ASA Professional talks with Weerapat Chokedeetaweeanan, Managing Director of Studio Tofu a relatively small practice with a substantially growing portfolio, whose inspiring mission to develop users-oriented residential projects comes from the belief that a good home is the foundation of a good life.
Text: Nuttawadee Suttanan
Photo Courtesy of Studio Tofu
วันนี้ ASA PROFESSIONAL มีโอกาสได้พูดคุยกับ “บอน-วีรภัฎ โชคดีทวีอนันต์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท โตฟู จำกัด บริษัทออกแบบที่ผลงานไม่ได้เล็กตามขนาดของบริษัทและยังมีการต่อยอดจากความสามารถที่มีอยู่ คือ การทำโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ต้องการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่คำนึงถึงคนที่อยู่อาศัย ด้วยแนวคิดที่ว่าถ้าทำที่อยู่อาศัยที่ดี ก็จะเป็นพื้นฐานของชีวิตที่ดีได้
“ความหมายของคำว่า ศิลปะและการออกแบบ มันก็ต่างไปโดยสิ้นเชิง” บอนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังเรียนจบเขาได้ทำงานอยู่ 3 ปี ก่อนจะตัดสินใจไปศึกษาต่อด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองที่สถาบัน Berlage ประเทศเนเธอร์แลนด์ การเรียนที่สถาบัน Berlage นับเป็นก้าวแรกของการเปิดโลกกว้างของบอน เป็นจุดเริ่มต้นผลงานดีๆ ที่เกิดขึ้นของ Studio Tofu และเป็นช่วงเวลาที่บอลย้ำเสมอว่า “นี่คือช่วงเวลาที่ดีมาก ๆ ของเขา”
ในช่วงนั้น เนเธอแลนด์ก็ค่อนข้างเป็นหนึ่งในประเทศที่ทุกคนจับตามองด้านสถาปัตยกรรม ที่ Berlage เป็นเหมือนโรงเรียนที่พยายามจะไม่เป็นโรงเรียน เขาใช้ชื่อว่า “สถาบัน” นักเรียนในแต่ละรุ่นก็ไม่เหมือนกัน ความสนใจหรือว่าการถกเถียงก็จะต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเราไปถึงที่นั่นแล้ว ความหมายของคำว่า ศิลปะและการออกแบบ มันก็ต่างไปโดยสิ้นเชิง มันเปิดโลกค่อนข้างเยอะและนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ดี
หลังกลับจากเนเธอแลนด์ บอนเข้าทำงานในบริษัทที่ปรึกษาทางด้านผังเมือง ก่อนจะพบว่างานด้านผังเมืองในช่วงเวลานั้นอาจไม่ใช่งานที่เหมาะกับเขา บอนจึงตัดสินใจออกมารับงานอิสระ และเมื่องานเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น จากการทำงานคนเดียว เขาก็เริ่มมีผู้ช่วยคนที่หนึ่ง คนที่สอง และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็น STUDIO TOFU ในทุกวันนี้ “อยากให้ชื่อ TOFU เป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเรื่องสถาปัตยกรรมหรือการออกแบบไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว” STUDIO TOFU ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 2550 หลังจากบอนทำงานฟรีแลนซ์ได้ประมาณสองปี ที่มาของชื่อ “TOFU” มาจากความต้องการตั้งชื่อบริษัทที่เข้าถึงคนได้ง่าย เพราะเขาไม่อยากให้เรื่องการออกแบบเป็นเรื่องไกลตัวของคนทั่วไป
วันนั้นก็ไปกินอาหาร แล้วเจอคำว่า TOFU เราก็ชอบตัวอักษร 4 ตัวนี้ ออกเสียงไม่ยาก เขียนง่าย แล้วเราทำงานค่อนข้างรายละเอียดเยอะ แล้วก็คำว่า TOFU คนก็จะคิดถึงก้อนเหลี่ยมๆ ขาวๆ ชืดๆ หน่อย จืดๆ เราก็คิดว่าเราทำงานตรงข้ามเลย เลยคิดว่าเป็นเเบบเหมือนกับความขัดแย้งที่เลือกนำมาใช้ แล้วก็อยากให้ชื่อ TOFU เป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเรื่องสถาปัตยกรรมหรือการออกแบบไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว
