Hotels in the Age of Covid-19 : Change and Adapt to Survive

Every architectural building was built to serve certain needs; however, it is not necessary that it only serves an original purpose. The function, use and utility of an architectural building and its internal space can usually adapt to changing needs. This is especially the case when circumstances change quickly, which in turns prompts an adaptive response of an existing use to serve new purposes that come with those changes. One of the most profound and significant changes requiring adaption recently has come about by way of the spread of Covid-19.

Text: Jaksin Noyraiphoom
Photo: Courtesy of Royal Rattanakosin Hotel and Ketsiree Wongwan except as noted
โรงแรมรอยัลรัตนโกสินทร์ หนึ่งในโรงแรมที่ปรับตัวเป็นแห่งแรก ตั้งแต่การระบาดรอบแรกเป็น State Quarantine
Photo Courtesy of Royal Rattanakosin Hotel

ตามปกติสถาปัตยกรรมทุกชิ้น ย่อมถูกสร้างขึ้นเพื่อสนองต่อความต้องการบางอย่าง แต่กระนั้น ก็ไม่จำเป็นว่าสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมา จะต้องสนองต่อความต้องการนั้นๆ ไปตลอด ณ ช่วงเวลาหนึ่งที่ความต้องการเปลี่ยนไป ประโยชน์ใช้สอยและการใช้งานพื้นที่ภายในสถาปัตยกรรม ย่อมสามารถถูกปรับเปลี่ยนได้ตามเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในยุคสมัยที่ทุกอย่างรอบตัวปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วมาก มีความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา จึงมักพบเห็นการนำสถาปัตยกรรมเดิม มาปรับเปลี่ยนการใช้งานใหม่อยู่เสมอๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และหนึ่งในสถานการณ์สำคัญที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยทางสถาปัตยกรรม คือสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19

นับตั้งแต่ที่โลกนี้ได้รู้จักกับ โควิด-19 เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ.2562 เป็นต้นมา นอกจากเชื้อโควิดจะเข้ามาทำลายระบบภายในร่างกายของผู้ติดเชื้อแล้ว โรคอุบัติใหม่ชนิดนี้ยังได้เข้ามาปั่นป่วนระบบหลายอย่างในโลกให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ทั้งระบบด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ไม่เว้นแม้แต่งานสถาปัตยกรรม ซึ่งตามปกติแล้วนั้น สถาปัตยกรรมในแต่ละที่เป็นเสมือนผลผลิตของระบบเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของสังคมนั้นๆ เมื่อระบบเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง ตัวสถาปัตยกรรมเองจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย 

สำหรับในประเทศไทยพบว่า หนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากโควิด-19 คือธุรกิจประเภทโรงแรม ซึ่งแต่เดิมนั้น พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ทั้งจากนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ แต่ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด ทำให้การเดินทางต้องหยุดชะงักลง รายได้หลักซึ่งเคยได้จากนักท่องเที่ยวจึงหายไป ธุรกิจโรงแรมจึงเป็นธุรกิจแรกๆ ที่โดนผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงนี้ จึงทำให้มีความพยายามในการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยภายในโรงแรม ให้มีการใช้งานรูปแบบใหม่ๆ แทนกิจกรรมเดิมที่ต้องถูกทำให้หยุดชะงักไป โดยมีโรงแรมหลายแห่งที่ได้กระทำการในลักษณะนี้ ใน ASA ฉบับนี้ เราจึงมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนพื้นที่โรงแรมให้มีการใช้งานรูปแบบใหม่ๆ โดยยกกรณีศึกษาจาก โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ และโรงแรมขนาดเล็กจากแพลทฟอร์มมูชวลพลัส (Mutualplus)

โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ถือเป็นโรงแรมแห่งแรกๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้งานภายในโรงแรม จากโรงแรมสำหรับรับนักท่องเที่ยว ให้กลายมาเป็นสถานกักตัวสำหรับผู้เดินทางและผู้ป่วยโควิด โดยเริ่มมาตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิดระลอกแรก “จากการที่ผู้บริหารได้ประชุมกัน ซึ่งเรามองกันว่าสถานการณ์นี้ มันไม่ใช่สถานการณ์สั้น คือช่วงนั้นมันเป็นช่วงที่ทุกคนยังกลัวเรื่องโควิดอยู่ แล้วก็ยังไม่ค่อยมีโรงแรมไหนที่อาสาว่าจะมาเป็นที่กักตัวของคนเดินทางเข้ามา ที่เป็น State Quarantine เพราะทุกคนก็ห่วงโควิดไปหมด ทางเราก็เลยมองกันว่า ถ้าไม่มีใครออกมาทำตรงนี้ประเทศมันก็จะเดินต่อไม่ได้ เราก็เลยคิดกันว่า ยังไงเราก็ต้องช่วยเหลือประเทศก่อน เราก็เลยมาเริ่มปรับเป็นที่กักตัวให้กับคนที่กลับจากต่างประเทศเป็นแห่งแรกๆ” ธีรณัฏฐ์ เผ่าหฤหรรษ์ ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ ให้ข้อมูล

โดยปกติแล้วโรงแรมที่จะปรับเปลี่ยนเป็นสถานพยาบาลลักษณะนี้ สามารถทำได้ 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ 

  • State Quarantine (SQ ) คือ โรงแรมสำหรับการกักตัวแห่งรัฐ สำหรับให้คนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศได้ใช้กักตัวก่อนจะเข้ามาในประเทศ มีไว้สำหรับคนไทยที่จะเดินทางกลับเข้ามาเท่านั้น ซึ่งภาครัฐเป็นฝ่ายสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ 
  • Alternative State Quarantine (ASQ) คือ สถานที่กักตัวทางเลือกมาตรฐานเหมือนกับ SQ ทุกอย่าง แต่ผู้มากักตัวจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีไว้สำหรับคนต่างชาติที่เดินทางเข้ามา  
  • Hospitel สำหรับรองรับการรักษาผู้ป่วยในประเทศต่อจากโรงพยาบาล โดยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก่อน จนอาการเริ่มดีขึ้นแล้วโรงพยาบาลจะเป็นผู้ประเมิน ถ้าแข็งแรงพอหรือไม่มีอาการรุนแรง ก็สามารถมาอยู่ Hospitel ได้ 
นอกจากปรับตัวด้านสถานที่แล้ว โรงแรมต้องเตรียมความพร้อมของบุคลากรเพื่อความปลอดภัย
Photo Courtesy of Royal Rattanakosin Hotel

สำหรับโรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ นั้นปัจจุบันมีทั้งส่วนที่ปรับเปลี่ยนให้เป็น สถานกักตัวทางเลือก (ASQ) บริเวณอาคารด้านหน้า และส่วนที่เป็น Hospitel บริเวณอาคารด้านหลัง โดยดำเนินการร่วมกับโรงพยาบาลปิยะเวช 

ในกระบวนการปรับเปลี่ยนนั้น ด้วยความที่ธรรมชาติของอาคารทั้งสองประเภท ทั้งโรงแรมและโรงพยาบาล ในแง่ของการใช้งาน ซึ่งเป็นอาคารบริการเหมือนกัน มีส่วนห้องพัก มีการแบ่งทางสัญจรสำหรับคนประเภทต่างๆ ใกล้เคียงกัน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนจากโรงแรมมาเป็นสถานพยาบาลจึงสามารถทำได้ง่าย โดยใช้สิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น สถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ไม่ต้องลงทุนมาก โดยเป็นการปรับเปลี่ยนในส่วนที่เป็นการจัดการเป็นหลัก “จริงๆ ในเรื่องการต้อนรับและดูแลแขกเหมือนกันครับ แต่ว่าเราต้องเพิ่มมาตรการในการระวังความปลอดภัยให้มากขึ้น ต้องปรึกษาจากโรงพยาบาลมากขึ้น ว่าเวลาการเก็บขยะทำยังไง การทำความสะอาดห้องพักทำยังไง ต้องใส่ชุด PPE เป็นต้น” ธีรณัฏฐ์ อธิบายเพิ่มเติม 

