Ground Exchanges: Architects 49 Limited & MAYU architects

“Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition” นิทรรศการสถาปัตยกรรมครั้งแรกของปี ที่จะถูกจัดขึ้นและเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการในวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) คือนิทรรศการรวบรวมผลงานสถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและประเทศไต้หวัน จาก 8 บริษัทสถาปนิก ประกอบด้วย บริษัทสถาปนิก 49 จำกัด (Architects 49 Limited), บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด(Arsomsilp Community and Environment Architect), บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด (Duangrit Bunnag Architect Limited), บริษัท ดีพาร์ทเม้นท์ ออฟ อาร์คิเทคเจอร์ จำกัด (Department of ARCHITECTURE) และ Ambi Studio, MAYU architects, Behet Bondzio Lin Architekten, Atelier Or จากไต้หวัน ที่จะมาร่วมจัดแสดงเพื่อนำเสนอถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม สภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาสังคมที่ส่งผลต่องานสถาปัตยกรรมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม

โดย เจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) ประธานคณะทำงานนิทรรศการจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ ร่วมกับกุลธิดา ทรงกิตติภักดี ผู้ร่วมก่อตั้งและสถาปนิกหลักจาก HAS Design and Research หัวหน้าภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ ได้คัดเลือกผลงานจากบริษัทสถาปนิกทั้ง 8 บริษัทข้างต้น ที่มีความน่าสนใจในแง่มุมต่างๆ โดยแบ่งการนำเสนอสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทยและไต้หวันออกเป็น 2 หมวด คือ “การแลกเปลี่ยนบนผืนดิน” (Ground Exchanges) และ “ความรู้สึกจากผืนดิน” (Feeling Grounds) ที่แสดงวิถีชีวิตใหม่ของมนุษย์และธรรมชาติผ่านสถาปัตยกรรมบนพื้นฐานร่วมกันอันอุดมไปด้วยความสัมพันธ์, ความศักดิ์สิทธิ์, ลักษณะท้องถิ่น, การแทรกซึม, ความพิเศษ, การระลึกถึง, พื้นถิ่น, และไร้ขอบเขต 

Velaa Sindhorn Village Langsuan by Architects 49 Limited

สำหรับบทความนี้จะขอนำเสนอ 4 ผลงาน จาก 2 บริษัทสถาปนิก ในหมวด Ground Exchanges หรือหมวดของการแลกเปลี่ยนวิทยาการทางการก่อสร้างสมัยใหม่ อย่างผลงาน เวลา สินธร วินเลจ (พ.ศ. 2562) และ โรงละคร สิงห์ ดีลักษณ์ ซีเนมาติก เธียเตอร์ (พ.ศ. 2560) อาคารขนาดใหญ่ทั้ง 2 อาคารที่ได้รับการออกแบบโดย บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด (Architects 49 Limited) คืออาคารที่เสมือนลอยตัวอยู่กลางอากาศ เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับพื้นที่สาธารณะ ขณะที่ภาพลักษณ์ของอาคารก็ยังสัมพันธ์ไปกับแสงและลม ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับธรรมชาติและบริบทได้เป็นอย่างดี 

Singha D’luck Cinematic Theatre by Architects 49 Limited

อีกทั้งความพิเศษของอาคาร เวลา สินธร วินเลจ ยังเป็นอาคารที่นับว่าเป็นส่วนต่อขยายของสวนลุมพินี ซึ่งมีความยาวกว่า 300 เมตร ไปตามแนวหลังสวน เปรียบเสมือนการถักทอพื้นที่สีเขียวไปพร้อมกับการสร้างภูมิทัศน์บนหลังคาให้ดูลื่นไหล  โดยแสงอาทิตย์ที่แทรกผ่านหลังคาของลานอเนกประสงค์ภายในอาคารแต่ละส่วน ยังสร้างเงาให้กับพื้นที่ส่วนด้านล่างเสมือนลายใบไม้ที่ส่องแสงสว่างในช่วงกลางวัน