โครงการ The Bound House โครงการ The Bound House
“เราเป็นบริษัทขนาดเล็ก” บอนให้คำนิยาม STUDIO TOFU ว่าเป็นบริษัทขนาดเล็กที่ทำงานออกแบบสถาปัตยกรรมและออกแบบภายในเป็นหลัก เวลาผ่านมา 12 ปี STUDIO TOFU มีการปรับเปลี่ยนจำนวนสมาชิกในทีมอยู่เป็นระยะ ช่วงเวลาหนึ่ง STUDIO TOFU เคยมีสมาชิกรวมกันถึง 12 คน ก่อนที่จะปรับลดขนาดทีมเพื่อให้เหมาะกับรูปแบบการทำงานของบริษัท และในปัจจุบัน STUDIO TOFU มีทีมทั้งหมด 6 คน รวมตัวเขาด้วย หนึ่งคนทำหน้าที่ธุรการที่ดูแลเอกสารและระบบบัญชี อีก 5 คนที่เหลือคือทีมออกแบบซึ่งมีทั้งสถาปนิกและมัณฑนากร
“ในด้านการสื่อสาร การบริหารจัดการ ลำดับงานของบริษัท ยังไม่ได้พร้อมที่จะเป็นสิบกว่าคน ผมก็เลยคิดว่าเลือกเอาที่เราถนัด แล้วก็มีคนทำงานที่อยากทำด้วยกันแล้วชอบในการทำงานลักษณะนี้ คิดว่าจะดีกว่า แล้วก็ทำลำดับงานดีๆ ดูงานที่เหมาะสม” ด้วยขนาดบริษัทที่ค่อนข้างเล็ก ทีมออกแบบที่มีทั้งสถาปนิกและมัณฑนากร จึงต้องเข้าใจงานทั้งสองส่วนคือทั้งในส่วนของงานสถาปัตยกรรมและงานออกแบบภายใน การทำงานแบบนี้ทำให้ทุกคนในทีมได้มองเห็นช่องว่างในงานในส่วนต่างๆ รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับทีมอื่นๆ เพื่อให้ได้เป็นอย่างดี
“ออกแบบภายในต้องทำงานสถาปัตยกรรมได้บ้าง บางคนเป็นสถาปัตยกรรมก็ต้องทำงานออกแบบภายในได้บ้าง ซึ่งที่เคยคุยกันเขาก็บอกว่ามันก็ดีตรงที่เขาได้ลับสมอง ได้ฝึกอีกรูปแบบหนึ่ง ผมคิดว่าเวลาเขาไปทำงานสถาปัตยกรรม มันจะมีบางจุดที่เป็นจุดบกพร่องในงานออกแบบภายในหรือเปล่า หรือว่าเห็นข้อดีที่จะส่งเสริมกัน หรือว่าบางทีคนทำออกแบบภายในเขาก็จะรู้ว่าสิ่งที่เขาออกแบบมันไปกระทบกับงานสถาปัตยกรรมหรือเปล่า ซึ่งเป็นข้อดีของการทำงาน”
สำหรับคนที่จะมาเป็นส่วนหนึ่งของ STUDIO TOFU บอนให้ความสำคัญกับ “วินัยและความอดทน”มากกว่าความเก่ง ที่สำคัญที่สุดคือความพร้อมที่จะเรียนรู้ เปิดรับสิ่งใหม่ตลอดเวลา เพราะบอนถือว่าการทำงานของ STUDIO TOFU ก็เปรียบเหมือนการเรียนรู้ตลอดเวลานั่นเอง “สำคัญเลยก่อนเก่งไม่เก่งคือวินัยกับอดทน น่าจะเป็นประเด็นแรกๆ แต่คนที่จะมุ่งมาทางนี้อยู่แล้วมันต้องที่รักจะมีความคิดสร้างสรรค์ ช่างคิด แล้วก็พร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เราเองก็เป็นแบบนั้น พร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา เพราะเราก็คงเป็นนักศึกษาตลอดชีวิต เราก็จะได้เรียนรู้กับน้อง กับลูกค้า
บรรยากาศการทำงานภายออฟฟิศ
“เราต้องการที่จะทำงานให้เกิดผลงาน เพราะการตลาดที่ดีที่สุดคือต้องทำงานให้ดี ให้เขาเห็นแล้วแนะนำต่อ” กลุ่มลูกค้าในช่วงเริ่มต้นของ STUDIO TOFU คือการแนะนำจากเพื่อน ขยายกลุ่มเป็นเพื่อนของเพื่อน เมื่อผลงานดี การแนะนำต่อจึงเกิดขึ้นจนทำให้ STUDIO TOFU เป็นที่รู้จักกันในทุกวันนี้ และลูกค้าอีกกลุ่มที่บอนคิดว่าคือกลุ่มสำคัญที่ทำให้เกิดผลงานดีๆ ของ STUDIO TOFU คือเจ้าของโครงการที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ และกลุ่มลูกค้าที่ให้โอกาส STUDIO TOFU ได้ทดลองทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
