with a central large green landscaped courtyard enclosed by the factory footprint allowing all parts of the complex simultaneous but differing views into the courtyard.

The wall cladding system plays a large role in filtering sunlight, rain and minimizing heat load which in turn maximizes interior temperature efficiencies. It also helps purify the air by filtering dust and creates a lush natural environment and distinct atmosphere for users.

ส่วนอาคารสูงสองถึงสามชั้นมองจากลานโล่ง ซึ่งจัดเป็น พื้นที่สีเขียว
Photo courtesy of G8A Architecture & Urban Planning

Pin It on Pinterest

Shares
Share This