Dean of the Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University Interview

Dean of the Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University Interview

เมื่อเดือน พฤษภาคม​ที่ผ่านมานี้  คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีฯ ใช้วิธีการประกวดแบบอาคาร สำหรับโรงพยาบาลแห่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ คือ โรงพยาบาลรามาธิบดีศรีอยุธยา นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ก่อตั้งคณะฯ มา 55 ปี ที่ใช้วิธีการประกวดแบบทั่วไป งานประกวดประสบความสำเร็จอย่างสูงที่เป็นที่สนใจของสถาปนิกอย่างมาก มีผู้ส่งเข้าประกวด ทั้งในระดับนักศึกษา และระดับมืออาชีพ รวมๆ แล้วมากกว่า 100 ทีม การประกวดแบบครั้งนี้เป็นการประกวดแบบแนวความคิดสำหรับ อาคารทางการแพทย์ที่จะรองรับความก้าวหน้าในอนาคต (A state-of-the-art medical facility that was designed to evolve with future advancements in healthcare) และให้ความสำคัญที่ประโยชน์ใช้สอย Function การใช้งาน และ Flow ของผู้ใช้งานทั้งเจ้าหน้าที่และผู้มาใช้บริการ โดยมีสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ช่วยให้คำปรึกษา

ต่อไปนี้ เป็นบทสัมภาษณ์ที่ อาษา และ คุณชื่นอุษา ชลศึกษ์ จันทรา ที่ปรึกษาด้านการบริหารขององค์กรหลายแห่ง รวมถึงของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์ท่านคณบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปิยะมิตร ศรีธรา เกี่ยวกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  ตลอดจนเหตุผลการจัดการประกวดในแบบครั้งนี้

. นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา
คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

อาษา: ประชาชนทั่วไปรู้จักคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในมิติที่ต่างๆ กัน บางคนอาจเห็นในแง่มุมของโรงพยาบาลที่รักษาโรคยากๆ  หรือบ้างก็รู้จักในนามของโรงเรียนแพทย์อันดับต้นของประเทศ  ขอให้ท่านคณบดีได้พูดถึงความเป็นคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และบทบาทที่มีต่อสังคม

ศ. นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา: วิสัยทัศน์ของคณะ ฯ คือ เราต้องการเป็นคณะแพทย์ฯ ชั้นนำในระดับสากล พันธกิจสำคัญมีอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ สร้างองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติในแง่ของสุขภาวะและด้านบริการทางการแพทย์ เป็นที่สร้างบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อสังคมไทยและการบริการหรือโรงพยาบาลที่เป็นฐานสำหรับการเรียน การสอน และการวิจัย และสุดท้ายคือพันธกิจนี้มีจุดมุ่งหมายชัดเจน บัณฑิตที่เราผลิตและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เราตั้งใจว่ากลุ่มเหล่านี้ที่ออกไปทำงานเป็น change agent (กลไกการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ) คือไปสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมในทิศทางที่ดีขึ้น โดยที่มีพื้นฐาน และความชอบในการคิดนอกกรอบ มีความชอบวิจัย เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้สังคมพัฒนา ให้คุณภาพชีวิตที่ดีต่อประชาชน 

ส่วนงานวิจัยของเราที่สำคัญมีสองส่วน หนึ่งคือการวิจัยทางการแพทย์ การตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรคที่ซับซ้อน และอีกส่วนคือการวิจัยเชิงระบบสาธารณสุข เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข สองเรื่องนี้แตกต่างกันมาก  ขณะที่ด้านการแพทย์จะลงลึกในศาสตร์ด้านโมเลกุลระดับเจนเนติก (Genetic)  เพื่อให้สามารถวินิจฉัย และรักษาโรคยากๆ ได้  ด้านระบบสาธารณะสุขจะมองกว้างในระบบของประเทศเพื่อหาวิธีการบริการที่ให้ถึงประชาชนให้มากที่สุดสิ้นเปลืองน้อยที่สุดเพื่อให้ได้ผลที่คุ้มค่าบางอย่างส่งผลถึงการผลักดันนโยบายสาธารณะสุขที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพื่อประโยชน์การบริการสุขภาพสู่ประชาชน