“โดยนิสัยของเราที่ค่อนข้างละเอียด พอมาเจอคนที่ละเอียดกว่า เราก็เหมือนกับต้องพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อยๆ หรือว่าจะทำกับเจ้าของโรงแรมที่เชี่ยวชาญด้านโรงแรม เราก็เหมือนได้เรียนรู้เพราะเขาเฉพาะทางกว่าเรา บางจุดที่เป็นงานเบื้องหลังหรือการบริหารจัดการที่ผู้ออกแบบนึกไม่ถึง คนพวกนี้จะเป็นกลุ่มคนที่โต้ตอบกับเรา และให้ข้อมูลในส่วนนั้นในเชิงลึก” งานของ STUDIO TOFU ไม่ใช่งานที่เน้นงานเฉพาะด้าน ผลงานของ STUDIO TOFU จึงค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบริษัท บ้าน คอนโด โรงแรม ศูนย์การค้า ร้านกาแฟ ร้านอาหาร แฟชั่นแบรนด์ ซึ่งทุกงานที่ออกมาเป็นการใช้ความรู้หลายแขนงที่เป็นความสนใจของทีมมาประยุกต์ใช้ โดยที่ทุกอย่างนั้นการออกแบบจะอยู่บนแกนหรือหลักความคิดเดียวกัน
“ศิลปะเราก็สนใจ ศิลปะรูปแบบใหม่ๆ เราก็สนใจ งานกราฟิคเราก็สนใจ งานสถาปัตยกรรมเราก็ยิ่งโคตรสนใจ เราก็ใช้สิ่งที่เราสนใจเรียนรู้มา แต่ละอย่างเราก็แสดงออกแตกต่างกัน แต่ว่าเราอยู่บนแกนหรือหลักความคิดเดียวกัน”
“การทำงานของที่นี่คือเราให้ความสำคัญกระบวนการทำงาน” เมื่ออายุมากขึ้น วิธีคิดที่เปลี่ยนไป ผสมกับประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลาหลายปี สิ่งหนึ่งที่บอนตกผลึกจากการทำงานของ STUDIO TOFU คือ การให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน STUDIO TOFU ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน การทำงานที่ผ่านการลองผิดลองถูกมานับไม่ถ้วน สั่งสมเป็นการเรียนรู้และประสบการณ์ เกิดเป็นกระบวนการที่ทุกคนได้ร่วมกันคิดจริงๆ ว่าการทำงานควรเป็นอย่างไร โดยไม่ได้มีข้อจำกัด
ที่ความอาวุโสหรือความเป็นหัวหน้าลูกน้อง กระบวนการทำงานเช่นนี้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดกันทีม รวมทั้งทำให้สมาชิกทุกคนได้เห็นความเป็นไปได้ในมุมอื่นๆ เกิดเป็น “เครื่องมือในการทำงาน” ซึ่งเกิดจากทำงานที่ค่อนข้างหลากหลายรูปแบบและความสนใจที่มีหลายด้าน เครื่องมือในการทำงานจึงเป็นผลที่เกิดจากกระบวนการทำงานที่หลากหลายนั่นเอง
“เรามีเครื่องมือในการทำงาน สมมุติ 20 วิธี โครงการนี้เราเอาวิธีที่หนึ่งบวกสามบวกสิบเจ็ด อีกงานเราเลือกเครื่องมืออีกแบบ เอามาเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน และวิธีการต่างๆ เหล่านี้ จริงๆ ก็เป็นจุดเริ่มต้นทำให้เราได้มีเครื่องมือในการทำงานต่อไป” การทำงานของ STUDIO TOFU จึงเป็นเหมือนกับนำประสบการณ์มาผสมผสานกับการทำความเข้าใจ ทดสอบและประมวลผลอย่างรวดเร็ว เพื่อหาวิธีหรือรูปแบบที่ดีที่สุดในการทำงานนั้นๆ “ตอนแรก แบบร่างมันจะมหาศาล งานแรกๆ อาจจะเป็นแบบนั้น พอนานๆ ไป เราผ่านความผิดพลาดมาเยอะ หลังๆ เรารู้แล้วว่าเราเคยทำผิดอันนี้มา ก็จะไม่ต้องย่ำที่เดิม”
การเรียนรู้และโอกาสอีกมหาศาลจาก The Bound House
“เราคิดว่าถ้าเริ่มต้นจากการทำของดี พื้นที่ดี ๆ สร้างประสบการณ์ให้คนมาใช้ดี มันจะเป็นพื้นฐานที่ดี ธุรกิจก็ดำเนินได้ ความคิดนี้แหละที่เราเอามาใช้กับ The Bound House”