ในส่วนของการปรับเปลี่ยนทางกายภาพนั้นจะมีไม่มากนัก เช่น พื้นห้องพักเดิมซึ่งเป็นพรมก็จะปูทับด้วยเสื่อน้ำมัน เพราะพรมเป็นแหล่งเก็บกักเชื้อโรค ทำความสะอาดยาก ในส่วนเก้าอี้ที่เดิมเป็นผ้าก็จะนำแผ่นพลาสติกมาหุ้มไว้ เป็นต้น ส่วนนอกห้องพักมีการจัดการที่เหมือนกับโรงพยาบาล มีการเขียน Flow chart ระบบการสัญจรภายใน เพื่อดูว่าในการทำงานบุคลากรที่ปฏิบัติงานจะปลอดภัยสูงสุด และผู้มากักตัวที่ไม่ติดเชื้อจะต้องไม่ติดเชื้อเพิ่ม ทำให้มีการแยกส่วนพื้นที่ใช้งานและทางสัญจรระหว่างผู้ที่มาพักกับเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน ตั้งแต่ทางเข้า-ออก ที่จะแยกจากกัน มีการนำฉากมากั้นเพิ่มบริเวณโถงเพื่อแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจน ลิฟท์ขนส่งแยกกันชัดเจนระหว่างลิฟท์ปลอดเชื้อสำหรับเจ้าหน้าที่ กับลิฟท์ทั่วไปสำหรับผู้มาเข้าพักไม่ให้ปะปนกัน ซึ่งโดยปกติโรงแรมที่ได้มาตรฐานก็จะมีลิฟท์เซอร์วิสแยกต่างหากจากลิฟท์ของแขกผู้มาเข้าพักอยู่แล้ว ทำให้ไม่ต้องปรับเปลี่ยนในส่วนนี้มาก 

ปรากฏการณ์เช่นนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโรงแรมขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะผลกระทบจากโควิด-19 ได้ส่งผลต่อโรงแรมทุกขนาด โรงแรมขนาดเล็ก หรือ โฮสเทลเอง ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน ทำให้มีความพยายามการปรับเปลี่ยนพื้นที่ของโฮสเทลเดิมให้กลายเป็นพื้นที่ใช้สอยใหม่ๆ และรูปธรรมที่ชัดเจนที่สุดคือ การรวมตัวกันของโรงแรมขนาดเล็ก หรือ โฮสเทล ที่มีการปรับเปลี่ยนการใช้งานเดิม จากโรงแรมมาเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Co-living และนำเสนอผ่านแพลทฟอร์มที่ชื่อ “มูชวลพลัส” (Muturalplus) ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมโฮสเทลแนวใหม่ลักษณะนี้หลายแห่งเข้าไว้ด้วยกัน

Luk Hostel หนึ่งในเครือข่าย Mutualplus ปรับตัวจากโฮสเทล เป็น Co-Living Space
Photo: Ketsiree Wongwan

“มูชวลพลัส เกิดขึ้นตอนช่วงโควิดระลอกแรก ประมาณช่วงเดือนมิถุนา 2563 ที่โควิดรอบแรกเริ่มซา แล้วเราก็เห็นว่าแต่ก่อนโฮสเทลมันรองรับเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ 95% หรือบางทีก็ 100% เลยคิดว่าถ้าไม่มีวัคซีน ก็ไม่มีทางเปิดประเทศ และถ้าไม่เปิดประเทศ ก็ไม่มีทางที่โฮสเทลจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ ก็เลยคิดว่าเราน่าจะต้องหาทางออกร่วมกัน เลยรวมตัวกับคนที่รู้จักกันที่ทำโฮสเทล นำเสนอเป็นไลฟ์สไตล์แบบใหม่ๆ เราจะเรียกว่าเป็น Co-living Space เหมือนเป็นการอยู่อาศัยร่วมนะครับ ไม่ใช่การทำงานร่วม หรือ Co-working ส่วน Co-living นี่ยิ่งกว่า เพราะเป็นการนำคนมาอยู่ด้วยกันใช้ชีวิตร่วมกัน ซึ่งแต่ละที่พักก็จะมีเสน่ห์ที่แตกต่างกันไป” ศานนท์ หวังสร้างบุญ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง มูชวล พลัส กล่าวอธิบาย

จุดเด่นของที่พักอาศัยรูปแบบ Co-living เป็นการผสานข้อดีของ โรงแรม และหอพักเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พักอาศัยระยะยาวแบบหอพัก แต่มีคนทำความสะอาดให้เหมือนโรงแรม ค่าเช่าจ่ายเหมาเหมือนโรงแรม น้ำไฟไม่ต้องจ่ายเพิ่มเพราะรวมอยู่ในแพคเกจแล้ว มีความสะดวกสบายเหมือนโรงแรม แต่มีบรรยากาศเป็นกันเองแบบหอพัก เป็นต้น และนอกจากพื้นที่ห้องพักแล้ว ยังเพิ่มกิจกรรมอื่นๆ เข้าไป ซึ่งกิจกรรมนั้นจะแตกต่างไปในแต่ละที่ เนื่องจากโฮสเทลแต่ละแห่งแต่เดิมก็มักมีกิจกรรมต่างๆ อยู่แล้ว เพื่อดึงดูดผู้ที่สนใจเหมือนๆ กัน ให้มาทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งเสริมบรรยากาศของการอยู่อาศัยร่วมกันให้มีความเป็นกันเองและน่าอยู่ขึ้น

ในการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการใช้งานแบบ Co-living ส่วนใหญ่เป็นการปรับเปลี่ยนในด้านการจัดการ ทั้งเรื่องการทำความสะอาด ระบบการเปิด-ปิด เรื่องมาตรการ กฎระเบียบต่างๆ รวมทั้ง มาตรการที่เกี่ยวกับโควิด-19 ที่ได้มาตรฐานสาธารณสุข ต้องมีการเว้นระยะห่างที่เหมาะสม มีระบบคัดกรอง วัดอุณหภูมิ จุดวางเจลล้างมือ เป็นต้น ในส่วนของการปรับเปลี่ยนทางกายภาพนั้นมีเล็กน้อย เนื่องจากโฮสเทลแต่ละที่ต่างพยายามใช้สิ่งที่มีอยู่เดิมให้มากที่สุด ส่วนที่ต้องปรับเปลี่ยนเช่น สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งคนอยู่แบบรายวันส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการ สิ่งอำนวยความสะดวกเยอะมาก แต่เมื่อเป็นการอยู่ระยะยาว ก็จะต้องมีความต้องการเพิ่มขึ้น ทั้งการซัก อบ รีด ที่ตากผ้า ล้างจาน หรือที่เก็บของที่ขนาดใหญ่ขึ้น เหล่านี้คือสิ่งที่ทางโฮสเทลต้องเตรียมเพิ่มขึ้นมา

บรรยากาศภายในห้องของโฮเทล
Photo: Ketsiree Wongwan

และนอกจากจะส่งเสริมให้โฮสเทลปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นที่อยู่อาศัยแบบ Co-living แล้ว ล่าสุดทางมูชวลพลัส ยังได้เปิดแคมเปญ เชิญชวนโฮสเทลที่สนใจ มาร่วมกันเปลี่ยนโฮสเทลให้เป็น Hospitel สำหรับรองรับผู้ป่วยโควิดต่อจากโรงพยาบาล “ตอนนี้โรงพยาบาลหลายแห่งเขากำลังหาโรงแรมสำหรับทำ Hospitel อยู่ แล้วด้วยความที่เราเป็นพาทเนอร์กับหลายโรงแรมอยู่แล้ว ก็เลยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อเชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาลและโฮสเทล เราแค่เป็นตัวกลาง เป็นคนประสานให้ แล้วก็เอามาตรการต่างๆ มาช่วยดูให้ ถ้าใครสนใจ โรงแรมไหนที่คิดว่าอยากหารายได้เพิ่มในช่วงที่มันไม่มีรายได้ ก็ทักเข้ามาครับ แล้วเดี๋ยวเราจะแนะนำรายละเอียดต่างๆ ให้” ศานนท์ กล่าวเสริม

สำหรับแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนโรงแรมเป็นพื้นที่ใช้งานประเภทอื่นนั้น ธีรณัฏฐ์ จาก โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ มองว่า เป็นสภาวะชั่วคราวที่จะอยู่ไม่นาน เมื่อใดที่สถานการณ์โรคระบาดกลับมาปกติ โรงแรมก็จะกลับมาเปิดตามเดิม เขากล่าวเสริมว่า “แต่ผมเชื่อว่าในอนาคต โรงแรมจะต้องกลับมาพร้อมกับมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงขึ้น เป็นโรงแรมควบคู่กับความปลอดภัย แล้วก็อาจจะควบคู่กับเรื่องเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ เพราะแนวโน้มของการท่องเที่ยวจะคำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น ถ้าเกิดผ่านสถานการณ์นี้ไปแล้ว ตรงนี้เรามีประสบการณ์มากที่สุด น่าจะเป็นจุดขายได้ว่า บุคลากรเราผ่านการเทรนมาอย่างดีแล้ว ในเรื่องการดูแลสุขภาพ” 

