Nives Vaseenon, Vice President Interview

โรงเรียนสถาปัตย์สอนให้เราคิด เราเรียนออกแบบมาเราไม่เคยจนมุมไม่เคยที่จะออกแบบไม่ได้ เราไม่ต้องออกแบบสถาปัตยกรรมก็ได้ เราออกแบบโลก ออกแบบบ้าน ออกแบบงานอื่นๆ ได้หมด เพราะฉะนั้นเราต้องออกแบบ mindset ของเราใหม่ ต้องคิดว่าโควิดอาจจะไม่หายไปจากโลก แล้วเราต้องทำงานอย่างไรให้อยู่กับมันได้ ผมว่าสเกลของออฟฟิศสถาปนิกก็อาจจะปรับเปลี่ยนด้วย เพราะอย่างนี้ ผมมองว่าการทำงานวิชาชีพในแง่ของการออกแบบหรือวิชาชีพสถาปนิกนี้ ไม่มีทางตัน

Text: ASA Journal
Photo courtesy of the architect
รูปภาพคุณนิเวศน์ วะสีนนท์
Photo courtesy of the architect

อาษา: อยากให้ท่านอุปนายกช่วยพูดถึงนโยบาย และวิสัยทัศน์ของฝ่ายวิชาชีพของคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดนี้

นิเวศน์ วะสีนนท์: ข้อแรกเลยคณะกรรมการชุดนี้เข้ามาพร้อมกับวิกฤตในทุกๆ เรื่อง ในเรื่องของเงินสะสมก็ไม่มี เพราะติดการจัดงานไม่ได้ สอง พอเราเริ่มเป็นคณะกรรมการขึ้นมาก็มีโควิดพอดี เพราะฉะนั้นเราก็ได้คุยกันในคณะกรรมการและในฐานะที่ผม ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องวิชาชีพ เราก็เน้นไปในทิศทางที่ว่าเราพยายามช่วยเหลือสมาชิกก่อน จะทำอย่างไรให้สมาชิกมีรายได้ มีปัจจัยที่จะรอดให้ได้ก่อน แล้วค่อยไปว่ากันในเรื่องของการพัฒนาวิชาชีพ เราเลยเน้นไปที่ว่าทำอย่างไรสมาชิกจึงจะมีหนทางในการทำงานเพิ่มขึ้นนอกจากออกแบบอย่างเดียว แล้วก็พยายามแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในสิ่งที่มันเป็นมานานแล้ว หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากช่วงโควิด ก็มีแนวทางที่เป็นไปได้สูงที่จะช่วยสมาชิกได้พอสมควร ซึ่งแน่นอนว่าช่วงนี้ทำงานลำาบากมาก เผลอๆ ไปก็จะครบวาระแล้ว เราเลยคุยกับคณะกรรมการว่าเรื่องสำคัญ คือเราต้องวางรากฐานให้คณะกรรมการบริหารสมาคมชุดต่อไปที่จะเข้ามา ส่วนตอนนี้ก็คิดเรื่องที่จะทำให้สมาชิก มีรายได้เพียงพอไปก่อน เรามีสมาชิก 2-3 หมื่นคน ทำางานจริงไม่ถึง 20% ตรงนี้เราก็ต้องพยายามหาทางออกกันอีกครั้งว่าจะช่วยกันอย่างไร

อาษา: จากจุดประสงค์ที่ต้องการเข้ามาช่วยเหลือสมาชิกในช่วงวิกฤต ทางคณะกรรมการได้มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้อย่างไรบ้าง