โครงการ The Bound House คือโครงการบ้านรูปแบบใหม่ที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย STUDIO TOFU โดยการนำเอาประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบที่อยู่อาศัยหลากหลายรูปแบบมาพัฒนาโครงการให้มีความแตกต่างจากโครงการ และให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการอยู่อาศัย สังคม และสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มากกว่าผลกำไรทางธุรกิจ
“เราอยากทำโครงการของตัวเองในอนาคตแต่ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ แต่ก็คิดว่าสักวันหนึ่งอยากทำโครงการ เหมือนกับเป็นการต่อยอดความรู้ที่เรามีมาเกือบสิบปี The Bound House ตอนเริ่มจะทำเราก็ตั้งใจทำ เรามีสถาปนิกไปสำรวจพื้นที่ มีการสำรวจทางการตลาด แล้วก็ทีมเฉพาะที่ทำเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะอีกทีม จุดเปลี่ยนสำคัญคือเราทำสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเอาคนที่จะซื้อบ้านภายในหนึ่งปีมานั่งคุย จริงๆ จะทำ 12 คน แต่บริษัทที่ปรึกษาบอกว่าให้ทำ 6 คนก่อน ถ้า 6 คน เป็นเสียงเดียวกัน ที่เหลือไม่ต้องทำแล้ว ก็มีช่วงอายุตั้งแต่สามสิบกว่าไปจนถึงหกสิบ สรุปแล้วผลที่ได้รับกลับมาก็คือค่อนข้างเป็นบวก สิ่งที่เราคิดจากมุมสถาปนิกที่จะทำบ้านขาย สามารถที่จะเกิดขึ้นได้จริง ไม่ใช่โครงการที่เพ้อฝันหรือเข้าข้างตัวเอง”
บอนเริ่มการทำ The Bound House ด้วยการนำโครงการไปปรึกษาจากเพื่อนที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้ในสาขาต่างๆ หลายคนแนะนำให้เริ่มโครงการที่กรุงเทพมหานคร “แต่เราคิดว่าเราน่าจะทำได้” คือสิ่งที่บอนคิดหลังจากได้รับคำปรึกษาจากหลายคน และเมื่อทีมเริ่มเก็บข้อมูล สำรวจพื้นที่ ก็ทำให้พบว่าในขณะที่หลายโครงการเน้นไปทางการโฆษณาด้านการตลาด ด้วยการลดแลกแจกแถมรูปแบบต่างๆ แต่น้อยมากที่จะเน้นในเรื่องคุณภาพของที่พักอาศัย บอนจึงใช้แนวคิดนี้มาเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการทำ The Bound House
และลูกค้าคนแรกของโครงการ The Bound House ก็คือข้าราชการเกษียณที่อยู่บ้านคนเดียว ไม่อยากดูแลบ้านกว้างเกินไป และต้องการอยู่บ้านที่ดูแลง่าย พอดีกับวิถีชีวิตตัวเอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการออกแบบของ The Bound House ที่ต้องการออกแบบบ้านที่ตอบโจทย์ชีวิตของอนาคต พื้นที่ใช้สอยกว้าง ดูแลน้อย ทำความสะอาดง่าย ต้องมีโถง แสงธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน
อาจจะกล่าวได้ว่า The Bound House คือเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการทำงานของบอน จากการทำหน้าที่นักออกแบบเพียงอย่างเดียว สู่การทำหน้าที่เจ้าของโครงการ แม้ทุกอย่างต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด แต่สิ่งหนึ่งที่บอนได้เรียนรู้จากการทำงานนี้ คือผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับ The Bound House ไม่ได้เกิดจากแข่งขันกับใคร แต่เป็นการแข่งกับตัวเอง และความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ รวมทั้งเครือข่ายที่ดี เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้เกิดโครงการที่ดี และถ้าเราตั้งใจทำงานที่ดี แม้อาจจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีช้าหรือระหว่างทางอาจจะประสบปัญหา แต่ก็ความสำเร็จนั้นจะเด่นชัดเสมอ เหมือนกับโครงการ The Bound House นั่นเอง