บรรยากาศและพื้นที่ Co-living Space ภายในโฮสเทล
Photo: Ketsiree Wongwan

ในขณะที่ ศานนท์ จาก มูชวลพลัส มองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่โรงแรมขนาดใหญ่และโฮสเทลต้องเผชิญ โดยมองว่าโฮสเทล ต้องเผชิญกับปัญหาจากวิกฤติครั้งนี้นานกว่าโรงแรมขนาดใหญ่ “ผมมองว่ากว่าจะฉีดวัคซีนครบ สามารถเปิดประเทศได้ เร็วสุดก็น่าจะไตรมาส 1 ของปีหน้า (2564) ที่น่าจะอยู่ในจุดที่นักท่องเที่ยวกลับมาเยอะเหมือนเดิม ซึ่งนั่นก็แปลว่า กว่าจะมาถึงโฮสเทล น่าจะต้องไปที่ส่วนอื่นก่อน เช่น โรงแรมขนาดใหญ่ ที่เขาอาจมีโปรโมชั่นลดราคาลดมา กว่าจะมาถึงโฮสเทลได้นี่ ผมว่าปลายปีหน้า”  แต่เขาก็ยังมองเห็นโอกาสจากที่พักอาศัยแบบ Co-living “ทีนี้พอมาดูแนวโน้มของ Co-living ผมมองว่าเป็นเทรนอนาคตอยู่แล้วนะ แนวโน้มคนรุ่นใหม่จะให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของน้อยลง จะเลือกที่จะอยู่กันแบบชั่วคราวมากขึ้น สามารถไปอยู่ที่นั่นที่นี่ได้ โยกย้ายไปได้เรื่อยๆ ไม่ยึดติดหรือมีภาระระยะยาวกับที่ใดที่หนึ่ง เพราะฉะนั้นเทรนด์พวกนี้จะเป็นโอกาสของ Co-living อยู่แล้ว ผมเลยคิดว่า โอกาสสองส่วนนี้จะมาบรรจบกัน ก็คือ ซัพพลายไซด์ที่มันมากเกินไปกับกลุ่มตลาดเดิม มันล้นแล้ว ในขณะเดียวกันดีมานด์ไซด์นี่ก็เป็นโอกาส เพราะว่าอนาคตมาแน่ ผมคิดว่า มูชวลพลัส ก็เลยเป็นทางออกที่ดี อาจจะยังไม่ใช่ช่วงนี้ แต่มาแน่ และเราก็จะทำมันต่อไปแน่นอนครับ เขากล่าวทิ้งท้าย

จากตัวอย่างทั้งสองที่ได้นำเสนอมานี้ เป็นกรณีศึกษาที่ดีที่สะท้อนให้เห็นว่า สถาปัตยกรรมนั้นก็ไม่ต่างจากสิ่งมีชีวิต ที่จำเป็นต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอ ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ต่างๆ หากต้องการที่จะมีชีวิตรอด ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจโรงแรม โฮสเทล หรือธุรกิจอื่นๆ ให้เห็นว่า หากต้องการที่จะเป็นผู้ “อยู่รอด” ในโลกทุกวันนี้ ที่ความเปลี่ยนแปลงมาเร็วมาก ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ การรู้จักปรับตัวอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที ไม่ยึดติด สามารถพลิกแพลงได้เสมอ และมีความคิดสร้างสรรค์ เหล่านี้จะเป็นเสมือน “คีย์” สำคัญ ของการเอาตัวรอดในโลกนับจากนี้ ที่สถานการณ์และสภาพแวดล้อมนั้นไม่ง่ายเหมือนเดิมอีกต่อไป  

รูปภาพคุณะธีรณัฎฐ์ เผ่าหฤรรษ์
Photo: Ketsiree Wongwan

บทสัมภาษณ์ คุณธีรณัฏฐ์ เผ่าหฤหรรษ์ ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์

คุณธีรณัฏฐ์ เผ่าหฤหรรษ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป ของโรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีประสบการณ์บริหารจัดการโรงแรมหลายแห่ง เช่น โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ และโรงแรมในเครือ โดยเฉพาะในการปรับเปลี่ยนโรงแรมเพื่อใช้เป็นสถานกักตัวทางเลือก และ Hospitel ซึ่งโรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์ ถือเป็นโรงแรมแห่งแรกๆ ของประเทศที่ร่วมมือกับทางภาครัฐ ปรับเปลี่ยนการใช้งานเป็นสถานพยาบาล เพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิค-19 ที่ระบาดหนักในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ.2563 เป็นต้นมา

ในภาพรวมการแพร่ระบาดของโควิดส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมอย่างไรบ้าง?

จริงๆ ส่งผลมาตั้งแต่ตอนเริ่มแรกตั้งแต่ช่วงประมาณสักช่วงมีนาถึงเมษาของปีที่แล้ว (2563) ที่มีการปิดประเทศ ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา ทำให้โรงแรมต้องมีการปรับตัว แล้วด้วยในเครือโรงแรมของเราได้ปรึกษากัน แล้วก็คุยกันค่อนข้างเร็ว และมีการตัดสินใจค่อนข้างเร็ว เราก็เลยเข้าเป็น State Quarantine กับทางภาครัฐ ซึ่งถือเป็นโรงแรมแรกๆ ทำเป็น State Quarantine ตั้งแต่ช่วงที่มีการมีการล็อกดาวน์ทั้งประเทศตอนระบาดระลอกแรกครับ

สาเหตุที่โรงแรมคิดว่าควรจะต้องมีการปรับตัวเพราะอะไร?

จากการที่ผู้บริหารได้ประชุมกันซึ่งเรามองกันว่าสถานการณ์นี้ มันไม่ใช่สถานการณ์สั้น คือช่วงนั้นมันเป็นช่วงที่ทุกคนยังกลัวเรื่องโควิดอยู่ แล้วก็ยังไม่ค่อยมีโรงแรมไหนที่อาสาว่าจะมาเป็นที่กักตัวของคนเดินทางเข้ามา ที่เป็น State Quarantine เพราะทุกคนก็ห่วงโควิดไปหมด ทางเราก็เลยมองกันว่า ถ้าไม่มีใครออกมาทำตรงนี้ประเทศมันก็จะเดินต่อไม่ได้ เราก็เลยคิดกันว่า ยังไงเราก็ต้องช่วยเหลือประเทศก่อน เราก็เลยมาเป็น State Quarantine เป็นที่กักตัวทางเลือกให้กับคนที่กลับจากต่างประเทศ ซึ่งเราก็ทำร่วมกับโรงพยาบาลปิยเวช พอช่วงหลังที่มีการระบาดระลอกใหม่ในประเทศ ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เตียงในโรงพยาบาลไม่พอ เราก็เลยเพิ่มในส่วนของ Hospitel ขึ้นมา ซึ่งก็ทำร่วมกับโรงพยาบาลปิยเวชเช่นกันครับ

สถานกักตัวหรือสถานพยาบาลลักษณะนี้แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง? 

ก็จะมี State Quarantine หรือ SQ คือ โรงแรมกักตัวแห่งรัฐ สำหรับให้คนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศได้ใช้กักตัวก่อนจะเข้ามาในประเทศ State Quarantine จะใช้สำหรับคนไทยที่จะเดินทางกลับเข้ามาเท่านั้น ซึ่งภาครัฐเป็นคนสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ กับอีกอันที่คล้ายๆ กันคือ Alternative State Quarantine หรือ ASQ คือสถานกักตัวทางเลือก ซึ่งได้มาตรฐานเหมือนกับ SQ ทุกอย่าง แต่ผู้มากักตัวจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีไว้สำหรับคนต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามา ส่วน Hospitel ไว้สำหรับผู้ป่วยในประเทศ คือต้องเข้าโรงพยาบาลก่อน แล้วโรงพยาบาลเป็นผู้ประเมิน ถ้าแข็งแรงพอหรือไม่มีอาการรุนแรง ก็สามารถมาอยู่ Hospitel ได้ ซึ่งสำหรับโรงแรมรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันตึกด้านหลังเป็น Hospitel ครับ ตึกด้านหน้าเป็น Alternative State Quarantine

ศักยภาพของห้องพักโรงแรมเดิมปรับเป็นพื้นที่กักตัว Alternative State Quarantine หรือ Hospitel ที่ให้ความสะดวกสบายกับผู้เข้าพักได้
Photo Courtesy of Royal Rattanakosin Hotel

สำหรับโรงแรมที่อยากจะเข้าร่วมเป็น SQ ASQ หรือ Hospitel มีเกณฑ์หรือมาตรฐานอะไรที่ต้องคำนึงถึงบ้าง?