นิเวศน์ วะสีนนท์: จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมมองว่าถ้าทุกคนทำงานออกแบบกันอย่างเดียวกว่า 2-3 หมื่นคน ก็อาจไปไม่รอด เราเลยพยายามหาช่องทางให้สถาปนิกสามารถไปทำงานข้างเคียงอย่างอื่นได้ด้วย เช่น เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นที่ปรึกษาต่างๆ ซึ่งจะทำาให้วิชาชีพเรามีหนทางในการประกอบการวิชาชีพได้มากขึ้น นอกเหนือจากงานออกแบบ โครงการพัฒนาวิชาชีพฯ จึงเป็นโครงการที่เราพยายามนำเสนอ เพื่อให้สถาปนิกสามารถเข้าไปทำงานในส่วนที่ต้องการหรือทำงานเป็นที่ปรึกษาได้ ซึ่งในปัจจุบันและอนาคตจะมีงานประเภทนี้มากขึ้นเรื่อยๆแต่ปัจจุบันสถาปนิกเรายังไม่ค่อยมีโอกาสได้พัฒนาในส่วนนี้ เราจึงอยู่ในกระบวนการพัฒนาเป็นหลักสูตรขึ้นมาเพื่อให้น้องๆ สถาปนิกรุ่นใหม่เข้าร่วมอบรมหรือมาเรียนรู้เพื่อไปเป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยมีอยู่ 6-7 ประเภท ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ ด้านความปลอดภัยอาคาร ด้าน BIM ด้านนวัตกรรม ด้าน Universal ด้านเสียงและด้านแสง/แดด/ลม เป็นต้น ถ้ามีผู้เข้าร่วมโครงการประเภทละ 100 คน ก็จะเกิดการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ กว่า 700 คน ขึ้นมา

ตอนนี้กำลังวางหลักการและจัดหาบุคลากรที่จะมาสอนหรืออบรมอยู่ ซึ่งส่วนนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2564 นี้ รวมถึงกระบวนการด้านการรับรองในฐานะที่เราจะเข้ามารับบทบาทเป็นผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านก็จำเป็นจะต้องได้การรองรับด้วยกระบวนการทางข้าราชการ เพื่อให้มีสถานะเป็นผู้เชี่ยวชาญและสามารถปฏิบัติงานได้จริง เพราะในปัจจุบันก็ยังมีข้อกฎหมายบางข้อที่ตีความแล้วทำให้การทำงานบางประเภทของสถาปนิกรุ่นใหม่นั้นไม่สามารถกระทำาได้ ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดในสายวิชาชีพและอาจทำให้ไม่สอดคล้องไปตามหลักสูตรที่วางไว้ ตรงนี้เราก็ต้องค่อยๆ ปรับและประสานงานไปตามลำดับ ซึ่งจะพยายามทำให้สำเร็จภายในปีนี้

อาษา: จากสถานการณ์ โควิด-19 ที่เกิดขึ้น ในแง่ของการประกอบวิชาชีพ ในฐานะอุปนายกฝ่ายวิชาชีพได้มีการรับฟังหรือมีความเป็นห่วงต่อสถาปนิกที่กำลังรับมือกับสถานการณ์ครั้งนี้อย่างไรบ้าง รวมไปถึงสถาปนิกจบใหม่ด้วย

นิเวศน์ วะสีนนท์: โรงเรียนสถาปัตย์สอนให้เราคิด เราเรียนออกแบบมาเราไม่เคยจนมุมนะ ไม่เคยที่จะออกแบบไม่ได้ เราไม่ต้องออกแบบสถาปัตยกรรมก็ได้ เราออกแบบโลก ออกแบบบ้าน ออกแบบงานอื่นๆได้หมด เพราะฉะนั้น เราต้องออกแบบ mindset ของเราใหม่ ต้องคิดว่าโควิดอาจจะไม่หายไปจากโลก แล้วเราต้องทำงานอย่างไรให้อยู่กับมันได้ แม้แต่ออฟฟิศในเมืองไทยก็ work from home กัน ผมว่าสเกลของออฟฟิศสถาปนิกก็อาจจะปรับเปลี่ยนด้วย เพราะอย่างนี้ ผมมองว่าการทำงานวิชาชีพในแง่ของการออกแบบหรือวิชาชีพสถาปนิกนี้ไม่มีทางตัน เพียงแต่ตลาดของการออกแบบอาจจะเปลี่ยนไปจากเดิมปัจจุบันบางออฟฟิศงานล้น บางออฟฟิศก็รับคนเพิ่ม ซึ่งสวนทากับโลกที่เป็นอยู่ เพราะยังไงมนุษย์ก็ต้องกินต้องอยู่ และทุกๆ กระบวนการต้องการสถาปนิกที่จะเข้ามาทำงาน ทุกโครงการต้องการสมองของพวกเรา ปัจจุบันงานรีโนเวท งานปรับปรุงอาคารก็เริ่มมีเข้ามาเรื่อยๆนี่อาจจะเป็นตลาดใหม่ของสถาปนิก พวกเราต้องสู้ ถึงแม้ช่วงนี้จะทำงานยากมากขึ้น