อาษา: ถ้าให้ประเมินความสำเร็จและความก้าวหน้าที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีที่เติบโตมาถึงวันนี้เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้อะไรที่เป็นความสำเร็จที่สำคัญในวันนี้และสำหรับความท้าทายของอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งโรคอุบัติใหม่ที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยบริบทของสังคมที่เปลี่ยนทั้งแนวคิดของคนใน Generation การเข้าสู่สังคมสูงวัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และอื่นๆที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วคณะฯวางแผนจะจัดการและสร้างประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร

มีทั้งเรื่องที่ก้าวหน้า และมีทางไกลที่จะเดินต่อ ด้านการเรียน การสอน เรารู้ว่าวันนี้การรักษากับเทคโนโลยีการรักษาเชื่อมโยงกันมากหมอต้องเข้าใจและรู้จักเทคโนโลยีและหมอนอกจากรักษาเก่งต้องเข้าใจระบบการบริหารจัดการที่จะทำให้รักษาได้มีประสิทธิภาพด้วยคณะฯจึงพัฒนาหลักสูตรให้รองรับเรื่องนี้โดยสร้างหลักสูตรใหม่ขึ้นมาเป็น Hybrid คือผสมผสานระหว่างแพทย์และวิศกรและระหว่างแพทย์กับนักบริหารนักศึกษาที่เข้ามาในหลักสูตรได้ปริญญา 2 ใบ ใบแรกคือ ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต และอีกใบแล้วแต่จะว่าจะเป็นปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ หรือปริญญาโทด้านบริหารจัดการทางด้านการแพทย์  

ศ. นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา
คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ศ. นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา: นอกจากบัณฑิตแพทย์ เรามีหลักสูตรปริญญาตรีอีกสามหลักสูตร พยาบาล  วิทยาศาสตร์ด้านการสื่อความหมายและการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ได้รับความยอมรับ และ คณะฯ ก็ปรับปรุงหลักสูตรอยู่เสมอ ส่วนเรื่องงานวิจัย งานวิจัยที่คณะฯมุ่งเน้นเพื่อตอบโจทย์ของสังคม มีหลายด้านมาก ที่สำคัญๆคือ การวิจัยด้านเจเนติกของคนไทย เพื่อให้ได้ผลอ้างอิงของคนไทยอันเป็นประโยชน์ในการรักษาโรค ซึ่งพอมีโรคระบาดโควิด-19 เข้ามา เราก็เป็นผู้นำในการทำวิเคราะห์เจเนติกของเชื้อโควิด-19 ทำให้รู้ถึงการแพร่ระบาดส่วนต่าง ๆ ของประเทศ นำมาซึ่งวิธีการวินิจฉัย และการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการทำวัคซีน รวมไปถึงการพัฒนาเอาสมุนไพร กระชายขาว เพื่อการรักษา มีการศึกษาร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) นอกเหนือจากฟ้าทะลายโจรที่ทางกระทรวงสาธารณสุขทำ

