Nature Meets Culture

In a new hotel complex in Bhutan, Habita Architects has accomplished an architectural design that embraces and respects nature with an un- derstanding of the country’s vernacular architecture.

Text: Pitirat Yoswattana
Photo Courtesy of Habita Architects

Download the online journal Issue 04 Towards Circular Living Click here

หากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นภูมิปัญญาที่สะท้อนแนวคิดการจัดการ แก้ปัญหา และปรับตัว ของกลุ่มชน สะท้อนออกมาในการวางผัง รูปทรง โครงสร้างและวัสดุอาคาร การออกแบบอาคารในต่างถิ่นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาเหตุผลและแนวคิดเหล่านั้นเพื่อปรับใช้กับโจทย์ที่ได้รับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ บริษัทสถาปนิกแฮบบิตา ยึดเป็นแนวทางสำคัญในการออกแบบโรงแรมและรีสอร์ทเสมอมา เพราะเชื่อว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นผ่านการพิสูจน์ด้วยกาลเวลาแล้วว่าเหมาะกับที่นั้นๆ และ Six Senses Bhutan ก็ถูกออกแบบด้วยแนวทางดังกล่าว ประเทศภูฏานมีกฎหมายควบคุมว่าสถาปัตยกรรมที่จะถูกสร้างขึ้นต้องเป็น Bhutanese Architecture เท่านั้น และต้องผ่านการอนุมัติในระหว่างการออกแบบด้วย แม้จะมิได้บัญญัติลักษณะไว้ชัดเจน แต่ทางแฮบบิตาศึกษาค้นคว้าผ่านอาคารจริง และเอกสารอ้างอิงต่างๆ ตามประเภทของอาคาร สภาพแวดล้อมของที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ และลักษณะอาคารแต่ละภูมิภาค นำไปสู่แนวคิดในการออกแบบบนพื้นฐานของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น จนได้รับรางวัลระดับนานาชาติ อย่างเช่น Prix Versailles 2019 World winner สาขา Hotel Design  รางวัล AHEAD Asia hospitality Awards ใน Resort Category และ 2nd Place Global Sanctuary AHEAD Awards, 2020 รางวัล World winner ในสาขา Resort ของ รางวัล Hospitality Design เป็นต้น

ราชอาณาจักรภูฏาน ประเทศขนาดเล็กที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรม จุดหมายในการเดินทางของใครหลายๆคน การเข้าประเทศมีการควบคุมโดยกำหนดแพ็กเกจค่าใช้จ่ายขั้นต่ำของนักท่องเที่ยวต่อวัน และต้องมีแผนการเดินทางที่ชัดเจนผ่านบริษัททัวร์  ทางโครงการจึงมีแนวคิดออกแบบประสบการณ์การเดินทางของผู้เข้าพัก (Journey design) ให้แวะพักไปตามเมืองต่างๆที่เป็นจุดท่องเที่ยวหลัก 5 เมือง ได้แก่ Thimphu, Paro, Punakha, Gangtey และ Bumthang กระจายเป็นโครงการขนาดเล็กที่บริหารจัดการร่วมกัน ภายใต้ปรัชญาหลักของ Six Senses คือ Responsible Luxury ความหรูหราสะดวกสบายที่ยังคงใส่ใจและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 