“แต่จริงๆ แล้วตอนนี้ที่คนเห็นว่าประสบความสำเร็จ จริงๆ ระหว่างทางผมก็ไม่ได้โปรยไปด้วยกลีบกุหลาบนะ ไม่ได้หอคอยงาช้าง รับบาดแผลเยอะเหมือนกัน หลายอย่างแต่ก่อนอยู่ในส่วนของลูกค้าทำทั้งหมดตอนนี้เราต้องทำเอง หรือเมื่อก่อน เวลาเราคุยเรื่องแบบกับเจ้าของโครงการ เขาก็จะมีฝ่ายการตลาดต่างๆ บางทีเขาก็จะบอกว่าเราปรับลดแบบได้ไหมเพื่องบก่อสร้างจะได้ลง แล้วก็ธุรกิจมันจะได้ดีกว่า ด้วยความไม่รู้ของเราและเรายังไม่ได้อยู่ในกลไกของธุรกิจจริงๆ เราก็สวนกลับว่า แทนที่การตลาดจะมาพูดแบบนี้ ทำไมการตลาดถึงไม่ไปคิดวิธีหาเงินเพิ่มมาบ้าง แต่ว่าตอนนี้เรารู้แล้วว่าเพราะอะไร เพราะตอนนี้เราอยู่ในบทบาทหนึ่ง” ก้าวต่อไปของ The Bound House คือการขยายโครงการไปในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีศักยภาพและพร้อมสำหรับการลงทุน ซึ่งการขยายโครงการ The Bound House นับเป็นจุดเริ่มต้นก้าวใหม่ของ STUDIO TOFU เช่นกัน
ก้าวต่อไปของ STUDIO TOFU
ปัจจุบัน STUDIO TOFU อยู่ภายในบริษัทที่ตั้งใหม่ในชื่อ Bound Group ที่ทำหน้าที่เป็นร่มใหญ่ในการลงทุน ร่วมทั้งเชื่อมการทำงานกับส่วนต่างๆ ภายใต้ร่มของ Bound Group จะประกอบไปด้วย 1) STUDIO TOFU ที่เป็นบริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและออกแบบภายใน 2) The Bound House บริษัทที่จะเน้นเรื่องการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับอนาคต และ 3) Life Shop Nakhon Pathom ร้านขายของที่ระลึกดีไซน์ สินค้า eco-friendly ไอศครีมรสชาติแปลกๆ ฯลฯ รวมทั้งเป็นพื้นที่ของบ้านตัวอย่างและห้องนั่งเล่นของโครงการ The Bound House ซึ่งทั้งสามส่วนจะมีการบริหารจัดการที่แยกออกจากกัน และในอนาคตอันใกล้ จะมี Bound Plus ซึ่งจะรับหน้าที่ในการบริหารจัดการในส่วนการทำงานที่ทำร่วมกับบริษัทอื่นๆ ซึ่งมีความถนัดเฉพาะด้านนอกเหนือจากสามบริษัทในร่มของ Bound Group
“การทำ The Bound House ทำให้รู้ว่าเราไม่ถนัดอะไร และพอเราย้ายตลาดหรือขยายตลาด เราก็รู้ว่าเราอยากจะร่วมกับคนที่เขาถนัดในส่วนที่เราไม่ถนัด และทำให้เกิด Bound Plus ขึ้นมา” สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้ไปพร้อมกับการคุยกับบอนคือ แม้ในโลกปัจจุบันเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปเพียงใด ผู้คนอาจเปิดอินเทอร์เนตค้นหาแรงบันดาลใจได้เป็นร้อยอย่างพันอย่าง แต่คนที่จะทำให้เกิดขึ้นจริงได้คือเหล่านักออกแบบ และสิ่งสำคัญที่บอนฝากทิ้งท้ายไว้ให้แก่นักออกแบบรุ่นใหม่ก็คือสิ่งที่เขาทำมาโดยตลอด นั่นคือ “การคิดแล้วทดลองทำจริง จากนั้นวัดผลโดยเร็ว คือ ถ้าดีก็ทำต่อ ถ้าไม่ดีก็ปรับปรุง หากไม่ได้จริงๆ ก็ล้มแบบตัวเองได้เลย ก่อนที่จะให้คนอื่นมาล้ม ทุกความคิดจะได้ไม่วนเวียนอยู่เพียงในสมองของตัวเอง”
โครงการ The Bound House โครงการ The Bound House
ASA Professional talks with Weerapat Chokedeetaweeanan, Managing Director of Studio Tofu Company Limited, a relatively small practice with a substantially growing portfolio, whose inspiring mission to develop users-oriented residential projects comes from the belief that a good home is the foundation of a good life.