เรื่องการรักษาผู้ป่วย เราหวังจะเป็นที่พึ่งสำหรับประชาชนที่รักษาที่อื่นไม่ได้ แล้วมารักษาที่เรา คณะฯมีความสำเร็จและเด่นชัดในหลายเรื่อง เช่น การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ คณะฯทำเปลี่ยนถ่ายไตมากที่สุดในประเทศ และสามารถเปลี่ยนไตจากกลุ่มเลือดคนละกลุ่ม  เราเป็นที่แรกที่ปลูกถ่ายตับจากแม่สู่ลูก โดยพ่อแม่สามารถปลูกถ่ายตับให้ลูกได้และใช้ชีวิตปกติได้ทั้งพ่อแม่และลูก รวมทั้งการปลูกถ่ายไขกระดูก เรามีการรักษาโรคที่ซับซ้อน โดยการใช้หุ่นยนต์ทำการผ่าตัดรักษาที่ให้ความแม่นยำ ขณะเดียวกันเราก็ฝึกอบรมเป็นพี่เลี้ยงให้ รพ. อื่น ให้ความเชี่ยวชาญกระจายไปทั่วประเทศ เป็นพี่เลี้ยงในการปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ ให้โรงพยาบาลสระบุรี ราชบุรี จนสามารถปลูกถ่ายไตได้  

ส่วนความสำเร็จเทียบกับเป้าหมาย เป้าหมายที่คณะฯ มุ่งหวังจะเทียบคือระดับสากล ถ้าพอให้เห็นภาพทั้งงานวิจัยและบริการคือการรักษา ตอนนี้เราใกล้เคียงกับประเทศสิงคโปร์ ที่เรียกว่าชั้นนำในภูมิภาค แต่ก็ยังต้องพัฒนาต่อไปอีก จะต้องไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของโลก อย่างฮาเวิร์ด   อ๊อกซ์ฟอร์ดหรือเคมบริดจ์ ยังเป็นก้าวที่เราจะพัฒนาต่อไป

าษา: นอกจากด้านการวิจัยการรักษาหรือโรงเรียนแพทย์เป็นที่ผู้รับบริการมองเห็นชัดเจนแต่เบื้องหลังของความปลอดภัยและความสำเร็จในการรักษาที่สำคัญคือโรงพยาบาลที่มีการออกแบบที่ดีระบบอากาศที่ช่วยป้องกันการติดเชื้ออุปกรณ์เครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือพร้อมใช้ฯลฯอยากขอให้ท่านคณบดีเล่าให้ฟังถึงเบื้องหลังของการบริการด้วยเช่นการออกแบบอาคารงานระบบอากาศที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆทางคณะฯมีเป้าหมายหรือมุมมองเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

ศ. นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา: อาคารโรงพยาบาลและระบบเครื่องมือของโรงพยาบาล มีความสำคัญมากในขั้นต้นเราต้องดูแลการทำงานของอาคารโรงพยาบาลและเครื่องมือต่างๆ ให้เป็นปกติ คือ ทำให้ รพ. มีน้ำใช้ ไฟสว่าง มีการดูแลเครื่องมือทางการแพทย์ให้ใช้งานได้ เชื่อถือได้   คณะฯ เห็นว่าคุณภาพการรักษาที่ดีต้องมาจากทั้งบุคลากรการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ และระบบสนับสนุนที่ดีเหล่านี้  จึงได้จัดตั้งบริษัท อาร์เอฟเอส จำกัด หรือ Ramathibordi Facilities Service ขึ้นมา ดูแลงานวิศวกรรมเครื่องมือแพทย์ และวิศวกรรมโรงพยาบาล บริษัทนี้อยู่ภายใต้คณะแพทย์ 100%  แต่เป็นรูปแบบการบริหารงานแบบเอกชน  โดยใช้ระบบบริหาร ทั้งเรื่องคน เรื่องระเบียบต่างๆ เหมือนกับบริษัททางด้านเอกชน แต่ว่างบประมาณจะมาจากทางคณะฯ ให้การบริการด้านการดูแล เครื่องมือแพทย์ และ พื้นที่ในโรงพยาบาล โดยมุ่งเน้นคุณภาพการบริการให้ได้มาตรฐานสากล ปีนี้เข้าสู่ปีที่สิบแล้ว