สถาปนิกจึงได้นำเสนอแนวคิดให้แต่ละโครงการ โดยใช้จุดเด่นของที่ตั้ง และความเข้าใจในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ร่วมกับรายละเอียดลักษณะอาคารของแต่ละภูมิภาค และได้ทีม Six Senses Creative ร่วมออกแบบ Interior design สนับสนุนแนวคิดหลักได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยห้องพัก 82 ห้องและวิลล่า แบ่งเป็น Six Senses Thimphu มีห้องพัก 20 ห้องและวิลล่า 5 หลัง โรงแรมตั้งอยู่บนเขาสูง ซึ่งสามารถมองเห็นเมืองทิมพูซึ่งเป็นเมืองหลวงเบื้องล่าง ผู้ออกแบบจึงใช้แนวคิด “Castle in the Sky” จากความชื่นชอบในแอนิเมชันเรื่องหนึ่ง และความสอดคล้องของเนื้อหาและบริบทในเชิงความหมายคือปราสาทบนท้องฟ้า โดยให้ความรู้สึกลอยอยู่บนฟ้าด้วยการใช้น้ำตื้น (Reflected pond) เป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นผืนน้ำที่สะท้อนท้องฟ้าและมวลเมฆมาอยู่เบื้องหน้าอาคารส่วนกลาง การตกแต่งภายในก็ใช้แนวคิดเดียวกันโดยการใช้องค์ประกอบที่สะท้อนถึงก้อนเมฆ ไม่ว่าจะเป็นริ้วเมฆบนฝ้าเพดาน และลวดลายของพรม ที่ถูกถักทอเป็นลายก้อนเมฆในแบบประเพณี Six Senses Paro มีห้องพัก 16 ห้องและวิลล่า 4 หลัง ใกล้กับที่ตั้งมีซากอาคารหินก่อโบราณ จึงนำไปสู่แนวคิดที่จะคืนชีวิตให้กับซากอาคารดังกล่าว โดยการใช้วัสดุ และเทคนิคในการเรียงหินเช่นเดียวกับซากปรักหักพัง เพื่อให้ซากอาคารเก่าเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของอาคารโรงแรมที่สร้างขึ้นมาใหม่ ในทางกลับกันอาคารของโรงแรมก็เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของซากอาคารเก่า ให้อดีตกับปัจจุบันประสานกันและดำรงอยู่ร่วมกันต่อไปตามแนวคิด “Living Ruins”

Six Senses Punakha มีห้องพัก 16 ห้องและวิลล่า 3 หลัง เมื่อเดินทางสู่พูนาคา ทัศนียภาพที่เห็นได้โดยทั่วไปคือนาขั้นบันได และบ้านของชาวนาที่ตั้งอยู่เรียงราย ในระหว่างกระบวนการออกแบบ ผู้ออกแบบได้พบภาพเก่าที่มีระเบียงที่ยื่นไปในอากาศของบ้านชาวนาหลังหนึ่ง ภาพดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ออกแบบนำเสนอแนวคิด “Flying Farmhouse” วางอาคารส่วนกลางให้ยื่นไปในอากาศ เหมือนลอยอยู่เหนือนาขั้นบันไดเบื้องล่าง  Six Senses Gangtey มีห้องพัก 8 ห้องและวิลล่า 1 หลัง กังเตเป็นเมืองที่นกกระเรียนคอดำ (black-necked cranes) ซึ่งเป็นนกอนุรักษ์ อพยพมาจากธิเบตเป็นประจำในฤดูหนาว และมองเห็นได้ชัดเจนจากที่ตั้งโรงแรม จึงออกแบบพื้นที่ส่วนกลางเป็นพื้นที่สำหรับดูนก นำมาซึ่งแนวคิดในการออกแบบ “Bird Watching Bridge” โดยใช้ลักษณะโครงสร้างของสะพานซึ่งเห็นได้โดยทั่วไป เป็นโครงสร้างหลัก ส่วน Six Senses Bumthang มีห้องพัก 8 ห้องและวิลล่า 1 หลัง ผู้ออกแบบต้องการให้อาคารเป็นส่วนหนึ่งของป่าสนที่อยู่รายรอบที่ตั้ง นำมาซึ่งแนวคิด “Forest in the Forest” ใช้เส้นตั้งเป็นองค์ประกอบหลัก ให้ล้อไปกับป่าสน เมื่อผู้มาเยือนมาถึงพื้นที่ส่วนกลาง จะพบกับลานที่มีต้นสนเดิมทะลุผ่าน มีสวนส่วนตัวในห้องพักแต่ละห้อง เป็นความตั้งใจให้รู้สึกว่าในอาคารมีป่า และในป่ามีอาคาร