“Art and design hold entirely different meanings.”
Weerapat graduated with a bachelor degree from the Faculty of Decorative Art, Silpakorn University. He got a job and worked for three years before deciding to further pursue his studies in architecture and urban design at The Berlage, the Netherlands. Studying at The Berlage was Weerapat’s first step into a much wider world, and marked the beginning of Studio Tofu’s impressive track records. Weerapat recalls the time as one of ‘the best periods of his life.”
“At the time, the architectural movement in the Netherlands was something everyone kept their eyes on. The Berlage is like this school that doesn’t try to be a school. They call themselves an ‘institution’ and the students enrolling each year were very diverse with different interests, and they would have their own unique ways of perceiving and discussing things. When I was there, I could tell that art and design hold entirely different meanings. Being there really opened up my world. I think of my time there as one of the best periods of my life.”
After returning from the Netherlands, Weerapat applied and got accepted to work at an urban planning consulting firm. He later realized that the job might not be for him and decided to quit to start working as a freelancer. Things progressed and fell more into place, leading him to go from working solo to having one, two and more people working with him. Eventually, STUDIO TOFU was born.
“I want the word TOFU in the name to make people feel like architecture or design isn’t something far-fetched.”
STUDIO TOFU was founded in 2007, around two years after Weerapat’s freelancing career took off. The ‘TOFU’ part of the name comes from his intention for the studio to feel more accessible to the general public, not wanting design to look like something intimidating or incomprehensible. “I was having a meal and saw the word ‘TOFU’ and I thought to myself, I like these four letters together. The word is easy to pronounce, easy to write. The word ‘tofu,’ which gives off this image of a white, pale, plain looking rectangular form with bland taste, is something entirely opposite to the details that come with the work that I do, so there’s this contrast that I like. I want the name TOFU to make people feel like architecture or design isn’t something far-fetched or out-of-reach.”
“We are a small company.” Weerapat defines STUDIO TOFU as a small company working primarily in architectural and interior design. It’s been twelve years and STUDIO TOFU has gone through quite a few adjustments with its team members. There was a time when there were twelve people working together before Weerapat downsized the team to better suit the studio’s working style. There are currently six members on the STUDIO TOFU team, including Weerapat. One oversees the administrative works, document and accounting system and the remaining five are members of the design team, which comprises both architects and interior designers.
“In terms of communication, management and our work process in general, I don’t think we are ready to have that many people working on our team so I think I will stick to what I’m the most comfortable with. And there are people who want to work with us because they like how we do things, so it’s better this way, keeping everything in the right process and order, choosing the right projects to work with.” With the company being rather small, the design team with both architects and interior designers are required to stay fully informed and understand both the architecture and interior design part of the projects. Such a method allows everyone on the team to see what is missing, keeping an eye on all the gaps in different parts of the job while still working together as a team.