ทำไมเราต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้าน วิศวกรรมของการดูแลโรงพยาบาล หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าพื้นที่ในโรงพยาบาลมีความแตกต่างจากอาคารสำนักงานและอาคารที่พักอาศัยทั่วไป เช่นระบบเครื่องปรับอากาศต่าง ๆ ใน ICU  CCU หรือระบบหมุนเวียนของอากาศ ในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 จะต้องเป็น Negative Pressureเวลาที่ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อระบบไฟฟ้าแสงสว่างการกำจัดน้ำเสียขยะพิษในโรงพยาบาลการทำความสะอาดพื้นที่ล้วนแต่มีความพิเศษจำเพาะและต้องการมืออาชีพดูแลรวมไปถึงการดูแลเครื่องมือทางด้านการแพทย์ตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนขนาดใหญ่ ตั้งแต่อุปกรณ์ทั่วไปอย่างเครื่องวัดความดัน เครื่องช่วยหายใจ ไปจนถึงเครื่อง MRI ซึ่งมีมูลค่า 50-60 ล้านบาท หรือ 100 ล้านบาท การเรียนรู้เทคโนโลยีเพื่อบำรุงรักษาหุ่นยนต์ผ่าตัดขนาดใหญ่ ไปจนถึงเครื่องมือเล็ก ๆ เช่น เครื่องมือที่ใช้ต่อเส้นเลือดขนาดเล็ก ในแต่ละอย่างมีความพิเศษ จำเพาะ ในการดูแล ซ่อมบำรุง ที่จะทำให้เครื่องมือเหล่านี้ ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไม่ผิดพลาด และใช้งานได้งาน  ซึ่งปัจจุบันบริษัท อาร์เอฟเอส จำกัด ดูแลระบบเหล่านี้ให้กับโรงพยาบาลในคณะฯ ซึ่งช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีขยายตัวแบบก้าวกระโดด ตั้งแต่เรามีศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ที่เป็นทั้งโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาล ซึ่งมีพื้นที่กว่า 300 ไร่ ในพื้นที่บางพลี สมุทรปราการ  โดย บริษัท อาร์เอฟเอส ต้องขยายบริการไปตามการขยายของคณะฯ อย่างได้มาตรฐานสากล  

ซึ่งการที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI*  ก็เป็นการพิสูจน์ความพร้อมอย่างหนึ่งในอนาคตเราหวังว่าบริษัท อาร์เอฟเอส จะเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ และอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ​ในเรื่องระบบสนับสนุนการแพทย์ต่อไป  และรองรับการเติบโตของคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีต่อไป อีกหลายแห่ง และการออกแบบโรงพยาบาลก็เป็นองค์ประกอบสำคัญของเรื่องระบบสนับสนุนการแพทย์เหล่านี้ 

าษา: การจะดูแลอาคารได้ดีและให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต้นทางคือการออกแบบโรงพยาบาลให้ดีเป็นเหตุผลหรือเปล่าคะที่เลือกใช้วิธีการประกวดแบบสำหรับโรงพยาบาลคือโรงพยาบาลรามาธิบดีศรีอยุธยา

ศ. นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา:  เป็นส่วนสำคัญเลยครับ ทำนองเดียวกันกับที่เรารู้ว่าวิศวกรรมโรงพยาบาลมีความพาะเจาะจง มีศาสตร์เฉพาะ เราก็เชื่อว่าการออกแบบโรงพยาบาลก็มีความเฉพาะเจาะจง มีศาสตร์ของมันและต้องการมืออาชีพเข้ามาช่วย เราคิดอยู่เสมอว่าเราอยากมีโอกาสที่จะได้เลือกและเห็นแบบที่หลากหลาย  จะมีอะไรที่เป็นแนวทางใหม่ที่จะตอบโจทย์การแพทย์ได้ดีที่สุด   คณะฯมีความเชี่ยวชาญในเรื่องทางการแพทย์ วงการแพทย์ของไทยอยู่ในระดับที่นานาประเทศยอมรับ เช่นเดียวกับวงการสถาปนิก เราเห็นสถาปนิกคนไทยทำชิ้นงานดีๆ ไปได้รางวัลระดับสากลมามาก แต่ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักอาศัย หรืออาคารพาณิชย์ ไม่มีโรงพยาบาลเลย