อาษา: ในมุมของผู้ที่เคยผ่านวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 มาก่อน คิดว่าหลักการเอาตัวรอดในวิชาชีพครั้งนั้นสามารถนำมาปรับใช้กับวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ ได้บ้างไหม

นิเวศน์ วะสีนนท์: ช่วงปี 2540 นั้นต้องมองว่ามันเกิดปัญหาที่ประเทศของเรา แต่โควิดนี้เกิดทั้งโลก เพราะฉะนั้น สมัยปี 2540 เรายังมีลูกค้าที่มีเงินเข้ามาซื้อ ซึ่งสมัยก่อนเป็นตลาดของอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ เป็นตลาดของคนต่างประเทศที่ยังมีความต้องการอยู่ แต่แน่นอนว่าเมื่อตลาดขนาดเล็ก ของก็น้อยลง กับปัจจุบันนี้คือต่างจากครั้งที่แล้วนะ เพราะตอนนี้ตลาดใหญ่ไม่มี แต่ตลาดเล็กยังมี ซึ่งโควิดก็ดีอย่างนะ เพราะทำให้ทุกคน set zero เท่ากัน ทุกคนใช้เงินน้อยลง พอ work from home เราก็มีเงินเหลือมากขึ้น บัตรก็รูดน้อยลง คนก็จะมีเงินมากพอที่จะปรับเปลี่ยนปรับปรุง ในฐานะที่เป็นสถาปนิก ผมคิดว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่นี้ก็อาจเป็นข้อดีของสถาปนิกทุกรุ่นเลย ไม่มีใครได้เปรียบซึ่งกันและกันเลย ประสบการณ์ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญเพียงอย่างเดียว เช่น ปัจจุบันมีตลาดต้นไม้ ใครจะไปคิดว่าบางต้นจะราคาสูงเป็นแสน มีใครลองคิดไหมว่าถ้าลองเอามาขายในตึกใหญ่ๆ เปิดเป็นตลาดลอยฟ้าอะไรแบบนั้น ผมมองว่าดูเท่มาก เพราะฉะนั้น โควิดทำให้เกิดโอกาสที่เท่าเทียมกัน ถ้าเราไม่ได้ไปวิตกจริตกับเรื่องอื่นๆ วิกฤต 2540 ตอนนั้นออฟฟิศยังน้อย แต่ระยะไม่ยาว ขณะที่โควิดนี่อาจจะอีกยาวมาก แต่ตลาดมีหลากหลายมากกว่า

บรรยากาศการประชุมของคณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกสยามฯ
Photo courtesy of the architect

อาษา: ทิศทางการประกอบวิชาชีพสถาปนิก และวงการสถาปัตยกรรมไทยในอนาคตอันใกล้นี้จะเป็นอย่างไร

นิเวศน์ วะสีนนท์: ลองดูงานโอลิมปิกที่ญี่ปุ่น ผมว่านั่นคือการตอบโจทย์งานออกแบบช่วงโควิดญี่ปุ่นก็คือญี่ป่น เพราะเขาคิดดีเทลกันแทบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นวัสดุและการใช้ความร่วมมือของทุกคนในชาติ เราจะเห็นว่ามันไม่ได้มี super structure คือไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขนาดใหญ่ เพราะมนุษย์จริงๆ แล้วควรร่วมมือกัน ซึ่งนี่แหละจะเป็นทิศทางของโลกในอนาคต แต่เราจะมาร่วมมือกันยังไงให้เข้ากับยุคสมัยของ new normal ตรงนี้แหละที่เราต้องมาคิดกันต่อ ว่ารูปแบบของงานสถาปัตยกรรมในอนาคตควรจะเป็นยังไง ใช้ความสามารถของแต่ละสาขาอย่างไร การดีไซน์ควรเป็นยังไง อนาคตอาจมีการใช้เทคโนโลยีมากๆ สั่งวัสดุจากเมืองนอกก็อาจจะมาไม่ได้ เราควรใช้ต้นทุนที่เรามีถ้าใครทำได้ผมว่าเก่ง เหมือนญี่ปุ่น ผมว่าเก่ง