ปัจจุบัน ภูฏาน นอกจากจะปล่อยคาร์บอนจำนวนน้อยแล้ว ยังมีป่าไม้ที่ปล่อยออกซิเจนจำนวนมาก และมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี มีการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำ เป็นพลังงานหมุนเวียนสะอาด ลดการใช้ฟืน น้ำมันและถ่านหิน ส่งออกพลังงานให้ประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับจำนวนประชากรน้อย มีศาสนาและความเชื่อที่ผูกพันธ์กับธรรมชาติ นโยบายรัฐที่มิได้มุ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ แต่ใส่ใจความสุขของประชาชน ธรรมชาติ และวัฒนธรรม ส่งเสริมพลังงานยั่งยืน ทำให้ภูฏานเป็นประเทศแรกที่มีอัตราการปล่อยคาร์บอนติดลบ (Carbon-Negative Country) ด้วยเหตุนี้ โครงการ Six Senses Bhutan จึงไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน แต่เน้นการออกแบบอาคารที่โอนอ่อนตามสิ่งแวดล้อม บนความเข้าใจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตั้งแต่ การวางผังโครงการ (Resort Layout) เนื่องจากเป็นรีสอร์ทที่มีจำนวนห้องไม่มาก เน้นประสบการณ์ของผู้เข้าพักให้สัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริง ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาสวยงาม อากาศดี ผู้ออกแบบจึงจัดวางอาคารให้ลดหลั่นตามเนินเขา (Contour) กระจายแทรกไปกับธรรมชาติ สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้เข้าพักได้อีกด้วย เสริมด้วยการสร้างพื้นที่ส่วนกลางตามแนวคิดหลักของแต่ละโครงการให้มีความหมาย แตกต่าง และน่าจดจำ ด้วยข้อบังคับทางกฎหมาย และด้วยความเป็นรีสอร์ทแนวธรรมชาติ รูปทรงและวัสดุอาคารจึงเป็นไปตามแนวทางของ Bhutanese Architecture โดยอาคารทั้งหมดเป็นอาคารทรงเตี้ย (Low-rise) มีความสูงเพียงสองชั้น ขนาดเล็ก วางสัดส่วนอาคาร และหลังคาจั่วตามแบบอาคารท้องถิ่น ซึ่งเหมาะสมกับที่ตั้งและภูมิอากาศ ไม่จำเป็นต้องนำเข้าวัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ซับซ้อนไปกว่าที่มีใช้กันอยู่ในประเทศ