ส่วนอาคาร โรงละคร สิงห์ ดีลักษณ์ ซีเนมาติก เธียเตอร์ ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นโรงละครลอยได้แห่งแรกของโลก ได้ถูกออกแบบภายใต้การนำคำว่า Illusion หรือ ลวงตา ในโลกมายา มาต่อยอดไอเดียการลวงตาให้ดูเหมือนอาคารขนาดใหญ่น้ำหนักมหาศาลแห่งนี้ลอยได้ ซึ่งเกิดจากเทคนิคการเลือกใช้วัสดุผสมผสานกับการออกแบบ โดยเฉพาะแผงกระจกขนาดใหญ่สะท้อนแสงหักเหไปมาสร้างปรากฎการณ์ “ลวงตา” (Illusion) ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ

Pingtung Public Library by MAYU architects

สำหรับอีก 2 ผลงาน จากบริษัท MAYU architects ได้แก่ผลงาน Pingtung Public Library และ Kaohsiung American School Athletic Complex คือผลงานการใช้รูปทรงเรขาคณิตที่ตรงไปตรงมา ร่วมกับโครงสร้างอาคารที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนในท้องถิ่น เชื่อมโยงมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอย่างไร้รอยต่อ

Kaohsiung American School Athletic Complex by MAYU architects

ความน่าสนใจของอาคาร Pingtung Public Library  คือการออกแบบและจัดสรรพื้นที่สีเขียวโดยรอบอาคารให้เกิดสัดส่วนที่มีการใช้งานและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังการใช้งานพื้นที่ภายในอาคารตามลำดับ ทำให้เกิดการลื่นไหลในการเข้ามามีส่วนร่วมภายในอาคาร และสร้างการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และอาคาร ส่วนอาคาร Kaohsiung American School Athletic Complex ก็เป็นการนำเสนอเส้นสายและรูปทรงขออาคารที่น่าสนใจ โดยเส้นสายที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากแนวคิดของการเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ใช้พื้นที่ตามจินตนาการ ค้นหาการรับรู้ใหม่ๆ ผ่านพื้นที่ และปลุกเร้าความสนใจ ด้วยเส้นสายและรูปทรงเรขาคณิต 

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมนิทรรศการ “Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition” เพื่อชมผลงานอื่นๆ จาก 8 บริษัทสถาปนิกที่มาร่วมจัดนิทรรศการในครั้งนี้ สามารถเข้าไปชมได้ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม – 6 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 – 20.00 น. (วันอังคาร-วันอาทิตย์) หรือติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่หน้าเพจ ASA Platform และ เพจสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

Title: Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition
Hosts: The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage; Taipei Economic and Cultural Office in Thailand; Chulalongkorn University – Faculty of Architecture; King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang – School of Architecture, Art, and Design; King Mongkut’s University of Technology Thonburi – School of Architecture and Design; Silpakorn University – Faculty of Architecture
Co-Organizers: HAS design and research, Bangkok Art and Culture Centre, art4d, Alliance for Architectural Modernity Taiwan
Principal Curators: Jenchieh Hung, Kulthida Songkittipakdee
Participants: Architects 49 Limited, Behet Bondzio Lin Architekten, Duangrit Bunnag Architect Limited, MAYU architects, Arsomsilp Community and Environment Architect, Ambi Studio, Department of ARCHITECTURE, Atelier Or
Space Design: HAS design and research
Supporters: Alufence, Canon Thailand, Jorakay, Saint-Gobain Thailand, RichCons, FloraScape, Zdecore
Duration: 2023 July 18 – August 6
Opening Event: 2023 July 18, 14:00 (invitation only)
Opening Hours: Tuesday – Sunday, 10:00 – 20:00
Venue: Bangkok Art and Culture Centre LF939 Rama I Road, Wang Mai, Pathum Wan, Bangko

Pin It on Pinterest

Shares
Share This