อาษา: จากประเด็นเกี่ยวกับการขอใบรับรองอนุญาตวิชาชีพกับระเบียบใหม่ของทางสภาฯ สมาคมได้ข้องเกี่ยวอย่างไร และมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง

นิเวศน์ วะสีนนท์: สมาคมเราตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งของสถาปนิกแต่ไม่ได้มีกฎหมายรองรับ เราไม่สามารถไปกำหนดตัวบทกฎหมายได้เพราะคนกำหนดจะเป็นสภาฯ แต่ในฐานะของสมาคม เราเห็นว่าปัจจุบันก็มีกฎบางข้อที่เราไม่ค่อยเห็นด้วย ซึ่งทางเราก็ทำการฟ้องศาลปกครองไปแล้ว สำาหรับกฎหมายข้อที่ไม่เป็นธรรม เราฟ้องศาลปกครองและศาลรับฟ้องแล้ว ตอนนี้ศาลกำลังพิจารณา ฉะนั้นกระบวนการที่จะเก็บเงินก็ต้องการให้งดหรือหยุดไว้ก่อน ตอนนี้ทางเรากำลังประสานงานกับทางสภาสถาปนิกฯ ทางสภาวิศวกร และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้มีน้ำหนักในการนำไปพูดคุยกับทางมหาดไทย ซึ่งเป็นต้นเรื่อง เพราะกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่กระทรวงมหาดไทยออกมา ทั้งของสถาปนิกและวิศวกรพร้อมๆ กัน จึงทำให้มีผลกระทบต่อเรา ตอนนี้สภาฯ จึงขอประวิงเวลากันไปก่อนอาจจะใช้เวลาสัก 1-2 ปี ที่ก็ยังอยู่ในกระบวนการชั้นศาลอยู่ เราพยายามช่วยอยู่

อาษา: ในส่วนของวิชาชีพ สิ่งที่คณะกรรมการบริหารสมาคมชุดนี้ ได้วางไว้ มีโครงการอะไรบ้างที่ได้ทำไปแล้ว และกำลังจะทำในอนาคต

นิเวศน์ วะสีนนท์: เรื่องที่เรากำลังทำกันอยู่ในปัจจุบันก็คือการลดค่าใช้จ่ายสมาชิก เราจะไม่เก็บค่าสมาชิกในช่วงนี้ หรือการต่อใบอนุญาตก็อาจจะไม่เก็บเงิน เพื่อที่สมาชิกจะไม่ต้องเสียเงิน รวมถึงพยายามจะตั้งกลุ่มทำงานขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องโควิด เช่น เรากำลังจะรวบรวมสมาชิกและหาสถานที่ฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นโควตาของทางสมาคมและตั้งคณะกรรมการเข้ามาช่วยเรื่องของสมาชิกที่ประสบปัญหาจากโควิด หรือเรื่องโรงพยาบาลสนาม ที่เราอยากเข้าไปช่วย ซึ่งเรากำลังจัดทำกันอยู่ในปัจจุบัน สามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์และเพจของทางสมาคมฯ เพิ่มเติมได้ จะมีรายละเอียดประกอบครบถ้วน ในส่วนของโครงการจัดทำ TOR โครงการนี้ได้ทำมาตั้งแต่คณะกรรมการชุดที่แล้วทางชุดเราเข้ามาประสานงานต่อให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตอนนี้สมาคมฯ ได้มอบหมายให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปากร จัดทำเป็นต้นแบบของโครงการนี้โดยพยายามทำให้สถาปนิกทุกระดับมีโอกาสทำงานประกวดแบบต่างๆ ของทางราชการ และได้ประสานกับทางกรมบัญชีกลางเพื่อให้เอาไปปฏิบัติใช้งานจริงได้ด้วย ทั้งหมดนี้จะเสร็จเรียบร้อยภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ ถ้าเรียบร้อยแล้วจะมีการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทุกคนได้รับทราบอีกครั้ง แต่อย่างที่บอกว่าคณะกรรมการชุดผมก็กำลังจะหมดวาระแล้ว เราคงทำได้แค่ระดับหนึ่ง

สมาคมเราตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่งของสถาปนิกแต่ไม่ได้มีกฎหมายรองรับ เราไม่สามารถไปกำหนดตัวบทกฎหมายได้ แต่ในฐานะของสมาคม เราเห็นว่าปัจจุบันก็มีกฎบางข้อที่เราไม่ค่อยเห็นด้วย ซึ่งทางเราก็ทำการฟ้องศาลปกครองไปแล้ว สำหรับกฎหมายข้อที่ไม่เป็นธรรม เราฟ้องศาลปกครองและศาลรับฟ้องแล้วตอนนี้ศาลกำลังพิจารณา

นิเวศน์ วะสีนนท์

อาษา: ช่วยทิ้งท้ายถึงผู้ที่กำลังอยู่บนเส้นทางวิชาชีพสถาปนิกสักนิดได้ไหม

นิเวศน์ วะสีนนท์ : ผมมองอย่างนี้นะ ไม่ว่าโลกของเราจะมีโควิดหรือมีอะไรก็ตาม ผมอยากให้เรายึดมั่นอุดมการณ์ในวันที่เรากำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย ตอนคุณเรียนมัธยมคุณอยากเข้าเรียนสถาปัตย์เพราะอะไร ลองเอาตัวนั้นเป็นที่ตั้ง ถึงแม้เราเรียนไปอุดมการณ์จะลดลงก็ตาม(หัวเราะ) แต่ถ้าเรายึดมั่นในอุดมการณ์ว่าอยากจะเป็นสถาปนิก ผมว่าตรงนี้จะช่วยเป็นน้ำเลี้ยงจิตใจและทำให้เราสู้ต่อไปได้ เราจะบอกว่าโอเค ในช่วงชีวิตตรงนี้เป็นสิ่งที่บั่นทอนชีวิต หมดโอกาสในการทำงานอะไรก็ตาม ผมว่าต้องคิดใหม่ เราลองมองว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายชีวิต จะมีสักกี่ครั้งที่โรคระบาดทั่วโลก ถ้าเราปรับตัวได้ สู้ได้ เราก็ทำงานได้ ต่อให้มีอะไรอื่นต่อจากนี้ผมว่าเราก็จะผ่านไปได้ทุกอย่าง อยากให้นึกถึงตอนที่เราอยากจะเข้ามาทำงานนี้และเอาสิ่งนั้นมาหล่อเลี้ยงจิตใจเราให้ได้ ผมทำงานตรงนี้มา 40 ปี ผ่านหลายสถานการณ์ ผมว่าเราก็อยู่ได้ถ้าเราไม่ท้อกับมันไปเสียก่อน อยากฝากสถาปนิกทุกท่าน รวมทั้งน้องๆสถาปนิกรุ่นใหม่ว่าไม่ว่าโลกจะเป็นยังไง ปัจจัยสี่ของมนุษย์ ก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม วิชาชีพสถาปนิกสามารถเข้ามา support ได้ 3-4 ปัจจัยเลยนะ ฉะนั้น อาชีพนี้มันจำเป็นแน่นอน ช่องทางเหล่านี้ทำให้วิชาชีพนี้เป็นวิชาชีพที่น่าภาคภูมิใจ และเมื่อเราทำแล้วเสร็จ ผลงานของเราก็จะอยู่ไปอีกหลายสิบปี ผมว่าความภูมิใจมันอยู่ตรงนั้นนะ ถ้าเรามองแบบนี้ อาจช่วยให้เราอยู่ได้ และอยู่รอดไปได้ ฝากแค่ว่าอย่าท้อ เพราะยังไงอาชีพสถาปนิกก็ยังอยู่คู่กับโลกของเรา

อ่านบทความจากคอลัมน์อื่นๆ หรือดาวน์โหลดเล่มวารสารฉบับออนไลน์ 02 More Than Skin คลิกได้ที่นี่

Pin It on Pinterest

Shares
Share This