ในส่วนของ โครงสร้างและผนังอาคาร แม้การก่อสร้างแบบดั้งเดิมในภูฏานจะใช้ผนังรับน้ำหนัก (Bearing Wall) ร่วมกับงานไม้ในชั้นบนและหลังคา แต่ปัจจุบันนิยมใช้ระบบเสาคานคอนกรีตเสริมเหล็กกันทั่วไป ผู้ออกแบบจึงใช้เสาคานร่วมกับการก่อผนังหนา 40-60 ซม. สอบเอียงตามแบบท้องถิ่น ทำหน้าที่ช่วยเป็นฉนวนอาคาร ส่วนที่ Six Senses Paro ใช้ผนังก่อหินจริงโดยควบคุมให้ได้รูปแบบที่สวยงาม ส่วนผนังดินอัด (Rammed Earth) แม้เป็นเทคนิคท้องถิ่น แต่ต้องการการดูแลรักษาค่อนข้างมากสำหรับอาคารประเภทรีสอร์ท จึงมีใช้น้อยเพียงบางอาคารเท่านั้น เช่น ในกลุ่มอาคารสปาของพูนาคา ทางโครงการยังใช้งานไม้ในหลายส่วน เนื่องจากเป็นวัสดุท้องถิ่นที่ยั่งยืน มีช่างที่ชำนาญอยู่แล้ว เพียงปรับขนาดและระยะต่างๆให้เหมาะสมกับอาคาร ทั้งในงานพื้น ผนัง ประตูหน้าต่าง และโดยเฉพาะโครงสร้างหลังคาไม้ ใช้ระบบหลังคาทรงจั่วแบบดั้งเดิม แต่มีชายคายื่นยาวมาก มุงด้วยไม้แผ่น (Shingle roof) แต่ติดตั้งให้มั่นคงขึ้น เสริมด้วยหินวางทับด้านบน ใต้หลังคาจั่วลงมา จะเป็นช่องอากาศเหนือหลังคาแบนของอาคาร (Double-Layered roof) ซึ่งใช้โครงไม้และหลังคาเบา โดยแบบดั้งเดิมจะปูทับด้วยดิน เป็นฉนวนให้อาคารอีกส่วนหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม วัสดุบางอย่างอาจถูกนำเข้าเท่าที่จำเป็นจากอินเดียเป็นปกติ เช่น กระจก โดยโครงการใช้กระจกสองชั้น (Double-Glazing) ทั้งหมด และอุปกรณ์ประตูหน้าต่างที่ไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศ เป็นต้น ด้วยลักษณะที่เหมาะสมกับพื้นที่และภูมิอากาศดังกล่าว ในส่วนของงานระบบอาคารจึงเป็นไปตามมาตรฐานอาคารสาธารณะที่เหมาะสมและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เสริมความสบายให้ผู้เข้าพักด้วยระบบการทำความร้อนที่พื้นอาคาร ระบบทำความเย็นในหน้าร้อน ระบบน้ำร้อนสำหรับสระว่ายน้ำ เมื่อไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน ก็เพียงพอที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสมดุลคาร์บอนในประเทศได้ เมื่อรวมเอาแนวคิดการออกแบบแต่ละโครงการ ผนวกเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม รูปทรงและวัสดุอาคารที่กลมกลืนไปกับพื้นที่ เสริมด้วยงานตกแต่งภายในที่สอดคล้อง และงานภูมิสถาปัตยกรรมที่เน้นใช้พืชพรรณท้องถิ่นร่วมกับของเดิมอย่างเป็นธรรมชาติ โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการออกแบบที่เรียนรู้จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและที่ตั้ง ไม่สร้างสิ่งแปลกปลอมที่ฝืนกับพื้นที่ ก็สามารถสร้างสรรค์โครงการให้โดดเด่นจนได้รับการยอมรับจากผลรางวัลมากมาย และยังเป็นตัวอย่างการออกแบบเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสมดุลคาร์บอน (Carbon Neutrality) หากรวมกับการจัดการโรงแรมที่เน้นความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักรู้ให้นักเดินทาง ก็เชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (Sustainable Tourism) ในประเทศภูฏานได้เป็นอย่างดี

Vernacular architecture is a form of wisdom that reflects a community’s skills and intellectual ability to manage, solve problems and adjust, creating instinctively derived solutions, which appear in the form of a building’s planning, shapes, structures and materials. Designing a building in a foreign land demands a great deal of study into the logic and ideas behind the vernacular elements of its architecture, before adapting them to suit the given requirements. Such an approach is what Habita Architects has taken when designing hotel and resort projects, believing that vernacular architecture has been proven through time for its suitability with the place of its origin. And their work with Six Senses Bhutan is realized from this very approach.  