บรรยากาศภายในบ้านของ โครงการ The Bound House บรรยากาศภายในบ้านของ โครงการ The Bound House
“Our interior designers have to be able to handle the architecture, at least to a certain extent, and the architects have to know interior design to a certain point. We would talk about this from time to time, and everyone has said that they like how this way of working since it allows them to learn and practice on something that isn’t entirely their expertise. I think when a designer looks into the architectural part of a project, they can see certain flaws in the interior design better, and they can also see how certain elements complement each other. And vice versa, having a better understanding of how interior design works allows architects to know how the things they design affect the architecture. In the end, I think this method and approach is beneficial for everyone.”
For the people who wish to be a part of STUDIO TOFU, “discipline and patience’ are what Weerapat finds to be more important than talent while the most significant trait of all is the willingness to learn and be open to new things. To Weerapat, the way STUDIO TOFU works is an ongoing learning process. “What’s more important than talent are discipline and patience. Those are the first qualities I look for. But the people who are determined to pursue a career in this line of work have to love to be creative, to think and always be ready to be open to new things. I’m like that. I’m always ready to learn because I think I will be a student for the rest of my life. I learn from working with my team and the clients.
“We want to work to create the actual works. The best marketing strategy is to do good work so that people can see for themselves and recommend your studio to others.” Some of the first clients STUDIO TOFU had were through friends’ recommendation, then it became friends of friends. When the work is good, words spread, and STUDIO TOFU has gradually made a name for themselves. Another group of clients that Weerapat considers to be a significant part of many of the studio’s memorable projects are the project owners whose varying expertise allow him and his team to constantly experiment on something new.
“Personally, I’m very attentive to details. So, when I work with people who are even more detail-oriented than me, the experiences automatically force me to continue developing myself. For example, when I work with hotel owners, it’s a new learning curve because these people have the knowledge and expertise in the hospitality field, which is something I can learn from. Some of the back of the house operations, or the management side of things are something designers may never know or even think about before. Our clients work with us, give us feedback and provide in-depth information that we need to or should know.”
STUDIO TOFU’s portfolio is diverse since they don’t work only on specific type of projects, but anything from houses, condominiums, hotels, shopping malls, cafes, restaurants, or even for fashion brands. Every completed work is the manifestation of the team’s interdisciplinary knowledge and interests, applied and executed with the practice of design that is based on the same conceptual core or principle. “We’re interested in art, including the newer forms of art. We’re into graphic design and we’re obsessed with architecture. We utilize the things we’re interested in, things we have learned. We express concepts differently but they’re based on the same conceptual core or principle.”
“To us, working is about the process.” As the studio grows older, thought processes changes and experiences accumulate. One of the things Weerapat realizes from how STUDIO TOFU works is the focus that has been put on the work process. Through countless hours of experimentation and trial and error, more lessons are learned and they’ve grown into a team of professional practitioners with more experiences. Everything gradually forms into a work process where everyone is able to fully contribute their ideas of how the work should be done. They work without any limitations or unpleasant work culture created by toxic seniority or employer-employee relationships. Such a process enables constructive exchanges and sharing of ideas among team members, allowing everyone to see new possibilities from various aspects. Their ‘working tools’ are developed from their experiences working on different types of projects as well as the members’ diverse interests, and the result of the studio’s diverse work processes.
“Say we have 20 different methods or tools, we can integrate method 1 to method 17 for a project and choose a different tool to use with another project. All these methods help create a new tool that can be further developed for our future works.” The way STUDIO TOFU works is an incisive integration of experiences, understanding, testing and processing to find the best possible method and approach to a particular work. “At first, the amount of sketches we made were enormous. It was like that in the first projects, but after a while, and many mistakes, we’ve gradually learned and moved forward.”
บรรยากาศภายในบ้านของ โครงการ The Bound House บรรยากาศภายในบ้านของ โครงการ The Bound House บรรยากาศภายในบ้านของ โครงการ The Bound House
The Bound House, an incredible lesson and tremendous opportunity.
“I think if we start with quality, from good space to great user experience, that will lay the ground for the business. That’s where The Bound House originated.” The Bound House is an unprecedented housing estate project in Nakhon Pathom that STUDIO TOFU has developed. By devising their experiences and expertise in designing various types of residential projects, STUDIO TOFU developed The Bound House with the intention for it to be different and focus, not on profit making but, more on people’s living experiences and the quality of the neighborhood, environment and life.
