ASA International Forum 2024

“Critical Regionalism” emerges as the pivotal theme at the 2024 ASA International Forum. The architectural discourse, which probes the depths of modernist and regionalist doctrines, was originated by the esteemed British architect and critic Kenneth Frampton.
Text: Bhumibhat Promboot

“Critical Regionalism” หรือภูมิภาคนิยมเชิงวิพากษ์ หัวข้อหลักของ ASA International Forum ประจำปี 2024 นี้ เป็นแนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากการตั้งคำถามต่อสถาปัตยกรรมในยุคสมัยใหม่นิยม (Modernism) และภูมิภาคนิยม (Regionalism) โดย Kenneth Frampton สถาปนิกและนักวิจารณ์ชาวอังกฤษ ได้ให้นิยามขององค์ประกอบของ Critical Regionalism ในหนังสือ “Towards a Critical Regionalism: Six Points for an Architecture of Resistance” ไว้ตั้งแต่ปี 1983 ว่าเป็นการศึกษาและการออกแบบสถาปัตยกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แสง และการก่อสร้างที่มุ่งเน้นในการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางการสัมผัสมากกว่าการมอง โดยที่ตอบสนองและมีรูปแบบที่อิงกันกับความเป็นถิ่นที่ และตำแหน่งที่ตั้งมากขึ้น โดยที่ภูมิภาคนิยมเชิงวิพากษ์เน้นการสร้างสำนึกแห่งสถานที่ (sense of place) และสร้างอัตลักษณ์ (identity) ให้กับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (modern architecture) ซึ่งที่ผ่านมา สถาปนิกที่ทำงานออกแบบและได้สะท้อนแนวคิด Critical Regionalism นี้ ได้แก่ Geoffrey Bawa, Glenn Murcutt, Balkrishna Doshi, Minnette de Silva เป็นต้น สำหรับเวที ASA International Forum ครั้งนี้ จึงเป็นการสำรวจและตั้งคำถามกับแนวคิด “Critical Regionalism” หรือภูมิภาคนิยมเชิงวิพากษ์ ว่ายังคงมีความเกี่ยวข้องกับบริบทของการออกแบบในยุคสมัยนี้หรือไม่ อย่างไร ผ่านการถ่ายทอดเรื่องราว แนวคิดการออกแบบ และประสบการณ์ในหลากหลายแง่มุม จาก 6 สถาปนิกจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

Architecture Language
Marina Tabassum/ Marina Tabassum Architects

บังกลาเทศเป็นประเทศที่รวมความหลากหลายทางปรากฏการณ์บนพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยแม่น้ำหลากหลายสาย ที่บรรจบกันกับพื้นแผ่นดิน สำหรับ Marina Tabassum หนึ่งในสถาปนิกชาวบังกลาเทศ ซึ่งเป็นที่รู้จัก และถูกกล่าวถึงอยู่บ่อย ๆ มีความสนใจในระบบระเบียบที่สะท้อนกระบวนทัศน์ของความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน และพื้นที่ โดยได้ยกอย่างผลงาน Khudi Bari ที่ออกแบบเป็นสถานพักพิงชั่วคราว ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำเมห์นา Marina ได้ออกแบบเป็นบ้านยกระดับสองชั้นด้วยโครงสร้างไม้ไผ่และเหล็กถอดประกอบได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ว่าด้วยความท้าทายด้านสภาพอากาศ และภูมิศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด จึงต้องอาศัยความร่วมมือ การสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยการสนับสนุนจากองค์กรและท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้

Marina Tabassum ยังสนใจในการใช้แสงในการเป็นภาษาทางการออกแบบโดยสะท้อนความสัมพันธ์ที่หลากหลาย อย่างโปรเจ็กต์ Bait Ur Rouf Mosque ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงธากา ชุมชนที่เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยจำนวนครัวเรือนที่โตขึ้นอย่างก้าวกระโดด พื้นที่ตั้งอาคารถูกขนาบข้างด้วยถนนทำมุมองศา ฉะนั้นตัวอาคารจึงเป็นรูปทรงคล้ายลูกบาศก์ปิดทึบ ที่มีช่องแสงบางส่วนให้เล็ดลอดผ่านไปได้ โดยพื้นที่ภายในต้องการสื่อถึงเรื่องราว และพิธีการของศาสนาอิสลาม ผ่านองค์ประกอบอาคารที่ค่อย ๆ ไล่เรียงช่องแสงไปตามส่วนต่าง ๆ ของตัวอาคารอย่างประณีต และยังมีการเลือกใช้อิฐพรุน และช่องเปิดสู่ท้องฟ้า เพื่อให้แน่ใจว่ามีการระบายอากาศตามธรรมชาติเพื่อสอดรับไปกับบริบทของพื้นที่ ซึ่งผลงานนี้ได้รับรางวัล The Aga Khan Award for Architecture (ในรอบปี 2014-2016)

ในมุมมอง Critical Regionalism ของ Marina Tabassum นั้น สถาปัตยกรรมจะต้องทำงานผ่านความเข้าใจ ในสถานที่ตั้ง ภูมิศาสตร์ สภาพอากาศ หรือแม้แต่ปรากฏการณ์ระหว่างโลก และดวงอาทิตย์ เพื่อสะท้อนการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมและความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ เวลา สภาวะ และการเมืองผ่านการเปลี่ยนแปลง และวิวัฒนาการตนเองอยู่เสมอ กล่าวคือทุกครั้งในการเริ่มต้นโปรเจ็กต์ Marina มักเริ่มจากเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับ ณ สถานที่และพูดคุยกับคนท้องถิ่นเพื่อเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์บนพื้นฐานคำตอบ คำถามว่าด้วยความสัมพันธ์ของบริบทที่ตั้ง ชุมชน วัฒนธรรม วิถีที่จะต้องเชื่อมต่อเข้าหากัน ผ่านรูปแบบและพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม

ARCHITECTURE AND CONTEXT
ANTOINE CHAAYA/ RENZO PIANO BUILDING WORKSHOP

ภาษาคือสื่อกลางภายใต้บริบทที่หลากความสัมพันธ์ที่แปรเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา สถานที่และสภาพแวดล้อม Antoine Chaaya สถาปนิก หุ้นส่วน และผู้อำนวยการ Renzo Piano Building Workshop เริ่มต้นบรรยายด้วยแนวคิดว่าด้วยเรื่องขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ที่ไม่ใช่เพียงแค่รูปภายนอก แต่เป็นการรวบรวมองค์ประกอบที่หลากหลาย ทั้งในทางตรง เช่น เมืองและสิ่งแวดล้อม และทางอ้อม เช่น สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการเมืองเข้าไว้ด้วยกัน โดยอิงจากคำบอกกล่าวของ Antoine Chaaya ที่ว่า “ตัวอาคารก็เปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์ มีความเป็นองค์รวม ไม่แบ่งแยก โดยทุกส่วนสัมพันธ์และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน” (The Building is like a human being. It has its own integrity.) ผ่านบริบทที่ตั้ง ที่ช่วยสร้างสัมผัสให้ตัวอาคารเกิดความเป็นถิ่นที่ (Sense of place) ขึ้นมา

Antoine Chaaya เริ่มต้นด้วยการบรรยายอาคาร Centre Culturel Jean-Marie Tjibaou Nouméa, 1998 ที่องค์ประกอบของอาคารคือการผสมผสานองค์ประกอบทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ประเพณีของชาวคานาค (Kanak) ซึ่งใช้เทคโนโลยีทางอาคารที่เหมาะสมกับธรรมชาติแวดล้อม โดยผังอาคารถูกจัดเป็นกลุ่มของ “กระท่อม” รูปแบบครึ่งวงกลม ที่ดัดแปลงและแปลความจากรูปแบบดั้งเดิมของชาวคานาค และตามด้วยผลงาน Cultural Powerhouse ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ต้องการเปลี่ยนบริบทพื้นที่โรงไฟฟ้าร้าง ให้กลายเป็นศูนย์วัฒนธรรมแห่งใหม่ พร้อมกับนำระบบการหมุนเวียนพลังงานต่าง ๆ ทั้งแสงอาทิตย์ และลมเข้ามาใช้ภายในตัวอาคาร Antoine Chaaya ยังได้บรรยายผลงานของ RPBW ในอีกหลาย ๆ ประเทศ ในหลายทวีป ทั้งผลงานในเบอร์ลินอย่างย่าน Potsdamer Platz ที่บริบทพื้นที่เดิมเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์จากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งต้องออกแบบ และวางผังให้สัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมที่สำคัญในเบอร์ลินโดยรอบพื้นที่อย่าง Neue Staatsbibliothek ผลงานของ Hans Scharoun สถาปนิกยุคโมเดิร์นชาวเยอรมัน หรือผลงาน Pathe Foundation ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ตัวอาคารแห่งใหม่ต้องเข้าไปผนวกกับตัวอาคารประวัติศาสตร์เดิม

เห็นได้ชัดว่า Antoine Chaaya ได้นำเสนอรูปแบบของสถาปัตยกรรมในหลาย ๆ บริบท ที่มาจากหลากหลายประเทศและหลากหลายทวีป เพื่อทำความเข้าใจ ค้นหาและนำเสนอเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของผู้คน ชุมชนผ่านตัววัสดุสมัยใหม่ และใช้ลวดลายของพื้นที่มาเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ที่ไปด้วยกันกับเทคโนโลยีอาคารสมัยใหม่ ซึ่งก่อเกิดต่อยอดในการเริ่มต้นโครงการใหม่ ๆ ขึ้นมา ตามที่เขาได้บอกกล่าว

SOCIO-CLIMATE SPACES
DALIANA SURYAWINATA & FLORIAN HEINZELMANN / SHAU

สองสถาปนิกที่มีภูมิหลังที่ต่างกัน โดยผ่านการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ในที่ที่มีความหลายหลายทางวัฒนธรรม Daliana Suryawinata จากอินโดนีเซีย และ Florian Heinzelmann จากเยอรมนี ทั้งคู่พบกันที่เนเธอร์แลนด์ ก่อนที่จะตัดสินใจก่อตั้งสำนักงานออกแบบ SHAU ขึ้นในปี 2009 ที่รอตเทอร์ดัม และมิวนิค และในปี 2012 ก็ได้เปิดสำนักงานเพิ่มที่จาร์กาต้า ก่อนย้ายมาที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีความตั้งใจที่จะใช้การออกแบบเพื่อตอบสนองพื้นที่ทางสังคม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน

พื้นที่ทางสังคม วัฒนธรรม สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่หลากหลายในประเทศอินโดนีเซีย ที่ประกอบไปด้วยหมู่เกาะนับหมื่นเกาะ และเกาะที่มีผู้อยู่อาศัยเฉลี่ยประมาณหกพันเกาะ มีความแตกต่างทั้งทางด้านภาษา อาหาร วัฒนธรรม ที่มากมาย กระบวนการทางสถาปัตยกรรมของ SHAU จึงต้องการให้สถาปัตยกรรมเป็นตัวประสานความหลากหลายเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน ในอีกทางหนึ่ง สถาปัตยกรรมของ SHAU ก็ต้องไว และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อสอดรับกับประเด็นเรื่อง Critical Regionalism บนบริบทพื้นฐาน เช่น ที่ตั้ง แสงธรรมชาติ ทิศทางลม ภูมิทัศน์ การใช้วัสดุคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Material) การประหยัดพลังงาน ลดการใช้ไฟฟ้า และที่สำคัญคือ ชุมชนและสังคมโดยรอบ ที่ไม่เพียงแค่การออกแบบอย่างให้ความสำคัญ แต่เป็นการสร้างความร่วมมือกันทั้งการออกแบบ จัดการพื้นที่ หรือร่วมกันดูแล และเป็นเจ้าของ

สถาปัตยกรรมของ SHAU จึงต้องเข้าใจได้ง่าย สุขใจ และสบายกาย ดังที่ Daliana และ Florian ได้หยิบยกเอาผลงาน Micro Library หลายชิ้นมานำเสนอ โดย Micro Library ในแต่ละพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซียจึงมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านรูปร่าง รูปทรง วัสดุ บริบทชุมชน และสังคม ผ่านกระบวนการทำงานออกแบบใช้งาน และดูแลกันอย่างมีส่วนร่วม สถาปัตยกรรมของ SHAU จึงไม่ได้พูดถึงแค่ขอบเขตงานออกแบบเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาถึงผลกระทบในอนาคตที่ตามมาด้วยเช่นกัน อีกหนึ่งผลงานที่เห็นได้เด่นชัด ก็คือ Huma Betang Umai, Vice Presidential Palace ที่รูปแบบอาคารได้ถูกแปล และตีความมาจาก Dayak Long House เรือนพื้นถิ่นของชาว Dayak บนเกาะบอร์เนียว โดยได้รื้อภาพลักษณ์ของอาคารราชการแบบดั้งเดิม ด้วยการนำเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพื้นที่ มาประสานกับเทคโนโลยีอาคารสมัยใหม่ เพื่อตอบสนองกับกระแสความเปลี่ยนแปลง ทำให้อาคาร Huma Betang Umai เป็นอาคารประหยัดพลังงาน ที่นำพลังงานจากธรรมชาติเข้ามาหมุนเวียนใช้งานในอาคาร ทั้งการนำน้ำฝนกลับมาใช้เพื่อการอุปโภค โดยตำแหน่งที่ตั้งตัวอาคารนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าฝน และมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการให้พลังงานไฟฟ้า และแสงสว่างหลักในอาคาร อีกทั้งยังมีการเพิ่มพื้นที่สาธารณะทั้งภายใน และภายนอก ซึ่งเป็นการสร้างนิยามใหม่ของการออกแบบอาคารสถานที่ราชการ ที่สัมพันธ์ไปกับแนวคิด Critical Regionalism ขอบเขตในงานออกแบบของ SHAU จึงนับว่าเป็นการรื้อสร้างความยั่งยืนให้สดใหม่อยู่เสมอ ๆ

HOT AIR: DECARBONIZATION ON THE EQUATOR
ERIK L’HEUREUX/ NATIONAL UNIVERSITY OF SINGAPORE

บทความ Towards a Critical Regionalism “Six points for an architecture resistance” ของ Kenneth Frampton ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์เมื่อปี 1983 เมื่อครั้งตอนที่ Erik L’Heureux สถาปนิกและคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ยังมีอายุได้เพียงสิบขวบและอาศัยอยู่แถบชานเมือง เมื่อ Erik L’Heureux ได้ย้ายมาอยู่สิงคโปร์ยี่สิบปีก่อนนั้น ประเด็นเรื่อง Critical Regionalism ได้มีการถูกพูดถึงมากขึ้น โดยการท้าทายแนวคิดทางสถาปัตยกรรมแบบโลกาภิวัตน์ที่กำลังเริ่มเสื่อมถอยลงไป แม้แนวคิด Critical Regionalism จะเริ่มเป็นที่นิยมในบางพื้นที่ และตอบรับกันไปได้ดีกับกระแสของความเปลี่ยนแปลงของการบริโภคพลังงาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางส่วนที่แนวคิด Critical Regionalism ไม่ได้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกอื่น ๆ นอกจากปัจจัยหลักทางสภาพแวดล้อม เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

Erik ได้หยิบยกเปรียบเทียบการพัฒนาเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยีอาคาร ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยกตัวอย่างทั้งเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย มาเปรียบเทียบผ่านการตั้งคำถามของการอยู่อาศัยผ่านรูปแบบต่าง ๆ ภายในเมือง เช่น การใช้ผนังกระจกต่าง ๆ ของอาคารตึกสูง สืบเนื่องไปจนถึงอาคารรูปทรงคอนกรีตทึบตันในยุค Brutalism ที่ก่อให้เกิดรูปแบบอาคารที่เป็นสากล (International Style) แพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งส่งผลให้เกิดการอยู่อาศัยที่หนาแน่น กระจุกตัว ก่อให้เกิดการบริโภคทรัพยากรพลังงานอย่างมหาศาล ผลที่ตามมา คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งการสูญพันธุ์ของสัตว์ การก่อให้เกิดรอยเท้าคาร์บอน และสภาวะโลกร้อน