มีเกณฑ์ประเมินของ กรมสนับสนุนสุขภาพอยู่นะครับ ก็จะมีเกณฑ์ต่างๆ เช่น ว่าแอร์ก็ต้องเป็นแอร์แบบ split type ต้องไม่เป็นท่อส่งลมเย็นร่วม คือคอยล์ร้อนรวมได้ แต่ว่าคอยล์เย็นต้องแยกเป็นแต่ละห้อง แล้วก็มีเรื่องระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะว่าคนที่อยู่ในตึกก็คือมันก็เป็นผู้ติดเชื้อน่ะครับ (ในส่วน Hospitel) ก็ต้องใส่คลอรีนลงไปตามที่มาตรฐานเพื่อฆ่าเชื้อ แล้วก็ระบบกำจัดขยะ คือพวกขยะที่ออกมาจากห้องพัก ก็ต้องเป็นนับเป็นขยะติดเชื้อหมด ซึ่งจะต้องมีที่เก็บเฉพาะแล้วจะมีรถมาเก็บที่หลัง

การปรับเปลี่ยนจากโรงแรมเป็นสถานพยาบาล ส่งผลต่อการจัดการอย่างไรบ้าง?

จริงๆ ในเรื่องการบริการ ก็บริการแขกเหมือนกันครับ แต่ว่าเราต้องเพิ่มมาตรการในการระวังความปลอดภัยให้มากขึ้น เพราะปกติโรงแรมในเมืองไทยก็จะมีเซอร์วิสมายด์อยู่แล้วครับ ซึ่งเซอร์วิสมายด์ก็จะเหมือนเดิม แต่เรื่องความปลอดภัยก็ต้องปรึกษาจากโรงพยาบาลมากขึ้น ว่าเวลาการเก็บขยะทำยังไง การทำความสะอาดห้องพักทำยังไง ในการแต่งตัวให้ใส่ชุด PPE บอกว่าวิธีป้องกันความปลอดภัยยังไง มีการปรับเปลี่ยนน้ำยาทำความสะอาดบ้างครับ เพราะว่าเราก็ต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มันสามารถฆ่าเชื้อโควิดตัวนี้ได้ ประมาณนี้ครับ

แล้วในเชิงกายภาพมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง?

ในส่วนของห้องพักในภาพรวมยังเหมือนเดิมครับ เพราะว่าสรีระเดิมของโรงแรมรัตนโกสินทร์ มันสามารถจะรองรับได้อยู่แล้ว เลยไม่ต้องไปปรับเปลี่ยนอะไรมากนัก คือใช้ห้องพักเดิมเลย อย่างส่วนที่เป็น ASQ ก็จะให้พักห้องละ 1 คน เพราะว่าเราว่าไม่รู้ว่า 2 คน ที่มาอยู่ด้วยกัน คนหนึ่งอาจจะติดเชื้อก็ได้ จึงต้องแยกกัน แต่ในส่วนที่เป็น Hospitel ก็จะให้อยู่ห้องละ 2 คนได้ เพราะเป็นที่คนติดเชื้อทั้งคู่ ก็จะไม่แพร่เชื้อใส่กัน ส่วนที่มีการปรับเปลี่ยนก็อย่างเช่น วัสดุต่างๆ ในห้อง อย่างพื้นห้องพักเดิมซึ่งเป็นพรม ก็จะปูทับด้วยเสื่อน้ำมัน เพราะพรมเป็นแหล่งเก็บกักเชื้อโรค ทำความสะอาดยาก ในส่วนเก้าอี้ที่เดิมเป็นผ้าก็จะนำแผ่นพลาสติกมาคลุม ผ้าม่านก็จะส่งซักทุกครั้งที่ใช้เสร็จ ถ้าเป็นในส่วนนอกห้องพักก็จะมีการปรับเช่น มีการแบ่งโซนระหว่างผู้ที่มาพักกับเจ้าหน้าที่ อย่างในส่วนที่เป็น ASQ ซึ่งผู้ที่เข้ามาพัก เราไม่สามารถรู้ได้ว่าใครติดเชื้อ หรือใครปลอดเชื้อ ในส่วนของ Hospitel ก็จะเป็นผู้ติดเชื้อทั้งหมด ต้องมีการแยกทางสัญจรระหว่าง ผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่ทางเข้า-ออก ที่จะแยกจากกัน มีการนำฉากมากั้นเพิ่มบริเวณโถงเพื่อแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจน ลิฟท์ก็แยกกันชัดเจน มีลิฟท์ปลอดเชื้อกับลิฟท์ทั่วไป เจ้าหน้าที่ก็จะใช้ลิฟท์ปลอดเชื้อ แต่คนที่เข้ามาพักก็จะใช้ลิฟท์ปกติ ไม่ปะปนกัน ซึ่งโดยปกติลิฟท์ของโรงแรมก็จะมีลิฟท์เซอร์วิสแยกต่างหากอยู่แล้ว ทำให้จัดการได้ง่ายขึ้น 

การเตรียมความพร้อมของบุคลากรในโรงแรมเพื่อความปลอดภัย
Photo Courtesy of Royal Rattanakosin Hotel

ในการปรับเปลี่ยนให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง เช่น ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย หรือความสวยงาม และเรื่องไหนให้ความสำคัญมาก-น้อย เหมือนหรือต่างกันยังไง?

ความปลอดภัยเป็นอันดับแรกเลยครับ ในการจัดการคือเหมือนกับโรงพยาบาลเลย ก็จะมีการเขียน Flow chart เพื่อดูว่าในการทำงานบุคลากรที่ขึ้นไปปฏิบัติงานจะปลอดภัยที่สุด ผู้มากักตัวที่ไม่ติดเชื้อก็ต้องไม่ติดเชื้อเพิ่ม ต้องไม่มีใครติดเชื้อเพิ่มความสะดวกสบายก็จะคำนึงถึงควบคู่กันไป เพราะว่าจริงๆ แล้วจุดประสงค์หลักเลยคือ เราต้องการให้ทุกคนปลอดภัย ควบคู่ไปกับความสะดวกสบายอยู่แล้วครับ ไม่งั้นเค้าก็คงไม่ใช้โรงแรมมาให้เป็น Hospitel ไม่งั้นก็คนก็ไปอยู่โรงพยาบาลสนามกันหมดก็ได้ ก็เป็นความปลอดภัยควบคู่กับความสะดวกสบาย แต่ก็อาจจะไม่ได้สะดวกสบายมากนัก เพราะว่ามันก็จะมีขั้นตอนที่เข้มงวด อย่างเช่นในการขึ้นตึก สมมุติว่าเขาอยากจะได้ของใช้หรือว่ามีคนมาฝากของไว้ให้ เราก็จะเอาขึ้นไปให้เป็นเวลาวันละ 2 รอบ หรืออย่าง จาน ชาม ที่เราเตรียมไว้ให้คนละ 1 เซ็ต เวลาเขาทานเสร็จเขาก็ต้องล้างเอง หรือเสื้อผ้า เขาจะต้องเตรียมมาสำหรับอยู่ 14 วัน หรือ 10 วัน ก็แล้วแต่เพื่อรักษาตัว ก็ต้องซักเองหรือไม่ก็อาจจะเก็บไว้แล้วก็ไปซักทีเดียวเลยตอนกลับบ้าน เพราะโรงแรมเดิมมันไม่มีพื้นที่สำหรับซักล้างให้ ในส่วนของความสวยงามนี่คำนึงน้อยที่สุดครับ เพราะว่าจริงๆ แล้วในจังหวะนี้ก็ไม่ได้มีใครมาดูแลมาดูเรื่องความสวยงามเท่าไหร่ ปรับให้มันมีประสิทธิภาพที่ดีก่อนดีกว่า อย่างเช่นเรื่องพรม ปกติโรงแรมตกแต่งเพื่อความสวยงาม พอมาใช้เป็นที่กักตัวก็จะปูทับด้วยเสื่อน้ำมันเลย เพื่อการทำความสะอาดที่ง่าย ถึงจะไม่สวยงามเท่าไหร่ แต่ให้มันปลอดภัยไว้ก่อน

เสียงตอบรับจากการปรับเปลี่ยนโรงแรมเป็นสถานกักตัวเป็นอย่างไรบ้าง?

