ASA ESAN: ศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนบ้านหนองแสง

เรียบเรียงโดย ดร.สรชัย กรณ์เกษม จากบทความเดิมโดย Pau Sarquella Fabregas
ภาพ : Beer Singnoi, Pau Sarquella Fabregas

ในช่วงปิดเทอมใหญ่ของทุกปี นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ INDA – International Program in Design and Architecture คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีการลงเรียนวิชาบังคับภายใต้รายวิชาโครงการออกแบบและก่อสร้างเพื่อชุมชน (Design and Construction Project for Communities) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตได้สัมผัสงานก่อสร้างจริงในลักษณะต่างๆ ที่เน้นชุมชนด้อยโอกาสในประเทศไทย โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการออกแบบก่อสร้างที่ชุมชนมีส่วนร่วม และมีการประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

โรงเรียนอนุบาลดุมใหญ่ บ้านหนองแสง

โครงการสร้างอาคารสถาปัตยกรรมหนึ่งชั้นเพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้และกิจกรรมชั้นอนุบาลของโรงเรียนดุมใหญ่ บ้านหนองแสงเป็นหนึ่งในทั้งหมด 5 โครงการจากรายวิชาโครงการออกแบบและก่อสร้างเพื่อชุมชนดังกล่าว เมื่อ ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561 นำทีมโดยอาจารย์ Pau Sarquella Fabregas และอาจารย์ Carmen Torres Gonzalez ซึ่งทั้งคู่เป็นอาจารย์สถาปนิกจากประเทศสเปน ร่วมกับผู้ช่วยสอนนายแทนสกุล สุวรรณกูฏ และนิสิต INDA อีก 21 คน และที่สำคัญยังได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากบริษัท Mitsubishi Elevator (Thailand) Co., LTD.

การริเริ่มของโครงการมาจากการตีโจทย์ความต้องการใช้พื้นที่ใช้สอยเพื่อการเรียนรู้และการทำกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนดุมใหญ่ บ้านหนองแสง โดยขั้นแรกทางโรงเรียนมีความต้องการพื้นที่อยู่ที่ 50 ตารางเมตร แต่ด้วยความร่วมมือเพื่อตอบโจทย์กับความท้าท้ายในความต้องการใช้สอยของพื้นอย่างจริงจัง ทั้งจากครูใหญ่และทีมสร้างสรรค์งานออกแบบจาก INDA ทำให้สุดท้ายพื้นที่ได้ขยับขยายไปอยู่ที่ 300 ตารางเมตร ใช้เป็นพื้นที่การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล พื้นที่เรียนรู้และเป็นบริเวณเล่นของเด็กๆ รวมไปถึงรองรับเป็นพื้นศูนย์กลางสำหรับชุมชนในหมู่บ้าน 500 คน ที่สามารถใช้พบปะทำกิจกรรมในชุมชน โดยมีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ

โรงเรียนอนุบาลดุมใหญ่ บ้านหนองแสง

ทีมนักออกแบบจาก INDA วางแผนโครงการโดยเริ่มจากการสร้างกลยุทธ์ที่ใช้ความสมดุลระหว่างเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด ร่วมกับความคาดหวังอย่างสูงของทางโรงเรียนดุมใหญ่ ที่ต้องการจะได้พื้นที่ใช้สอยใหม่อย่างมีคุณภาพสำหรับ `นักเรียนชั้นอนุบาล’ การนำเสนอแนวความคิดในรูปแบบของอาคารจึงออกมาในลักษณะที่ให้หลังคา สามารถประกอบเป็นชุดเป็นหน่วย ที่มารวมกันและสามารถขยายต่อเติมต่อๆ ไปอีกได้ ตามความต้องการของโรงเรียนเองร่วมกับเงินทุนสนับสนุนที่จะมีเข้ามาในอนาคต โดยเทคนิคที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการก่อสร้างนี้ เกิดจากการตีความหมายใหม่จากแนวความคิดดั้งเดิมที่มีสีสันอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของบ้านหนองแสง และความศักยภาพที่ชาวบ้านในท้องที่สามารถสร้างสถาปัตยกรรมได้ด้วยตัวเอง จากการใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรที่สามารถหาได้ในท้องที่นั้นๆ ตัวอย่างเช่น ในส่วนของหลังคา มีการออกแบบรูปทรงให้มีปล่องเพื่อรับแสงสว่างและเกิดการถ่ายเทของอากาศในพื้นที่โดยธรรมชาติเพื่อสร้างสภาวะสบายให้เกิดขึ้นในตัวอาคาร ที่ปราศจากการพึ่งพาการใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้ตามความเหมาะสมในคุณสมบัติของสภาพอากาศในเขตร้อนชื้นตามบริบทประเทศไทย