“I wanted to develop a project of our own at one point but I wasn’t exactly sure when. But that idea of wanting to develop a residential project that would allow me to take my decade-long experiences and knowledge further was always at the back of my mind. When we were about to start The Bound House, we paid attention to every detail. We had architects survey the site, and we had a specialized team handling market research. The turning point was when we did the in-depth interview with 6 prospective homeowners who were planning to buy a house within that year. We were going to do 12 but the consultant firm said to start with 6 and if all the 6 people’s opinions were unanimous we didn’t have to do the rest. The age ranges of our interviewees were between thirties and sixties. The results we got were mostly positive. What we thought from the standpoint of an architect who wanted to design a house for sale was actually something that could really happen. It wasn’t just an unrealistic idea or our own wishful thinking.
Weerapat started off The Bound House with discussions with his friends, each with experiences in the fields needed for the development of this type of project. Many suggested that he should kick off the brand with a project in Bangkok. “But we think it’s doable,” was what Weerapat thought after receiving consultations from a number of people. When the team began collecting data and doing the survey, they discovered that while many housing estate projects put an extra emphasis on marketing strategies and promotions, very few were actually focusing on the quality of the living space. Werrapat used that as the key starting point of The Bound House. The first client of the project is a required governmental officer who lives alone and doesn’t wish to be burdened by the maintenance of a house that is too big, but rather a house that is easy to take care of and rightly suits his simple lifestyle. The client’s view and demands correspond with the design concept behind The Bound House, which aims to be a residential project for the life of the future with sufficient functional spaces that require minimum maintenance, that are easy to clean with a foyer that brings in natural light, while the house itself is designed to be energy-saving.
บรรยากาศภายในบ้านของ โครงการ The Bound House บรรยากาศภายในบ้านของ โครงการ The Bound House
One can say that The Bound House is a big turning point in Weerapat’s career, from his role as a designer to new responsibilities as the project’s owner. While everything felt like a new start from square one, what Weerapat ended up learning from the project is how the success of The Bound House isn’t a result of a competition with competitors but himself. He also realizes that having the knowledge and experiences as well as good connections contribute a great deal to the quality and success of a project, and that if one sets their mind to create a great work, despite obstacles and hindrances, the end result will come in the form of a very tangible achievement. And The Bound House is just the case.
“People look at me and they see success but the road we walked on wasn’t exactly a bed of roses. We were never in an ivory tower and we were hurt a lot. A lot of things were on the clients’ part but now we have to do those things ourselves. When we discussed the design with a project owner, they would have the marketing people telling us to revise the design to lessen the construction costs and it would be better, business wise. We didn’t know things to the extent that we do now, and we had never really been a part of the mechanism of the business, so our take at the time was: instead of the marketing team telling us to reduce construction costs, they should find a way to bring more money into the project. But now we know why they said that because we’re in a different role.” The next step for The Bound House is expanding the brand to other areas with enough potential for an investment. The expansion of The Bound House is also a new step for STUDIO TOFU.
The Next Move
Currently, STUDIO TOFU is under a newly founded company called Bound Group, which functions as the big umbrella for future investments. Within the Bound Group are 1) STUDIO TOFU, an architectural and interior design practice 2) The Bound House, a company that focuses on the development of residential projects of the future and 3) Life Shop Nakhon Pathom, a shop selling design and eco-friendly products, including ice-cream with unusual flavors, which also houses a sales gallery and model living space of The Bound Houses, each is managed separately. In near future, the Bound Group will welcome Bound Plus whose main role will be to handle the management of the company’s collaborations with outside partners who can provide expertise and services that are beyond the realms of the three companies under the Bound Group’s umbrella.
“Having developed The Bound House, we are able to determine our strengths and areas we are not exactly good at. When we’re moving or expanding into another market segment, we know that we want to work with people who are good at things we may not be the best at. That is why Bound Plus was established.”
One thing we learned from this conversation with Weerapat is no matter how advanced technology has become, and people may go on the Internet to search for hundreds or thousands sources of inspirations, the people who can turn those dreams and visions into reality are still the designers. Another important message that Weerapat leaves for the young generation designers is something he has done throughout his professional life. “Think and put an idea into practice, and evaluate it quickly. If it’s good, proceed, if it isn’t, improve. And if you know something is never going to work, drop it yourself before someone else does that instead of you. This way, you won’t get stuck with a bunch of ideas only circulating in your head.”