ในส่วนของภาครัฐก็ดีใจอยู่แล้วครับ ที่ว่าภาคเอกชนร่วมมือกัน เพื่อให้ประเทศฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้ สำหรับในส่วนของกลุ่มบริษัทเอง เราค่อนข้างที่จะมีแนวคิดเรื่องการช่วยเหลือการป้องกันอยู่แล้วครับ เพราะธุรกิจโรงแรมมันขึ้นกับนักท่องเที่ยว ถ้าเกิดว่าประเทศยังเปิดรับการท่องเที่ยวไม่ได้ ประเทศก็ไม่มีรายได้ เราก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งตรงนั้น ที่ทำให้ทุกอย่างมันกลับมาได้เร็วขึ้น ในส่วนของผู้มาเข้าพัก ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดี ทุกคนพอใจมากครับ 

ในส่วนของชุมชนรอบข้างมีเสียงตอบรับอย่างไรบ้าง? 

ตั้งแต่ทำมาก็ไม่มีปัญหากับชุมชนรอบข้างเลยนะครับ ซึ่งรอบข้างก็จะมีชุมชนค่อนข้างเยอะ แต่ไม่เคยมีเสียงตอบรับในแง่ไม่ดีจากชุมชนเลย ตั้งแต่เป็น ASQ หรือว่า Hospitel มา ทุกคนก็ยินดีที่จะให้เราทำหมด แล้วก็เป็นกำลังใจให้ด้วย อย่างที่บอกว่าเรามีความสัมพันธ์กับชุมชนรอบข้างค่อนข้างดี แล้วผมเชื่อว่าคนไทยน่ะครับ ด้วยสถานการณ์มันบีบบังคับ ผมเชื่อว่าทุกคนมีจิตสำนึกที่อยากจะช่วยเหลือกันอยู่แล้ว ถ้าเกิดว่าเราไปเล่าว่าที่เราทำคืออะไร จะมีความปลอดภัยขนาดไหน มันไม่มีความเสี่ยงกับคนที่อยู่ในชุมชนโดยรอบนะ ผมเชื่อว่าเค้าให้ความร่วมมืออยู่แล้ว เพราะก่อนจะทำเราก็มีการเดินไปคุยกับชุมชนโดยรอบ แล้วก็มีหนังสือไปชี้แจงด้วย แล้วก็มีวัดอยู่ตรงนั้น เราก็ชี้แจงกับเจ้าอาวาสด้วย ซึ่งทุกคนก็ยินดี

คิดว่าแนวโน้มของ SQ ASQ หรือ Hospitel ในอนาคตของประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง? 

ในส่วน Hospitel ผมคิดว่ามันเป็นชั่วคราวนะครับ คือมันอาจจะหายไปในระยะเวลา 5 เดือนหรืออะไรประมาณนั้น เดี๋ยวมันก็ต้องยุบไป ตอนที่ผู้ติดเชื้อในประเทศน้อยลง หรือในส่วนของ ASQ ถ้าหากเราสามารถเปิดประเทศได้เต็มรูปแบบ มันก็จะหายไปอยู่ดี แล้วกลับมาเป็นโรงแรมเหมือนเดิม แต่ผมเชื่อว่าในอนาคต โรงแรมจะต้องกลับมาพร้อมกับมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงขึ้น โรงแรมไหนที่เริ่มทำก่อน ทั้ง SQ ASQ หรือ Hospitel ก็จะได้เปรียบ บุคลากรจะได้รู้เรื่องมาตรการในการป้องกันต่างๆ โรงแรมมันเป็นธุรกิจบริการก็จริง แต่ว่ามันต้องเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ เป็นโรงแรมควบคู่กับความปลอดภัย แล้วก็อาจจะควบคู่กับเรื่องเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ เพราะเทรนด์ในการท่องเที่ยวจะคำนึงถึง Health มากขึ้น ลูกค้ามองในมุมเรื่องเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพมากขึ้น ก่อนหน้านี้ผมเชื่อว่า โรงแรมทั่วไปอาจจะมองว่าไม่อยากรับคนป่วย ไม่อยากรับคนกักตัว แต่ผมกลับคิดอีกแง่หนึ่งว่า ถ้าเกิดมันผ่านสถานการณ์นี้ไปแล้ว ตรงนี้เรามีประสบการณ์มากที่สุด น่าจะเป็นจุดขายได้ว่า บุคลากรเราเนี่ยคือผ่านการเทรนมาอย่างดีแล้วในเรื่องการดูแลสุขภาพ ผ่านมาตรฐานตรงนี้มาได้ แต่ว่าบุคลากรเราต้องเยี่ยม ในการบริการจัดการในเรื่องของโรคระบาด หรือว่าในเรื่องของ Health ที่มันจะมาเป็นรากฐานในอนาคต

บรรยากาศ Co-living Space ภายในโฮเทล
Photo: Ketsiree Wongwan

บทสัมภาษณ์ คุณศานนท์  หวังสร้างบุญ ผู้ก่อตั้ง Mutualplus

คุณศานนท์ หวังสร้างบุญ มีประสบการณ์ทำกิจการโฮสเทล Once Again แถบย่านเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ก่อตั้ง “มูชวลพลัส” (Mutualplus) แพลทฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมโฮสเทลหลายแห่งที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่แบบ Co-living เป็นการนำเสนอบริการรูปแบบใหม่ๆ แทนที่การพักแบบโรงแรมรูปแบบเดิมๆ ในระหว่างช่วงที่ไม่มีนักท่องเที่ยว และสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ของโลกยังไม่คลี่คลาย

จุดเริ่มต้นของ มูชวลพลัส เกิดขึ้นได้อย่างไร?

แนวคิดนี้เกิดขึ้นตอนช่วงที่โควิดระบาดระลอกแรก ประมาณช่วงเดือนมิถุนาที่โควิดรอบแรกเริ่มซา เราก็เห็นว่าแต่ก่อนโฮสเทลมันรองรับเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ 95% หรือบางทีก็ 100% เลยคิดว่าถ้าไม่มีวัคซีน ก็ไม่มีทางเปิดประเทศ และถ้าไม่เปิดประเทศ ก็ไม่มีทางที่โฮสเทลจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ ก็เลยคิดว่าเราน่าจะต้องหาทางออกร่วมกันในอุตสาหกรรมนี้ ก็เลยรวมตัวกับคนที่รู้จักกัน พอดีผมไปเจอรุ่นน้องคนหนึ่งที่เป็นนิสิตที่จุฬาฯ น้องคนนี้เขานอนโฮสเทลมาตลอด 4 ปี ที่เค้าเรียนที่จุฬาฯ ครับ พอได้รู้จักน้องเขาก็เลยได้รู้ว่า มันมีไลฟ์สไตล์แบบนี้จริงๆ คนที่อยู่โฮสเทลเหมือนเปป็นหอพัก ซึ่งก็มีทั้งข้อดี ข้อเสีย แล้วเราก็เลยค้นพบว่าจริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความชอบในความพิเศษบางอย่างของตัวเขากับคนที่เขาไปเจอในโฮสเทล เหมือนเป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิดถึงมาก่อน เลยเริ่มต้นจากตรงนั้นครับ ก็เลยพัฒนาตัวคอนเซ็ปขึ้นมาเป็น มูชวลพลัส

ถ้าจะให้นิยามให้คนทั่วไปเข้าใจ มูชวลพลัส คืออะไร?

ก็คือ มูชวล (Mutual) ก็มาจาก จุดสนใจร่วม แต่ละคนก็น่าจะต้องการความสนใจบางอย่างร่วมกัน แล้วก็ พลัส (Plus) ก็หมายความว่า ข้อดีต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามา อย่างเช่น หอพักต้องทำความสะอาดเอง ถ้ามานอนโฮสเทลก็มีคนทำความสะอาดให้ หรือพลัสเรื่องค่าใช้จ่าย ก็คือจ่ายเหมาเหมือนโรงแรม น้ำไฟไม่ต้องจ่ายเพิ่ม รวมอยู่ในแพคเกจ หรือว่าจะพลัสเรื่องสเปซ เพราะว่าโฮสเทลเดี๋ยวนี้ก็ทำสวย ก็คือจะมีพวกสเปซที่เป็นไลฟ์สไตล์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแบบล็อบบี้ขนาดใหญ่บ้าง หรือว่า โคเวิร์กกิ้งสเปซ หรือว่าบางที่มีแบบบาร์ให้นั่ง มีอาหาร มีกาแฟ อะไรอย่างนั้นครับ คือคำว่า พลัส มันก็กลายเป็นส่วนต่อขยายของ มูชวล ที่เป็นคอนเซ็ปหลักของการอยู่อาศัยแบบใหม่ ก็เลยเริ่ม มูชวลพลัส มาเพื่อที่จะประกาศออกมาว่ามีการอยู่อาศัยแบบนี้แล้วนะ ถ้าใครกำลังหาหอพัก แล้วก็ไม่ต้องไปซื้อคอนโดหรือว่าอะไรที่เป็นภาระผูกพันระยะยาว ก็มาเลือกแบบนี้ แล้วก็อาจได้เจอคนที่สนใจเรื่องเดียวกันด้วยครับ เบื้องต้นก็ทำแบบนี้ไป ตอนแรกเรามองไปที่กลุ่มนักศึกษา ซึ่งพอประกาศไปคนสนใจเยอะ คนแชร์เยอะ คนติดต่อมาพอสมควร แต่ว่ามันเป็นช่วงที่มันเปิดเทอมไปแล้ว ยังมันไม่ใช่ช่วงของการหาหอใหม่ แล้วด้วยความไม่แน่นอนของสถานการณ์ คือมหาวิทยาลัยบางที่เปิด บางที่เรียนออนไลน์ บางคนเขาก็คิดว่า ช่วงนี้อยู่บ้านไปก่อนดีกว่า ก็เริ่มทำร่วมกับเพื่อนกันนี่แหล่ะ ที่ทำโฮสเทลด้วยกัน ก็หาทางรอดไปด้วยกัน