โรงเรียนอนุบาลดุมใหญ่ บ้านหนองแสง

สิ่งที่เป็นจุดเด่นที่เพิ่มคุณค่าของและความทรงจำการสร้างอาคารสถาปัตยกรรมย่อมๆหลังนี้ เกิดขึ้นในช่วงของขบวนการก่อสร้าง ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันในหลากหลายชั้นเชิง จากทีมนิสิตและทีมอาจารย์จาก INDA เองกับผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านหนองแสง รวมไปถึง เด็กนักเรียน ครูในโรงเรียน ช่างก่อสร้างจากท้องถิ่นไปจนถึงชาวบ้านที่แวะเวียนกันเข้ามา ความสัมพันธ์ ความร่วมมือและความสร้างสรรค์ที่ช่วยกันสร้างขึ้นจากคนมากมายหลากหลายวัย กับบรรยากาศสภาพแวดล้อมนานาชาติที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เป็นพลังผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ อื่นเพื่อเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

นอกเหนือจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากโครงการ เด็กอนุบาลและครูมีพื้นที่ใช้สอย และสามารถให้ชาวบ้านได้ใช้พบปะ อาจารย์และนิสิตจาก INDA ได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ไปแล้ว ตัวอาคารโรงเรียนอนุบาลดุมใหญ่ บ้านหนองแสงนี้เอง ก็ได้รับถึงสองรางวัล ในรางวัล The Opinion Prize และ a Jury Mention จากงานฉลองและแจกรางวัลการออกแบบประจำปี The Best Design of the Year, International FAD 2019 Awards ที่เมืองบาร์เซโลน่าในประเทศสเปนเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีคำชื่นชมจากประธานกรรมการตัดสิน Anne Location (Lacaton & Vassal Architectes) ว่าเป็นโครงการที่มีความฉลาดในการใช้ทรัพยากรที่หาได้ในพื้นที่ที่ทำให้สามารถใช้ตัวอาคารสถาปัตยกรรมเป็นเครื่องมือในการสร้างกิจกรรมที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการใช้สถาปัตยกรรมสร้างให้เกิดเเป็นจุดรวมของชุมชน

โรงเรียนอนุบาลดุมใหญ่ บ้านหนองแสง

Project Details:

Client: Ban Nong Saeng School

Dum Yai Ban Nong Saeng School Director: Mr.Suriya Thonukarn

Instructors: Pau Sarquella, Carmen Torres

Teacher Assistant: Tanskul Suwannakudt

Students: Prompruit Snitwongse, Chanin Homdee, Wasutop Viriyasuebpong, Proud Danpoe, Rasa Shirdel, Natthida Mongkonsiri, Napassorn Charoentra, Phannarath Siritantipat, Phannita Jiravatsatith, Parisorn Itsarapanich, Thanakarn Srathongin, Pongtrust Patcharapond, Chanai Chaitaneeyachat, Palakorn Guagulpipat, Natchapongtorn Gaesornsuwan, Ponrphat Bejrananda, Yada Chatavaraha, Noppanut Bovornratanavech, Natchaluck Radomsittipat, Nutnicha Attawutinun, Panat Triwattana (INDA Students)

Main Sponsor: Mitsubishi Elevator (Thailand) Co.,LTD.

Other Sponsors: Chaiwetch Thanapaisal, Director of Chiang Rai Prachanukroh Hospital; Udomsri Siriboonma; Luacha Po-op, Managing Director of MECT co.,Ltd. ; Banyat Pimproa, Managing Director of Plutotech Company Limited; Tanin Sajjaboribun, Chief Executive Officer (CEO) of Bangkok Sheet Metal Public co.,Ltd., ; Thanakorn Wongwises, Vice President, Partner Project & Eco Building Business, Thailand & Laos, Schneider Electric Thailand; Chanisa Ngamapichon; Boonsak Kiatjaroonlert, Managing Director of Kumwell Corporation Limited; Orunuma Xuto; Korachapol Khutrakul; Pakawipa Charoentra; Nonthapat Khutrakul; Toyota Motor Corporation Thailand.

Contractor: Huanhuk Construction LP

Photographer: Beer Singnoi, Pau Sarquella

Structural engineer: Siroj Tungkahotara

Build Surface: 380m2

Budget: 800,000 THB

Project and construction dates: June 2018 to October 2018

Pin It on Pinterest

Shares
Share This