Erik ได้เลือกผลงานออกแบบอาคาร SDE 1&3 ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) มาบรรยาย โดยเป็นอาคารที่ถูกปรับปรุงใหม่ จากอาคารเดิมที่สร้างในปี 1970s ด้วยเป้าหมายคือต้องการสร้างมาตรฐานทางอาคารขึ้นมาใหม่เป็นอาคารต้นแบบแห่งอนาคต โดยอาคาร SDE 1 และ 3 นั้นจะประกอบไปด้วยพื้นที่ห้องทำงาน วิจัย สำนักงาน แกลเลอรี และเป็นพื้นที่สาธารณะไว้พบปะ หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เป้าหมายหลักของอาคาร SDE 1&3 แห่งนี้ Erik ต้องการให้เป็นอาคารปลอดคาร์บอนผ่านกระบวนการลดทอนองค์ประกอบสิ่งที่สิ้นเปลืองพลังงาน และก่อให้เกิดรอยเท้าคาร์บอนออกไป เช่น การลดการใช้เครื่องปรับอากาศโดยแทนที่ด้วยการใช้พัดลม หรือสร้างระบบระบายอากาศอาคารโดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ 65% ของพื้นที่อาคาร หรือการที่ Erik เลือกที่จะเก็บโครงสร้างอาคารเดิมไว้ แล้วทำการปรับปรุงขึ้นใหม่แทนการสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ถึงแม้ว่าตอนนี้อาคาร SDE 1&3 ยังไม่สามารถเป็นอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Zero Energy Building) ได้แบบ 100% แต่ในอนาคตโดยการวางแผนจัดการต่าง ๆ Erik ได้ตั้งเป้าหมายให้อาคาร SDE 1&3 นั้นจะต้องเป็นอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ได้แบบ 100% และยั่งยืน

Critical Regionalism ในรูปแบบมุมมองของ Erik L’heureux จึงเป็นการวางแผนและประมวลผล โดยใช้หลักการ สถิติต่าง ๆ มาอ้างอิงและวิเคราะห์บนบริบทพื้นที่ โดยเปรียบเทียบปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัยทางการออกแบบ หรือเงื่อนไขทางสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่หากต้องมองไปถึงภาพกว้าง ที่อาจส่งผลกระทบอย่างรอบด้านอย่างรัดกุม และให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้ใช้งานอาคาร และสภาพแวดล้อมโดยรอบ

BASIC ELEMENTS
TONKAO PANIN/ RESEARCH STUDIO PANIN

ต้นข้าว ปาณินท์ ผู้เป็นทั้งอาจารย์ นักวิชาการ นักเขียนและรวมไปถึงการเป็นสถาปนิกผู้ก่อตั้ง สตูดิโอออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่ชื่อว่า Research Studio Panin ในปี 2009 สตูดิโอออกแบบที่มีผลงานที่หลากหลาย และมีลักษณะแนวทางการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ โดยในช่วงเริ่มต้นของการบรรยาย ต้นข้าวได้เปิดประเด็นเกี่ยวกับหัวข้อ Critical Regionalism ผ่านบริบทการตีความทางภาษาเพื่อให้มีความเฉพาะเจาะจง สอดคล้องไปกับกระบวนการออกแบบของสตูดิโอ ด้วยการนำคำสำคัญหลักของธีมในการบรรยาย ASA International Forum 2024 มาปรับเป็นคำใหม่ เช่น คำว่า ภาษาหรือการสื่อสาร (Language) โดยเปลี่ยนไปสู่คำว่า การแสดงออก (Performance) ซึ่งเป็นนิยามทางสถาปัตยกรรมที่ต้นข้าวมอง อีกทั้งยังได้มีการเปลี่ยนหัวข้ออย่าง Critical Regionalism ที่พูดถึงภาพรวมหรือความเป็นภูมิภาค ไปสู่โครงสร้างคำที่มีความเฉพาะเจาะจงถึงสภาวการณ์ในพื้นที่นั้น ๆ มากขึ้น คือโครงสร้างคำว่า Critical Situation และคำที่สุดท้ายที่ต้นข้าวได้เปลี่ยนแปลงคือคำว่า Collective โดยเปลี่ยนไปสู่คำว่า individual ที่ Research Studio Panin ต้องการแสดงตัวตนผ่านภูมิหลัง และประสบการณ์ของตนเอง ผ่านภาษา หรือองค์ประกอบพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย อย่างเช่น พื้นหรือดิน (the mound) ผนัง (the enclosure) ใจกลาง (the heart) และหลังคา (the roof) ดังที่ต้นข้าวได้อ้างอิงมาจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของ Gottfried Semper เขียนเอาไว้ในหนังสือ The Four Elements of Architecture (1851) ที่โอบล้อมพื้นที่ทางความคิดทางสถาปัตยกรรมของ Research Studio Panin เข้าด้วยกันไว้