คือ มูชวลพลัส เป็นแพลทฟอร์มรูปแบบหนึ่ง? 

ก็เป็นแพลทฟอร์ม แต่ว่าเราไม่ได้ทำเว็บอะไรมากมาย ก็คือจองผ่านไลน์ แล้วก็เฟสบุ๊ก (@mutualplus.coliving) แล้วก็มีเว็บไซต์ (www.mutualplus.co) ก็สามารถเข้าไปดูได้ครับ คือมองง่ายๆ ผมว่าเราเป็นเอเจนซี่แล้วกัน เหมือนเราเป็นพาร์ทเนอร์กับตัวโฮสเทลที่ๆ ต้องการการขายไลฟ์สไตล์แบบใหม่ๆ เราจะเรียกว่าเป็น Co-living Space เหมือนเป็นการอยู่อาศัยร่วมนะครับ ไม่ใช่การทำงานร่วม หรือ Co-working ส่วน Co-living นี่ยิ่งกว่า เพราะเป็นการนำคนมาอยู่ด้วยกันใช้ชีวิตร่วมกัน ซึ่งแต่ละที่พักก็จะมีเสน่ห์ที่แตกต่างกัน พูดง่ายๆ ว่า ถ้าโรงแรมไหนอยากขายคนในประเทศเพิ่มขึ้น ผ่านรูปแบบของ Co-living Space ก็ให้ มูชัวร์ พลัส ช่วยโปรโมทก็ช่วยแนะนำได้ เพราะว่าเราก็กำลังอยากจะสร้างวิถีชีวิตแบบนี้ให้กับคนในเมือง

ในการปรับเปลี่ยนจากโรงแรมหรือโฮสเทลเดิม ให้มาเป็น Co-living Space ต้องมีการปรับเปลี่ยนในเชิงการจัดการอย่างไรบ้าง? 

ก็จะมีสองส่วนครับ ส่วนแรกคือเรื่องมาตรการ กฎระเบียบทั่วไปที่เราต้องแนะนำครับ แต่ก่อนจะเป็นแบบพักรายวัน เพราะฉะนั้นเรื่องสัญญาอะไรจะไม่ค่อยมี หรือว่าเรื่องการทำความสะอาด พอมันทำเป็นรายวัน กับการอยู่ระยะยาวมันก็ไม่เหมือนกัน ระบบมาตรการเปิด-ปิด เรื่องมาตรการ กฎระเบียบต่างๆ เราก็จะมีแนะนำครับ ส่วนที่สองก็คือ มาตรการที่เกี่ยวกับโควิด จะมีการเว้นระยะห่างยังไง ให้มีระบบคัดกรอง วัดอุณหภูมิ เจลล้างมือ ต้องมีกฎระเบียบที่ได้มาตรฐานสาธารณสุข ของแต่ละเมืองอย่างนี้ครับ เราก็ต้องไปแนะนำ 

บรรยากาศ Co-living Space รอบๆโฮเทล
Photo: Ketsiree Wongwan

แล้วอย่างในเชิงการออกแบบทางกายภาพ มีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง?

ห้องส่วนใหญ่ ก็ไม่มีใครอยากลงทุนเพิ่ม เราก็จะพยายามใช้สิ่งเดิมให้ได้มากที่สุดครับ อย่างมากก็แค่ซื้อตู้มาเพิ่ม คือเกือบทุกโฮสเทลที่ทำเขาจะมองว่าอันนี้เป็นแพลนระยะสั้นครับ ทำในช่วงที่ยังมีวิกฤติโควิดอยู่ ถ้ากลับมาเปิดประเทศเมื่อไหร่ ก็จะกลับไปเปิดเป็นโฮสเทลรายวันเหมือนเดิม จะมีที่ปรับเปลี่ยนบ้างก็เช่น เรื่อง Facility ต่างๆ คือคนอยู่แบบรายวันส่วนใหญ่เขาไม่ได้ต้องการ Facility เยอะมากครับ แต่พอมาอยู่เป็นบ้านเมื่อไหร่ เขาก็จะมีความต้องการพื้นที่มากขึ้น ซึ่งก็ต้องเพิ่มเติม เช่น ตอนอยู่รายวันเขาไม่ได้คำนึงถึง การซัก อบ รีด ที่ตากผ้า ที่เก็บของขนาดใหญ่ขึ้น พออยู่รายเดือนมันกลายเป็นว่าต้องมีพื้นที่เหล่านี้เพิ่มขึ้นมา เพราะว่าอยู่ค่อนข้างถาวร

การเป็นที่พักอาศัยแบบ Co-living Space จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ใช้สอยส่วนอื่นๆ นอกจากห้องพักเข้ามาหรือไม่?

ก็ด้วยความที่โฮสเทลแต่ละที่ แต่เดิมก็มักชอบมีกิจกรรมอยู่แล้ว เราก็เลือกกิจกรรมที่เป็นธีมของแต่ละที่ เพื่อที่จะหาคนที่มีความสนใจตรงกัน อย่างเช่นช่วงแรกเราไปมีที่หนึ่งที่เขาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม คือทั้งตัวโฮสเทลก็จะเป็นโฮสเทลที่เน้นเรื่องการใช้สิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโนพลาสติกบ้าง หรือว่าการใช้ซ้ำ การรีไซเคิล อัพไซเคิล ซึ่งกิจกรรมประเภททำปุ๋ยบ้าง หรือโยคะบ้าง ก็กลายเป็นธีมหลักของที่นั่น ที่คนที่เข้ามาก็จะเหมือนมีหัวใจเดียวกัน คือรักสิ่งแวดล้อมเหมือนกันนะอะไรอย่างนี้ หรือบางที่ๆ ทำอยู่เยาวราช เขาก็จะทำกิจกรรมเกี่ยวกับอาหารเยอะมาก คือแต่ว่ากิจกรรมพวกนี้มันเกิดขึ้นจากตัวโฮส แล้วก็ทาง มูชวลพลัส เข้าไปช่วยจัดการบ้าง ส่วนมากเป็นกิจกรรมที่ทางตัวโฮสเทลเดิมจัดอยู่แล้ว ก็ใช้พื้นที่เดิมของโรงแรมได้เลย

ในการปรับเปลี่ยนโฮสเทลเดิมให้ความสำคัญกับการออกแบบมาก-น้อยแค่ไหน?