Bhutan has laws that regulate all the built structures in the country to be designed and constructed with stylistic elements and construction methods of Bhutanese Architecture, and each design is required to go through the Bhutanese authority’s approval process. Although there is no definite guideline indicating the elements and characteristics of Bhutanese architecture, Habita did an extensive research on the country’s vernacular buildings, including documents referencing different building types, locations, climate and architectural typologies that varied in each region. The project’s vernacular architecture-based design won Habita internationally recognised awards, from the winner of the Hotel Design category from Prix Versailles 2019 World, the AHEAD award from Asia hospitality Awards in the Resort Category to the World Winner from 2nd Place Global Sanctuary AHEAD Awards, 2020, in the Hospitality Design category. 

The Kingdom of Bhutan is a small country that is home to rich natural resources and cultures. It is also a dream travel destination for travellers from around the world. To enter the country, a traveller is required a minimum daily package for travelling in the country, with a clear itinerary organized by a certified travelling agency. The Six Senses Bhutan is realized using a Journey Design approach where a guest travels to five travelling destinations in five main cities, Thimphu, Paro, Punakha, Gangtey and Bumthang, consequently leading to the birth of five small projects operated and managed under Six Senses’ philosophy, ‘Responsible Luxury.’ Offering the ultimate travelling luxury alongside a great awareness in the environment. 

The architect proposes a concept for each of the establishments to make the best use of its location, with the design that is developed from an understanding and appreciation in the country’s vernacular architecture and its varied elements used in different regions. The architecture team of Habita works together with the Six Senses Creative team, who is in charge of the hotels’ interior design, that is developed from the same main concept. Six Senses Bhutan comprises 82 villas in total. Six Senses Thimphu is home to 20 rooms and 5 villas, situated on the high mountainous land overlooking the country’s capital city of Thimphu. The design translates the ‘Castle in the Sky’ concept, which is inspired by the animation film of the same name, reflecting the project’s narrative and context into a thoughtfully devised architectural program with the use of a reflected pond as the key element. The mass of the water reflecting the sky and floating clouds sits in front of the main building. The interior design sees a similar concept with different decorative elements that takes inspiration from the mass of the clouds, from motifs on the ceiling of the carpet, meticulously woven into traditional cloud patterns. 

Six Senses Paro houses 16 rooms and 4 villas. Since the site situated next to an ancient stone building, the design team has been inspired by the idea of giving back the life to the deserted structure, leading to the use of materials and masonry techniques that make the hotel contain similar architectural traits, turning the ruins into a part of the newly constructed hotel. Vice versa, the new hotel building now emerges as a part of the ancient structure, as the past and present collide and coexist under the ‘Living Ruins’ concept.  The 16 rooms and 3 villas of Six Senses Punakha embrace the scenic landscape of terraced rice fields and homes of local farmers. The design takes inspiration from a photograph found of an elevated terrace of a farmer’s house, and developed the hotel under the ‘Flying Farmhouse’ concept. Rendering an architectural form with the middle area protruding in the air as if it was floating above the terraced rice fields down below. 

Six Senses Gangtey comprises 8 rooms and 1 villa. Gangtey is home to black-necked cranes, a protected species of birds that migrate from Tibet during winter, and their natural habitat can be visually seen from the hotel’s location. Habita designs the hotel’s common area into a bird observation point from the ‘Bird watching bridge’ concept of the hotel where the structure of a bridge is incorporated as the main architectural structure. Six Senses Bumthang houses 8 rooms and 1 villa with the design that integrates the hotel’s architecture to the pine wood that surrounds the site. The design’s ‘Forest in the Forest’ concept utilises vertical lines as the key element, corresponding with the natural attributes of the pine forest. When visitors arrive at the common area, they will encounter a space with towering natural pine trees growing in the middle. Each unit has a private garden, highlighting the presence of the forest inside of the architecture and the way the hotel co-exists as a part of the local forest. Bhutan has been successfully controlling its carbon emissions with vast forest lands that release more oxygen into the environment each year. It is able to produce clean, circular energy from hydro power, reduce the use of firewoods, oil and coal, while excess amounts of produced energy are exported to the neighbouring countries. Due to the small population, who hold religion and local beliefs that are closely connected to nature, and the governmental policies that do no seek economic wealth but the happiness of the people, and affluence of nature and culture, all the while advocating the production and consumption of sustainable energy, Bhutan has become the world’s first ‘Carbon-Negative Country.’