ต้นข้าวนำเสนอผลงานออกแบบของ Research Studio Panin โดยเริ่มต้นด้วยคำสำคัญแรกที่ว่าด้วย การโอบล้อม (Enclosure) ผ่านผลงานการออกแบบทั้ง 5 ผลงาน อันได้แก่ House OP บ้านของคุณแม่ ศาสตราจารย์ อรศิริ ปาณินท์ เป็นบ้าน 1 ชั้น ยกลอยเหนือจากพื้นดินที่มีกรอบระเบียงทางเดินโอบล้อมพื้นที่ใช้สอยภายในเอาไว้ หรือโรงแรม PRY 1 ที่ปราจีนบุรี เป็นการสร้างการโอบล้อมผ่านทางสัญจรภายในตัวอาคาร ส่วนงาน HOUSE BT ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ก็เป็นการสร้างโอบล้อมพื้นที่อยู่อาศัยภายใน เพื่อทำหน้าที่กรองแสงและระบายความร้อนที่เข้ามาสู่ในตัวอาคาร ผลงานของ Research Studio Panin ยังได้นำเสนอรูปแบบของการโอบล้อม (Enclosure) ในหลากหลายมิติที่เพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น ผลงาน HOUSE AT และ HOUSE MC โดยการใช้รูปแบบของโถงบันได ทางเดิน และการโอบล้อมให้เกิดลานกลางบ้านเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวขึ้นในพื้นที่เมืองที่จำกัด

ผลงานตัวอย่างทั้ง 5 ผลงาน ใช้แนวคิดเรื่องการโอบล้อม (enclosure) ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปในแต่ละงาน ตามบริบทแวดล้อมที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ โดยจากหัวข้อ Critical Regionalism ไปสู่หัวข้อ Critical Situation ผลงานของ Research Studio Panin จึงเป็นภาพแทนที่แสดงถึงการเชื่อมต่อเข้าหากัน เกี่ยวเนื่องกันในแต่ละผลงานที่แม้จะดูมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีเจตนาหรือความตั้งใจที่สะท้อนผ่านรายละเอียดขององค์ประกอบอาคารต่างกันออกไปในทุกบริบทแวดล้อม

LANDSCAPE IN MOTION
MA YANSONG/ MAD ARCHITECTS

Ma Yansong ผู้ก่อตั้ง MAD Architects สำนักงานออกแบบที่มีผลงานแพร่หลายทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ นำเสนอรูปแบบผลงานของ MAD Architects ที่ได้เปรียบสถาปัตยกรรม เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ในอีกสภาวะหนึ่งที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความเคลื่อนไหว และกลมกลืนไปกับสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ หรือเอกลักษณ์ดั้งเดิมในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืน หรือเรื่องราวใหม่ ๆ ผ่านงานสถาปัตยกรรมขึ้นในภูมิภาคนั้น ๆ

Ma ได้ยกตัวอย่างผลงานของ MAD Architects จากหลายแห่งทั่วโลก ทั้งจากทวีปอเมริกา ยุโรป และในเอเชีย โดยแต่ละชิ้นงานได้แสดงถึงการผสมผสานเรื่องราวทางวัฒนธรรม เทคโนโลยีทางอาคารทั้งเก่าและใหม่เข้าไว้ด้วยกัน อย่างเช่น งาน Clover House ที่เมือง Okazaki ประเทศญี่ปุ่น หรือผลงานที่ได้แนวคิดมาจากภาพวาดภูมิทัศน์ของจีน (Shan-shui) เช่น งาน Chaoyang Park Plaza ในกรุงปักกิ่ง Ma ได้เน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับธรรมชาติ ผ่านการสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ ๆ ร่วมกัน โดยต้องการนำเสนอสถาปัตยกรรมที่สร้างการเปลี่ยนแปลง หรือสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้กับสังคม และชุมชนอย่างยั่งยืน Ma ยังทิ้งท้ายถึงความหลากหลายที่ปรากฏขึ้นในแต่ละผลงานของ MAD Architects ได้ส่งผลต่อแนวคิด วิธีการ และความเชื่อในการตัดสินใจของการเกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมแต่ละชิ้น ว่าควรจะรักษาของดั้งเดิมไว้ หรือควรจะเปลี่ยนให้ต่างออกไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัวและลื่นไหลไปตามสถานการณ์

สถาปัตยกรรมของ MAD Architects จึงเป็นการวิพากษ์มุมมองประเด็น Critical Regionalism ที่เพิ่มเน้นปัจจัยดั้งเดิม เช่น ประวัติศาสตร์ และสังคม โดยเน้นการสร้างความรู้สึกร่วมผ่านความเป็นรูปธรรม และความเป็นนามธรรมของที่ว่างและรูปทรงสถาปัตยกรรม โดยพยายามเชื่อมต่อกับอดีต ผ่านการถอดรูปบริบทดั้งเดิมต่าง ๆ ทั้งตีความ ออกแบบ และจัดการนำเสนอรูปแบบของสถาปัตยกรรมขึ้นมาเป็นตัวกลาง เพื่อสื่อสารและส่งต่อโลกที่มีมิติที่หลากหลาย ผ่าน อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดยยังมีความเกี่ยวพันเชิงวัฒนธรรมของความเป็นถิ่นที่และวิถีเดิมเอาไว้