ผมมีความเชื่อว่า ถ้าเราสร้างโอกาสในการประกวดแบบนี้ขึ้นมาอาจเกิดการยกระดับการออกแบบโรงพยาบาลในประเทศสร้างให้สถาปนิกไทยมีความเชี่ยวชาญด้านออกแบบโรงพยาบาลให้กับประเทศไทย ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี โรงพยาบาลรามาธิบดีศรีอยุธยา ตรงพื้นที่เดิมของโรงพยาบาลเดชา มีพื้นที่ไม่ใหญ่มาก การประกวดแบบเท่ากับมีการระดมสมองสถาปนิกในประเทศมาช่วยกันคิด ตอนคัดเลือกแบบเราตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ทั้งคณะกรรมการทางด้านการแพทย์ที่เชี่ยวชาญที่เป็นคนประเมิน function การใช้งานที่ตอบโจทย์การแพทย์ และกรรมการด้านสถาปัตยกรรม เป็นคนประเมินด้านงานสถาปัตย์ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ผลงานที่ส่งประกวดกว่า 65 ​ชิ้น คณะกรรมการได้เห็นนวัตกรรมทางความคิด การออกแบบที่น่าตื่นตาตื่นใจ จึงขอขอบคุณสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานสถาปนิกที่นำส่งผลงานทุกแห่งมา ณ​ ที่นี้ด้วย 

คณะฯ หวังว่างานนี้นอกจากเราจะได้โรงพยาบาลที่ตอบโจทย์ทั้ง function และความสวยงามแล้ว. จะสามารถสร้างให้เกิดความตื่นตัวในวงการสถาปัตยกรรมแล้วก็เกิดการสร้างสถาปนิกที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบโรงพยาบาลมากขึ้น

ศ. นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา
คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

โครงการต่อไปคณะมีแผนที่จะสร้างอาคารหลังใหม่ พื้นที่ใช้สอยเกือบ 2 แสนตารางเมตร ในพื้นที่ขององค์การเภสัชกรรม โดยได้รับเงินงบประมาณมาสำหรับก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จำนวน 29 ชั้น  ก็กำลังคิดว่าอาจจะใช้วิธีทางการประกวดแบบนี้ เพื่อให้ได้โรงพยาบาลที่มีความสมบูรณ์แบบ และตอบสนองต่อวัตถุประสงค์

อาษา: ขอบพระคุณท่านคณบดีอย่างยิ่งค่ะทราบว่างานประกวดแบบนี้ดำเนินการผ่านมูลนิธิรามาธิบดีคิดขึ้นมาเผื่อการสร้างคนรุ่นใหม่ไว้ด้วยโดยการจัดประกวดครั้งนี้มีทั้งกลุ่มของนักศึกษาและสำนักงานสถาปนิกอาชีพพและจากผลการประกวดที่ผ่านมาผู้ออกแบบก็ตั้งใจศึกษาทำมาได้อย่างดี

ทราบว่าคณะกรรมการพอใจผลงานอย่างมาก ผู้ออกแบบให้เวลาศึกษาฟังชั่นโรงพยาบาลมาอย่างดีมากและคิดแบบรอบคอบ ทั้งจัดพื้นที่อย่างยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางการแพทย์เอาไว้ด้วยสำหรับอนาคตเป็นการประสานศาสตร์การแพทย์กับงานสถาปัตยกรรมออกมาเป็นศิลปะเป็นงานออกแบบที่สวยงามและได้ประโยชน์ใช้สอยเต็มที่  ที่สำคัญน่าดีใจที่เขาเป็นคนรุ่นใหม่ และเราอาจได้กลุ่มออกแบบโรงพยาบาลระดับสากลขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่ง

ศ. นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา
คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Pin It on Pinterest

Shares
Share This