ผมมองดีไซน์ไม่ใช่แค่ความสวยงามเชิงกายภาพนะครับ แต่ผมว่าดีไซน์ที่แท้จริง คือการเข้าใจคนใช้งาน คือ มูชัวร์ พลัส มันมีความยากตรงที่ว่ามันนำเสนอการอยู่อาศัยร่วม ในยุคที่คนพูดแต่ Distancing ผมว่าดีไซน์มันอะไรสำคัญมาก ผมเชื่อว่าต่อให้เราพูดเรื่อง Distancing ยังไง จริงๆ แล้วคนก็อยากจะมาเจอกัน เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วโจทย์มันไม่ใช่การไม่เจอกัน โจทย์มันคือการดีไซน์หรือออกแบบยังไงให้คนเจอกันได้อย่างปลอดภัย อันนี้ผมเลยคิดว่ามันเป็นโจทย์ที่ มูชวลพลัส ใช้เวลาไปแนะนำคนที่ทำโฮสเทล คนทำโฮสเทลทุกคนจะเชื่อการเจอกันของมนุษย์เป็นทุนอยู่แล้ว เพราะไม่งั้นคงไม่มาทำโฮสเทลแน่นอน เพราะฉะนั้นความท้าทายของเราคือว่า ทำยังไงให้เขาเชื่อแบบที่ผมว่า แล้วเอาดีไซน์เข้าไปช่วยแนะนำว่า เฮ้ยมันอยู่ได้ มันมีลูกค้า แล้วก็ขณะเดียวกันก็ต้องคุยกับลูกค้าว่า ลูกค้ามาอยู่ได้ ปลอดภัย อันนั้นมันเป็นโจทย์ในการออกแบบของเรา ทีนี่เราออกแบบความเชื่อใจยังไง อย่างเช่น ต้องมีตรวจอุณหภูมิ มีเจลล้างมือ การทำความสำอาดทั้งตึก การตรวจคัดกรอง เรียกว่าคนที่ทำหน้าที่เป็นโฮสในโฮสเทล แต่เดิมมันทำแค่เรื่องการต้อนรับ แต่ว่าในยุคนี้มันก็ควรจะต้องทำมากกว่านั้นคือ มันก็เหมือนจะต้องเช็คความเจ็บ ความป่วย เหมือนคอยดูแลคนที่อยู่ข้างในจริงๆ ด้วย เพราะว่าหากคนหนึ่งป่วยในโฮสเทล มันหมายความว่าทุกคนที่อยู่ข้างในมีความเสี่ยง มันไม่ใช่เรื่องส่วนตัวอีกต่อไป คืออาการป่วยของคนหนึ่งไม่ใช่เรื่องส่วนตัวที่จะต้องไปหาหมอเองอีกต่อไป กลายเป็นว่าถ้าเขาป่วยมันส่งผลถึงอีกคนนึง เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็เป็นหน้าที่โฮส ที่จำเป็นจะต้องแบบเช็คอัพ ผมคิดว่าอันนี้เป็นสิ่งที่เราแนะนำ 

ทราบมาว่า นอกจาก Co-living แล้ว ล่าสุดเพิ่งมีแคมเปญเชิญชวนโฮสเทลมาร่วมกันทำเป็น Hospitel สำหรับรองรับผู้ป่วยโควิด มีความเป็นมายังไง?

ก็คือตอนนี้โรงพยาบาลหลายแห่งเขากำลังหาโรงแรมสำหรับทำ Hospitel อยู่ เขาต้องหากันเอง แล้วพอดีว่ามีผู้อำนวยการโรงพยาบาลเขาติดต่อมาทีนี้ ด้วยความที่เราเป็นพาทเนอร์กับหลายโรงแรมอยู่แล้วก็เลยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อเชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาลและโฮสเทล ซึ่งเราคิดว่ามันไม่ได้ยากอะไร เราแค่เป็นตัวกลางเฉยๆ เพื่อที่ให้โรงแรมเขาไปติดต่อกับโรงพยาบาลที่ต้องการเอง เราเป็นคนประสานให้ แล้วก็เอามาตรการต่างๆ มาช่วยดูให้ คือตอนนี้โรงพยาบาลกับโรงแรมเขาไม่เจอกัน เราก็ทำหน้าที่แค่ว่า เราก็เอาลิสต์ของโรงแรมมา แล้วถ้าใครพร้อมเราจะมีการประกาศลิสต์ทั้งหมด ให้โรงพยาบาลมาช้อปปิ้ง ถ้าใครสนใจ โรงแรมไหนที่คิดว่าอยากหารายได้เพิ่ม ในช่วงที่มันไม่ได้รายได้ ก็ทักเข้ามาครับ แล้วเดี๋ยวเราจะแนะนำรายละเอียดต่างๆ ให้

คิดว่าแนวโน้มในอนาคตของที่พักอาศัยแบบ Co-living Space ในประเทศไทยจะไปในทิศทางใด?

คือถ้าเอาโฮสเทลก่อน ผมว่าโฮสเทลก็จะลำบาก เพราะว่า เท่าที่ตามจากข่าว กว่าจะฉีดวัคซีนครบ เปิดประเทศได้เร็วสุดก็น่าจะไตรมาส 1 ของปีหน้า ที่เราน่าจะอยู่ในจุดที่นักท่องเที่ยวกลับมาเยอะเหมือนเดิม ซึ่งนั่นก็แปลว่า กว่าที่คนจะกลับมา กว่าจะมาถึงโฮสเทล มันน่าจะหลังจากนั้นไปอีก เพราะจะต้องไปที่ส่วนอื่นก่อน เช่น โรงแรมขนาดใหญ่ ที่เขาอาจมีโปรโมชั่นลดราคาลดมา กว่าจะมาถึงโฮสเทลได้นี่ ผมว่ามีปลายปีหน้า เหมือนต้องรอปรับฐานปรับตลาดของโรงแรมขนาดใหญ่ให้มันปกติก่อน ซึ่งผมว่ากว่ามันจะกลับมาจนปกติเนี่ยก็คงใช้เวลาประมาณหนึ่ง ทีนี้พอมาดูเทรนด์ของ Co-living ผมมองว่ามันเป็นเทรนอนาคตอยู่แล้วนะ ถ้าไปดูรีเสิร์ชอะไรก็ตามเขาก็จะบอกว่า การอยู่อาศัยแบบร่วมกัน หรือว่าคนรุ่นใหม่จะให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของน้อยลง จะเลือกที่จะอยู่กันแบบชั่วคราวมากขึ้นในทุกเรื่องนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก เรื่องการอยู่อาศัยก็สามารถไปอยู่ที่นั่นที่นี่ได้ โยกย้ายไปได้เรื่อยๆ ไม่ยึดติดกับที่ๆ เดียว ไม่อยากเป็นเจ้าของ หรือมีภาระระยะยาวกับที่ใดที่หนึ่ง เพราะฉะนั้นไอ้เทรนด์พวกนี้มันเป็นโอกาสของ Co-living อยู่แล้ว ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า มันจะเกิดขึ้นมั๊ย ประเด็นคือจะเกิดขึ้นวันไหนมากกว่า เพราะว่ายังไงเทรนด์นี้มันชัดเจน ทั้งทั่วโลกและในประเทศไทย 

ผมเลยคิดว่า โอกาสสองส่วน นี้มันจะมาบรรจบ ก็คือ หนึ่ง ซัพพลายไซด์ที่มันมากเกินไปกับกลุ่มตลาดเดิม มันล้นแล้วมันเป็นโอกาส ในขณะเดียวกันดีมานด์ไซด์นี่ก็เป็นโอกาส เพราะว่าอนาคตมาแน่ ผมคิดว่า มูชวลพลัส ก็เลยเป็นทางออกที่ดี โอเคมันอาจจะยังไม่ใช่ช่วงนี้ แต่ว่าเราก็จะทำมันต่อไปแน่นอนครับ แล้วเรื่องกลุ่มลูกค้า นอกจากจะเป็นนักศึกษาแล้ว บางส่วนคนที่จบแล้วก็โหยหาบรรยากาศแบบนี้ โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มทำงาน ซึ่งจะมีเหงา เหงากว่านักศึกษาอีก เหมือนกับว่าทำงานเสร็จแล้วมันก็เคว้งคว้าง หาจุดมุ่งหมายในชีวิตไม่เจอ ผมว่า 2 กลุ่มนี้ จะเป็นลูกค้าหลักของ มูชวลพลัส ในอนาคต ซึ่งผมมองว่าตลาดหอพักมันไม่มีอะไรเลย ไม่มีดีไซน์ ไม่ความไม่มีไลฟ์สไตล์ คือหอพักมันเป็นตลาดที่น่าจะถูก Disrupt ได้ตั้งนานแล้ว แต่ว่ามันไม่มีใครมาสนใจตรงนี้เอง ผมเลยคิดว่าไม่มีเหตุผลอะไรเลย ที่เราจะไม่ทำ 

พื้นที่ส่วนห้องพักโรงแรมอีกหนึ่ง Type หลังจากปรับเป็นพื้นที่กักตัว Alternative State Quarantine หรือ Hospitel ที่ให้ความสะดวกสบายกับผู้เข้าพักได้
Photo Courtesy of Royal Rattanakosin Hotel

Since Covid-19 became known to the world in late 2019, it has not only destroyed people’s lives but their livelihoods as well disrupting many things worldwide including businesses, economies, culture, and society as a whole. As a result of the disruption, there has been a significant rapid change in adaptive attitudes generally, as a society and the economy change so does architecture and with-it flexibility in building use.