จากการบรรยายของสถาปนิกทั้งเจ็ดคน ใน ASA International Forum 2024 นี้ สะท้อนให้เห็นว่าบริบทวัฒนธรรมและสังคมในแต่ละแห่ง ก็มีความเป็นปัจเจก มีความแปลกแยกทางพื้นที่ที่ต่างกัน ทั้งด้านภาษา อาหาร ศาสนา เครื่องแต่งกาย หรือจารีตประเพณีต่าง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเชื่องโยงโค้งเข้าหากัน ผ่านทางสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ Critical Regionalism จึงเป็นแนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่ก่อให้เกิดความหมายที่หลากความคิด หลายมุมมอง ที่มุ่งแสวงหาการพัฒนาหรือความก้าวหน้า เพื่อตอบรับหรือเคลื่อนไหวไปกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ผ่านปัจจัย เช่น ผู้คน ชุมชน วัฒนธรรมประเพณี ความเป็นพื้นถิ่น เทคโนโลยี การวิพากษ์กลับทฤษฎี หรือความรู้สึกนึกคิด ที่ส่งผลให้แนวคิด หรือกระบวนการทางสถาปัตยกรรมมีความลื่นไหล และสามารถต่อยอดทางความคิดออกไปได้อีก


The “Critical Regionalism” concept was eloquently defined in his seminal 1983 text, “Towards a Critical Regionalism: Six Points for an Architecture of Resistance.” Here, Frampton proposes creating architecture that deeply integrates landscape, climate, light, and construction, prioritizing tactile connections and interactions over visual aesthetics. This methodology seeks to more profoundly reflect local identity and geographical nuances, striving to cultivate a sense of place and distinctiveness within modern architectural practices. The principles of Critical Regionalism have been vividly brought to life by architects such as Geoffrey Bawa, Glenn Murcutt, Balkrishna Doshi, and Minnette de Silva, who have each woven these elements into their work. This year’s forum seeks to explore the ongoing relevance of Critical Regionalism, contemplating its resonance within the evolving narrative of contemporary design. It promises a rich dialogue, infusing design philosophies and lived experiences from a roster of six esteemed local and international architects.

©Rajesh Vora

Architecture Language
Marina Tabassum/ Marina Tabassum Architects

Bangladesh is marked by its rich tapestry of geographical features, with a network of rivers that meld seamlessly into the land. In this context, Marina Tabassum, a celebrated Bangladeshi architect whose works frequently discussed in architectural circles, is deeply engaged with exploring how design can influence and reflect the interplay between communities and their environments. Her project, Khudi Bari, exemplifies this interest. Positioned on the sandy banks of the Mehna River, Khudi Bari is a temporary shelter designed as a resilient response to the area’s dynamic climate and topography. The structure, consisting of two levels made from bamboo and steel, is designed for quick and easy assembly. This project, which confronts the unpredictable elements of weather and geography, hinges on the synergy of various agencies and the active involvement of both local communities and supporting organizations.

Marina Tabassum’s architectural designs compellingly utilize light as a primary element of communication, underscoring the complex relationships between space and its inhabitants. Her thoughtful approach is showcased in the Bait Ur Rouf Mosque, nestled in the rapidly-developing northern outskirts of Dhaka. As the local population surges, the mosque, positioned amid angular streets, adopts a nearly cubic form punctuated by deliberate openings that channel light inward. These apertures orchestrate an ambient narrative within, aligning beams of light with the stories and rituals of Islam. The mosque uses materials like perforated bricks and sky-oriented openings, promoting natural ventilation that resonates with the locale’s climatic needs. The project was awarded The Aga Khan Award for Architecture during the 2014-2016 cycle for its innovative design and context-sensitive approach.

Marina Tabassum’s approach to Critical Regionalism posits that architecture must engage with the specificities of the site, including the geography, and climate, as well as the subtle dynamics between the Earth and the sun, in order to authentically mirror the culture and unique identity of a place. This philosophy extends to capturing the essence of temporal shifts, environmental conditions, and the evolving political landscape. Tabassum begins each of her projects with a thorough immersion into the site, interacting directly with local inhabitants to absorb and exchange insights. Her methodology centers on deciphering the intricate web of relationships between the site’s context, the community, and its cultural practices, all of which are to be seamlessly integrated within the architectural form and the spaces created.

©John Gollings

ARCHITECTURE AND CONTEXT
ANTOINE CHAAYA/ RENZO PIANO BUILDING WORKSHOP

Language serves as a medium within a multifaceted context, influenced by relationships that evolve across time, locations, and environments. Antoine Chaaya, an architect, partner, and director at Renzo Piano Building Workshop, initiated his lecture with the concept that architectural elements transcend mere external forms, encompassing a diverse array of components. These components are both direct, such as the urban environment and its immediate physical context, and indirect forces such as societal norms, cultural heritage, historical layers, and political climates. Drawing on Chaaya’s assertion that ‘The building is like a human being. It has its own integrity,’ he elucidated how a building, through its situational context, cultivates a sense of place.

Antoine Chaaya commenced his discourse with an analysis of the Centre Culturel Jean-Marie Tjibaou in Nouméa, finalized in 1998, which masterfully integrates architectural features resonating with the ethnic, cultural, and traditional facets of the Kanak people. The design utilizes environmentally attuned technologies and is articulated as a collection of semi-circular “huts” that ingeniously reinterpret traditional Kanak structures. Following this, he turned to the Cultural Powerhouse project, a visionary reconceptualization of an obsolete power station into a new cultural hub, incorporating sustainable energy solutions such as solar and wind within its framework. Additionally, Chaaya shed light on the international endeavors of RPBW across various continents. Among these is the Potsdamer Platz in Berlin, a site steeped in historical significance due to its World War II associations, crafted to complement significant architectural icons like the Neue Staatsbibliothek by Hans Scharoun, a prominent German modernist architect. Another noteworthy venture is the Pathé Foundation in Paris, France, where a modern structure is deftly woven into the fabric of an existing historical edifice.