With that as the project’s background, the creation of Six Senses Bhutan didn’t need complicated construction technology but the architectural design that complies with, embraces and respects nature with a true understanding in the country’s vernacular architecture. The resort layout, which is designed for only a few rooms of the five hotels, emphasizes on the staying experiences that allow guests to be subsumed by the presence of nature. With the locations nested in the gorgeous mountainous landscapes with impeccable weather, the architect places the buildings along the sites’ contour lines, scattered into the natural surroundings while offering a great sense of privacy. Everything is completed with common areas realized from each project’s concept to create meaningful, different and memorable works of architecture. Due to local building laws and regulations and the project’s concept that centers around nature and locality, the architectural forms and materials have Bhutanese Architecture as the main point of reference. All the built structures are low-rise with a maximum height of only two stories, relatively small in size with gable roof structure similar to those of vernacular buildings. Gable roof is the most fitting roof structure for the country’s geographical and climatic conditions, meaning the hotels were built without the need for imported products and complicated construction methods, but from local materials and construction techniques which have been used in Bhutanese Architecture for generations.  

In terms of the structure and wall system, traditional Bhutanese architecture uses bearing walls along with woodwork for the upper floor and roof structure, although reinforced concrete beams and columns are now widely used. The architect integrates the contemporary beam and column system with the construction of 40-60 cm. thick walls with a slight inclination, mimicking the vernacular architectural characteristic, turning the walls into insulation for the buildings. At Six Senses Paro, meticulously designed walls are constructed using real, natural stones, while rammed earth, despite being a local construction technique, requires a great deal of maintenance, especially when used with resort buildings, causing the design team to use the material only with some areas such as the spa building of the Phunaka project. Woodwork can be found in several parts of the project mainly because it’s a locally and sustainably sourced material. The design team adjusts the sizes and ranges to best suit each building’s architectural and interior elements, from floors, walls to windows and doors, particularly the wooden gable roof structure with canopies that extend from the building at a significant range. The shingles are installed with extra stability reinforced with the stone plates laying over the top. Underneath the gable structure is the void for air intake and exhaust. The void sits above the double-layered roof made of a light wooden frame. Using a traditional vernacular technique, earth is laid over the wood frame, adding another layer of insulation to the buildings. Nevertheless, there are certain materials that needed to be imported from India such as glass (the architecture team has used double-glazing glass with all the projects), including door and window fittings that couldn’t be manufactured locally. 

While all the elements of the architecture developed with a great consideration in the sites’ geographical and climatic conditions, the building systems also follow the standard guideline of environmentally friendly public buildings. The design creates a more comfortable staying experience with a heated floor system, and air cooling system for the summer, as well as swimming pools with a heating system installed. Without the need for complicated technology, the hotels are operated according to their superlative standard while still contributing to balancing the country’s impressive control of carbon emissions.

Six Senses Bhutan sets an impressive example of the design that learns from the vernacular architecture of the land it is a part of with the concepts behind the designs of all the establishments in this project, the breathtaking surroundings, architectural forms and materials that exist in harmony with the locations. Not to mention, interior design that perfectly complements the architecture and landscape architecture, which sees an amazing combination between indigenous plants and naturally growing flora. The project has achieved this without alienating itself from the local physical and cultural environment and is still able to express its distinctive character. What the project has achieved and the credentials it receives are quite self-explanatory. What Six Senses Bhutan exemplifies is how a thoughtfully designed project can create a business establishment that can truly attain a state of carbon neutrality. Alongside the hotels’ environmentally conscious operations and travellers with the right mindset and awareness, Six Senses Bhutan seems to have found its place in Bhutan’s sustainable tourism. 

Pin It on Pinterest

Shares
Share This