In Thailand for example, the hospitality industry has been hit hard with hotels among the worst impacted by Covid-19.  Normally, the main income source for this type of business is through international and national tourism. The pandemic however has halted international travel and heavily restricted national travel diminishing the capacity of hotels to source enough regular income to sustain themselves. Consequently, hotel owners and operators now attempt to adapt their hotels to new uses looking for ways to survive. In this issue of ASA, we have had an opportunity to talk with individuals that have exposure to and experience in adapting to new Covid-19 related circumstances together with various building use case studies including the Royal Rattanakosin Hotel and Mutualplus platform Hostels.

The Royal Rattanakosin Hotel in Phranakhon, Bangkok was one of the first hotels to adapt itself for alternate uses. When the first pandemic wave hit in March 2019, the hotel’s former use of welcoming tourists changed to service quarantined travelers and positive Covid-19 patients. The hotel’s executives discussed the issue at the time and came to the conclusion that the pandemic situation would likely be long lasting rather than being brief so decided to volunteer its quarantine services to the state for travelers suffering as a result of the pandemic. Teeranat Phaoharuhan, the general manager of the Royal Rattanakosin Hotel noted that ”if no one volunteered and helped, the country would suffer intolerably and not be able to move on. That’s why the hotel was one of the first to adapt to the situation as a travelers pandemic quarantine site.”

Generally, hotels can be converted into 3 categories of infirmary:

1. State Quarantine (SQ): Sites in this category are only for Thais traveling back to Thailand from abroad.  They are generally quarantined for a set period before being allowed back into the country. The government covers the associated quarantine costs for those affected.

2. Alternative State Quarantine (ASQ): This alternative is similar to SQ, but travelers are required to pay for quarantine costs. These sites are mainly for foreigners coming in from abroad.

3. Hospital: The function here is to take care of patients discharged from the hospital after they recover from symptoms/infection and assessed as healthy or if the patient exhibits only very mild symptoms that do not warrant hospitalization.

การปรับตัวด้านสถานที่ภายในโถงต้อนรับของโรงแรมเพื่อความปลอดภัย
Photo Courtesy of Royal Rattanakosin Hotel

We still welcome and take care of guests, but we have to increase safety measures. For instance, we must take advice from hospitals on how to clean/ disinfect rooms and collect trash, and how staff are to wear PPE uniforms.

Currently, the Royal Rattanakosin Hotel which collaborates with Piyavate Hospital has its front building adapted for ASQ and its rear building Hospitel purposing.

The process of adapting Hotels into infirmaries is not generally difficult as hotel and hospital buildings share common uses. Both are service buildings accommodating guests/patients inter- selected by corridors and walkways. The adaptive process is supported by location and the internal tools needed already in place reducing associated modification costs. A major part of being able to adapt and evolve successfully also involves changing how the hotel is managed. “We still welcome and take care of guests, but we have to increase safety measures. For instance, we must take advice from hospitals on how to clean/disinfect rooms and collect trash, and how staff are to wear PPE uniforms,” added Teeranat.

Basically, general internal appearance does not change significantly, floors of rooms covered with carpet are replaced with linoleum for easier cleaning and maintenance reducing possible causes for infection. Chairs made from the material are covered with plastic sheets for the same reasoning. Management protocol follows similarities with that of a hospital assisted by flow charts that monitor movement inside the hotel. Additionally, to ensure that all staff work in the safest environment possible, utility spaces and walkways for guests/patients and staff are distinctly compartmentalized from each other to help prevent un-infected guests and staff from becoming infected. Separate entrances and exits are available for differing types of users and screens are installed in lobbies to clearly separate the differing zones. This methodology is also applied to elevators which are separated into sterilized for staff and non-sterilized for guests/patients. Generally, an up-to-standard hotel has its own set of service and passenger elevators. This reduces the need for additional changes.

Luk Hostel ย่านเยาวราช
Photo: Ketsiree Wongwan

There would be a need to search for a solution to the problem, so a decision was made to join with colleagues and acquaintances who were also in the hostel business to seek an alternative option. The result of discussions led to the birth of a new ‘lifestyle’ called ‘Co-living’

This adaptive pandemic methodology can be applied to hotels of all sizes being impacted by the virus. Changes in function and use is forced by current needs and circumstances. One of the clearest examples of change relates to how some small hotels and hostels collaborate and shift from their traditional ‘hotel’ related purpose and role into a new type of accommodation purposing referred to as ‘co-living. Hotels and Hostels undertaking this type of operation are represented through the ‘Mutualplus’, which is a collective platform which they utilize.

‘Mutualplus’ evolved during the first wave of Covid-19 in 2020. Prior to this, 95+ percent of hostel guests were foreign tourists. Sanon Wang- sangboon, one of the founders of Mutualplus explained that without a vaccine, there would be no way the country could reopen, and if the country could not reopen, hostels could not then operate in the same way as previously. There would be a need to search for a solution to the problem, so a decision was made to join with colleagues and acquaintances who were also in the hostel business to seek an alternative option. The result of discussions led to the birth of a new ‘lifestyle’ called ‘Co-living’, involving groups of unrelated individuals living together. Co-living moves be- yond co-working as it involves virtually strangers opting to live together and hostels being able to offer different character and opportunity to its guests and residents.

A noteworthy and distinctive quality of co-living residences is their combination of advantageous qualities of both a hotel and dormitory. For instance, guests can stay for long periods like a dormitory but without having to clean their room themselves. Like a hotel, rent is a one-off without additional fees or charges for water or electricity as these utilities are included in the initially paid package. They also have the comfort of a hotel, while offering the friendly and welcoming atmosphere of a dormitory. Similar to traditional hostels, there is an opportunity to share activities and similar interests with other guests and residents creating a more dynamic and enjoyable stay.

บรรยากาศภายในอีกมุมห้องของโฮเทล
Photo: Ketsiree Wongwan

 Co-living adaptive changes are most significant for management ranging from cleaning to arrival and departure times. Although general rules, regulations, and measures between co-living establishments may apply, those pertaining to Covid-19 will need to meet the standards set by the Ministry of Public Health. These will likely include distancing, screening, temperature checking, and disinfecting protocols. Small accommodation facility changes in respect to the hostels themselves will likely need to be undertaken in addition to those already in place for longer stay guests rather than short-stay guests such as kitchen facilities, dishwashers, washing machines, and larger lockers. 

Apart from adaptation into co-living space, Mutual- plus has recently launched a new campaign to invite hostels interested into hospitels adapted to service patients discharged from hospital. Sanon added that many hospitals were looking for hotels wishing to adapt to hospitels. Being a partner of many hotels Sanon noted that he had become a middleman facilitating negotiations between hospitals and hostels on a case-by-case basis. Information is readily available and provided to hotels in contact seeking additional income.

For the tendency of adapting hotel space for other uses, Teeranat of Royal Rattanakosin considers this as only a temporary solution. When circum- stances change again and the situation returns to normal, hotels will reopen again. In the future, he believes hotels will hold higher safety and health-related standards given changing attitudes and concerns in the tourism sector. The experience gained because of this health-related event will likely be a selling point for hotels as their personnel are already trained in health care.

ด้วยรูปแบบเดิมของ พื้นที่สันทนาการ ของ Hostel สำหรับ นักท่องเที่ยวสามารถ
กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางรองรับ Co-Living
Photo: Ketsiree Wongwan

Meanwhile, Sanon of Mutualplus views differences in what large and small hotels are likely to face. He believes smaller hostels will have to face this challenge longer than large hotels. “I think the earliest timeline for vaccination of the entire population, subsequent reopening of the country, and resurgence of tourism would be the first quarter of 2022. Tourists will go to some other type of hotel or large hotel first before coming to us because those hotels would probably have price promotions. Tourists will come to us only in the later part of next year.” Still, he sees an opportunity for co-living residences. “Now, when studying the trend for co-living space, I think it is a trend for the future. Younger generations will not value ownership of a permanent residence as much and opt instead for a lifestyle where they can move and travel more freely without getting held down by some long-term burden, this trend is an opportunity for co-living. These two factors, an over-supply of the traditional market and a future demand for co-living will present us with opportunity. I think Mutualplus is a good solution for the future.”

These noted examples clearly demonstrate that businesses and buildings just as an organism always needs to adapt to different changing circumstances and surroundings to survive and evolve. They present owners and operators of hotels, hostels, and other businesses the key to survival in today’s world through ingenuity, creativity, and the ability to quickly adapt without attachment or concern for the past. These are vital skills needed to ensure survival now and in the world of the future.

Pin It on Pinterest

Shares
Share This