Clearly, Antoine Chaaya has navigated the architectural terrains of diverse countries and continents, presenting styles that reflect varied cultural contexts. His work aims to delve into and illuminate the identities and spirits of people and communities. He achieves this through the strategic use of modern materials, complemented by the integration of local motifs as central architectural elements. These components are seamlessly blended with advanced building technologies, which in turn catalyze the genesis of new projects, as he has described.

©SHAU

SOCIO-CLIMATE SPACES
DALIANA SURYAWINATA & FLORIAN HEINZELMANN / SHAU

Two architects hailing from different backgrounds, Daliana Suryawinata from Indonesia and Florian Heinzlemann from Germany, crossed paths in the Netherlands. This meeting of minds led to the founding of their design firm, SHAU, in 2009 with offices initially in Rotterdam and Munich. Their collaboration expanded to Jakarta in 2012, eventually making Bandung, Indonesia, their base. Their firm’s foundational objective was to harness architectural design to weave together social spaces and environmental concerns.

Indonesia offers a geographical canvas sprawling across more than seventeen thousand islands, around six thousands of which are inhabited. This archipelago showcases a vibrant mosaic of languages, culinary traditions, and cultural practices. SHAU’s architectural philosophy is committed to threading this cultural richness together, while remaining sensitive to the nuances of local contexts and embodying the ethos of Critical Regionalism. Their approach meticulously considers factors such as natural light, wind direction, and landscape, integrating sustainable practices which include the use of low-carbon materials, enhanced energy efficiency, and minimized electricity use. Crucially, their work underscores the importance of community and societal engagement, transcending mere design to foster collaborative space management as well as collective stewardship and ownership.

SHAU’s architectural style is crafted to be intuitive, uplifting, and comfortable, embodying practical elegance. Daliana and Florian have developed several Micro Library projects, each carefully customized to its Indonesian locale. These projects vary widely in shape, form, and materials, all while reflecting the intricacies of the local community and social context through a participatory process in design, usage, and upkeep. But SHAU’s scope extends beyond aesthetics; their work consistently considers the future impacts of their interventions. A notable example is the Huma Betang Umai at the Vice-Presidential Palace, which reconceptualizes the traditional Dayak Long House from Borneo, challenging the traditional aesthetics of government edifices. This project integrates local cultural identity with advanced building technology to respond to contemporary shifts, resulting in an energy-efficient building. By utilizing natural energy sources, it integrates rainwater for utilities and solar power for electricity and primary lighting. Positioned in a rainforest setting, it further enriches public spaces, both internally and externally, thereby redefining the design of government buildings to align with the principles of Critical Regionalism. Through projects like these, SHAU continually revitalizes sustainable design, pushing the boundaries of architecture and sustainability.

©Finbarr Fallon

HOT AIR: DECARBONIZATION ON THE EQUATOR
ERIK L’HEUREUX/ NATIONAL UNIVERSITY OF SINGAPORE

Kenneth Frampton’s prominent work, “Towards a Critical Regionalism: Six Points for an Architecture of Resistance,” was first published in 1983. At the time, Erik L’Heureux, who would later become an architect and dean of the Faculty of Architecture at the National University of Singapore, was just ten years old, living in a suburb. It was not until two decades before his relocation to Singapore that the discourse surrounding Critical Regionalism began to gain traction, challenging the prevailing global architectural norms that were showing signs of decline. While the concept of Critical Regionalism found recognition in some areas, particularly aligning with shifting trends in energy consumption, its acceptance was not universal. Its success was curtailed by factors that stretched beyond environmental concerns, including economic conditions that also influenced its adoption and impact.

Erik L’Heureux conducted a comparative analysis of urban development, economies, and building technologies in Southeast Asia, focusing on Ho Chi Minh City, Vietnam, and Bangkok, Thailand as case studies. He explored various urban residential patterns, from the use of diverse glass facades in high-rise buildings to the solid concrete structures characteristic of the Brutalist era. This progression has fostered the widespread adoption of the International Style throughout Southeast Asia, leading to densely populated living spaces with significant energy consumption. Consequently, this urban expansion has precipitated environmental issues, including animal extinction, increased carbon footprints, and global warming.

Erik L’Heureux has taken on the ambitious task of redesigning the SDE 1&3 buildings at the National University of Singapore, structures originally erected in the 1970s. His vision is to set new benchmarks in architectural standards for the future model buildings. These buildings, SDE 1 and 3, now accommodate a diverse mix of functions, including office spaces, research facilities, galleries, and areas designated for public gatherings and activities. Erik’s foremost goal for these projects is to achieve carbon neutrality by curbing elements that are heavy on energy consumption and generate a significant carbon footprint. His strategy includes a shift from air conditioning to fans or natural ventilation systems—passive ventilation that now influences 65% of the buildings’ layouts. Opting against a total demolition and rebuild, Erik has chosen to preserve and upgrade the existing edifices, steering them towards becoming 100% zero-energy buildings through thoughtful management and planning.

Erik L’Heureux’s interpretation of Critical Regionalism entails a meticulously structured approach, anchoring the planning and analysis in statistical methodologies. This method not only references and evaluates various risk factors but also extends beyond conventional design parameters or environmental conditions. It calls for a broader, more inclusive perspective that seeks to thoroughly assess potential impacts, ultimately aiming to enhance efficiency and deliver maximal benefits for both the users of the buildings and the surrounding environment.

