One Day with an Architect: One Day in a Migration Camp

เรื่อง: ปวริศ คงทอง
ภาพ: -.-

ภาพบรรยากาศการทำงานของหวาน-สุภณา โสภณพนิช

“…ความสามารถของคนในขณะที่ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย มันน่าทึ่ง น่ายกย่องเสมอ…”
หวาน-สุภณา โสภณพนิช

ภาพบรรยากาศการทำงานของหวาน-สุภณา โสภณพนิช

ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่ยุคโบราณบ้านเรือนหรือที่พักอาศัยมีหน้าที่หลักเป็นที่หลบแดดหลบฝนหรือป้องกันมนุษย์จากอันตรายต่าง ๆ นอกจากคนไร้บ้านแล้ว คนอีกกลุ่มที่มีปัญหาด้านที่พักอาศัยมากที่สุด อาจจะเป็นเหล่าผู้ประสบภัยที่จำต้องย้ายออกจากที่พักพิง ไม่ว่าจะด้วยความขัดแย้งภายในประเทศ ไฟสงคราม หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ภาพบรรยากาศการทำงานของหวาน-สุภณา โสภณพนิช

วันนี้ทีมงาน ASA CREW ชวนคุณหวาน-สุภณา โสภณพนิช ผู้ที่ผันตัวจากการเป็นสถาปนิกทำงานด้านชุมชนไปเป็นที่ปรึกษาด้านที่พักอาศัยให้องค์กรที่ให้การช่วยเหลือแก่เหล่าผู้ประสบภัยอย่าง IOM (International Organization for Migration) มาเล่าถึงหนึ่งวันในการทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในค่ายพักพิง

ภาพบรรยากาศการทำงานของหวาน-สุภณา โสภณพนิช

คุณสุภณาเล่าให้ทีมงานฟังว่าเริ่มต้นการทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งแรกในถานะอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่และสึนามิเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2547

ภาพบรรยากาศการทำงานของหวาน-สุภณา โสภณพนิช

“ตอนนั้นเกิดสึนามิครั้งใหญ่ เพื่อนที่รู้จักกันชวนไปเป็นอาสาสมัครที่เขาหลัก หวานอยู่เขาหลักประมาณ 2-3 สัปดาห์ ทำงานจัดการข้อมูลของศพ จนไปเป็นช่างภาพให้กับทีมหมอฟันอาสาจากกรุงเทพ ต่อมามีคุณแม่ของเพื่อนแนะนำว่า ทำไมไม่อาสาเป็นสถาปนิกล่ะ หวานก็เลยย้ายไปที่เกาะลันตาไปทำงานกับน้องสถาปนิกอีก 2 คน เพราะที่นั่นมีการเริ่มซ่อมแซมและสร้างบ้านก่อนที่อื่น”

ภาพบรรยากาศการทำงานของหวาน-สุภณา โสภณพนิช

หลังจากทำงานอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิแล้ว คุณสุภณาเดินทางกลับไปทำงานต่อที่ประเทศอังกฤษ แต่ยังมีความสนใจที่จะทำงานด้านการช่วยเหลือต่อ จึงตัดสินใจทำงานสายสถาปนิกชุมชนและได้ย้ายกลับมาทำงานที่ประเทศไทยเกือบปี แล้วจึงออกมาตั้ง OPENSPACE กับเพื่อนๆ จนกระทั่งเกิดเหตุภัยพิบัติไซโคลนนากิสถล่มประเทศเมียนมาร์ เธอจึงได้กลับไปทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยเต็มตัวอีกครั้งหนึ่ง

ภาพบรรยากาศการทำงานของหวาน-สุภณา โสภณพนิช

งานในศูนย์พักพิงที่มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับความต้องการหรือสถาณการณ์ขณะนั้น แต่คุณสุภณาเล่าให้เราฟังว่าในช่วง 4–5 ปีมานี้เธอกลับมาสนใจงานในระดับชุมชนมากขึ้น จึงหันมาทำงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์พักพิง (Camp Management or Collective Center Management) ซึ่งประกอบด้วย ระบบการปกครองตนเองและการมีส่วนร่วม การประสานการรับและการกระจายความช่วยเหลือ การปรับปรุงและดูแลรักษาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย และการเรียกร้องให้มีการหาทางออกระยะยาวสำหรับผู้พลัดถิ่นหรือผู้ประสบภัย

ภาพบรรยากาศการทำงานของหวาน-สุภณา โสภณพนิช

“งานบางทีก็เป็นการช่วยสนับสนุนรัฐในหน้าที่ด้านนี้ หวานเคยทำโครงการที่เมืองไทยตอนหลังน้ำท่วมใหญ่ แต่ส่วนมากถ้าเป็นภัยธรรมชาติมันอาจจะฟังแล้วเกิดสงสัยว่า ทำไมจะต้องทำด้วย เพระอายุการใช้งานศูนย์อาจจะเป็นแค่ระยะสั้น แต่ประเทศที่เราทำงานด้วยตอนนี้ส่วนมากมีการพลัดถิ่นระยะยาว ซึ่งมักเป็นผลจากความขัดแย้งภายในประเทศเสียส่วนใหญ่”

ภาพบรรยากาศการทำงานของหวาน-สุภณา โสภณพนิช

งานในศูนย์พักพิงที่คุณสุภณาเล่าให้ฟังอาจจะแตกต่างจากภาพที่คนทั่วไปเข้าใจอยู่บ้าง เพราะคุณสุภณาเล่าว่าหน้าที่ของเธอในการทำงานส่วนใหญ่เป็นการประชุมเพื่อหาจุดร่วมกันระหว่างความต้องการการช่วยเหลือ สิทธิมนุษยชน และความสามารถที่องค์กรต่าง ๆ สามารถยื่นมือเข้าไปช่วยได้ โดยงานทั้งหมดนี้จะดำเนินการในสำนักงานใหญ่ที่เจนีวาก่อน แล้วจึงเดินทางไปยังค่ายหรือศูนย์พักพิง อย่างเช่นเหตุการณ์การโยกย้ายของชาวโรฮิงญาที่บังกลาเทศเมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้

ภาพบรรยากาศการทำงานของหวาน-สุภณา โสภณพนิช

คำถามทิ้งท้ายที่ทีมงานถามคุณสุภณาคือการลงพื้นที่ครั้งไหนที่คุณสุภณามีความประทับใจมากที่สุดเมื่องานลุล่วง

ภาพบรรยากาศการทำงานของหวาน-สุภณา โสภณพนิช

“ทุกครั้งที่ลงพื้นที่เลยค่ะ ความสามารถของคนในขณะที่ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย มันน่าทึ่ง น่ายกย่องเสมอ หวานคิดว่าเราโชคดีนะที่ได้มาเห็น และมีส่วนในการช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่เขาดีขึ้นบ้าง แม้สุดท้ายแล้วมันจะน้อยมากก็ตาม”

Pin It on Pinterest

Shares
Share This