©Research Studio Panin

BASIC ELEMENTS
TONKAO PANIN/ RESEARCH STUDIO PANIN

Tonkao Panin, a name synonymous with multifaceted expertise in academia, writing, and architecture, founded Research Studio Panin in 2009. Known for its eclectic and innovative architectural expressions, the studio has established a distinct presence in the design world. Tonkao opened her lecture with an insightful exploration of Critical Regionalism, employing a linguistic framework that resonates deeply with her studio’s design philosophy. She transformed “Language” into “Performance,” suggesting a more expressive nature of architectural practice. She then shifted the focus from a broad or regional perspective of Critical Regionalism to a more pointed “Critical Situation,” a term that she thought would better capture the nuances and specific conditions of particular locales. The final lexical adjustment Tonkao offered was changing “Collective” to “Individual,” a shift that underscores the unique identity, history, and experiences that animate the work of Research Studio Panin. This redefinition is anchored in the foundational architectural elements of the mound (ground), enclosure (walls), heart (core), and roof, referencing what Gottfried Semper proposed in “The Four Elements of Architecture (1985).” These terms not only redefine the architectural vocabulary but also encapsulate the ethos that Research Studio Panin embodies.

Tonkao Panin presented Research Studio Panin’s design through the prism of “Enclosure,” showcasing this theme across five distinct projects. These included House OP, the elevated, onestory residence of her mother, Professor Onsiri Panin, wrapped by a framing balcony that intricately defines the living space. Similarly, the PRY 1 Hotel in Thailand’s Prachinburi province employs an architectural strategy that crafts an enclosure through internal pathways weaving throughout the structure. In Roi Et, a northeastern province of Thailand, HOUSE BT implements the concept by encircling the interior living areas to filter sunlight and manage heat influx, illustrating the practical application of this principle. Further exploring the concept, Research Studio Panin introduced more complex interpretations with HOUSE AT and HOUSE MC by utilizing staircase halls and pathways to sculpt a central courtyard, ingeniously enhancing privacy within the limited confines of urban settings.

These five projects employ the concept of “Enclosure,” each differing in details according to the environmental context of their respective locations. Transitioning from the topic of Critical Regionalism to Critical Situation, Research Studio Panin’s projects demonstrate a cohesive linkage across its evolving body of work. While the components may appear similar, each project reflects specific intentions or purposes through the architectural details (tectonics) tailored to each environmental context.

©MAD Architects

LANDSCAPE IN MOTION
MA YANSONG/ MAD ARCHITECTS

Ma Yansong, the founder of MAD Architects, renowned both nationally and internationally for its impressive architectural endeavors, presented the firm’s vision of architecture as a natural phenomenon, expressive and capable of conveying emotions and movements while simultaneously harmonizing with the distinctive characteristics of various regions to promote sustainability and craft new narratives.

In his presentation, Ma showcased examples from MAD Architects’ extensive portfolio, spanning North America, Europe, and Asia. Each project skilfully blends cultural narratives with a fusion of traditional and contemporary building technologies. Among them are the Clover House in Okazaki, Japan, and the Chaoyang Park Plaza in Beijing, the latter drawing inspiration from traditional Chinese landscape paintings (Shan-shui). Ma emphasized the symbiotic relationship between buildings and nature, crafting experiences that position architecture as a catalyst for change, thereby enriching societies and communities in a sustainable manner. He concluded by discussing the diversity reflected in each project by MAD Architects, which influences their approach, methodology, and decisionmaking process about whether to preserve original elements or introduce transformative changes. The process, according to Ma, is fluid and can adapt to various circumstances.

MAD Architects’ architecture presents an interesting critique of Critical Regionalism, emphasizing enduring elements such as history and society. This perspective is conveyed through the development of a collective sensibility, evident in both tangible and abstract spatial forms and architectural shapes. The firm connects with the past by reinterpreting and reshaping traditional contexts, positioning architecture not just as a structure but as a communicative medium that bridges and narrates across time—past, present, and future. In this process, MAD Architects ensures that the cultural resonance of sense of place and traditional practices is not only recognized but integrally preserved.

The lectures delivered by seven architects at the ASA International Forum 2024 underscored the unique cultural and social contexts of their respective regions. These contexts, characterized by diverse languages, cuisines, religions, clothing, and traditions, highlight the individuality and spatial distinctions inherent to each area. Nevertheless, they also reveal an interconnectedness through shared environments, landscapes, and climates. Critical Regionalism, as an architectural concept, captures this richness of meanings and perspectives. It aims to promote development and progress in response to continuous change, influenced by elements such as people, communities, cultural traditions, local identities, technologies, critiques, theories, and perceptions. This approach ensures that architectural ideas and processes remain fluid, constantly evolving and expanding.

รับชมการเสวนาแบบเต็มๆ ได้ทาง YouTube คลิกได้ที่นี่

อ่านบทความคอลัมน์อื่นๆ หรือดาวน์โหลดเล่มวารสารฉบับออนไลน์ 18 Collective Language คลิกได้ที่นี่
อ่านบทความคอลัมน์อื่นๆ หรือดาวน์โหลดเล่มวารสารฉบับออนไลน์ Collective Language: EPILOGUE คลิกได้ที่นี่

Pin It on Pinterest

Shares
Share This