ASACREW
MARY HELP OF CHRISTIANS CHURCH (CHAWENG)
เรื่อง: ปวริศ คงทอง ภาพ: Juti architects จากการเพิ่มจำนวนของคริสต์ศาสนิกชนในพื้นที่เกาะสมุย ทั้งจากนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลที่หลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่ ชาวต่างชาติที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ หรือแม้แต่ชาวไทยในพื้นที่ซึ่งหันมานับถือศาสนาคริสต์มากขึ้น ทำให้อาคารโบสถ์เดิมไม่สามารถที่จะรองรับศาสนิกชนในพื้นที่ได้ เป็นที่มาของการสร้างโบสถ์ใหม่ในพื้นที่เฉวงน้อย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับประทานชื่อจากพระสังฆราช โยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล…
สิงสาราสัตว์ในสถาปัตยกรรมไทย
เรื่อง: ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปัตยกรรมไทยประเพณีหากเรามองดูในรายละเอียดอย่างจริงจังจะพบว่ามีเป็นจำนวนมากที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยอาศัยแหล่งอ้างอิงทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับสรรพสัตว์นานาชนิด เริ่มตั้งแต่องค์ประกอบตกแต่งอาคารไปจนถึงระดับที่ให้แนวคิดต่อการกำหนดรูปทางสถาปัตยกรรม แม้กระทั่งการเรียกชื่อโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของช่างไทยในอดีต ที่หากไล่เรียงดูก็จะเห็นเช่นกันว่ามีไม่น้อยที่ถูกนิยามขึ้นโดยอ้างอิงกับรูปร่างหรือลักษณะเฉพาะของสัตว์ ซึ่งคงจะไม่เกินเลยไปนักหากจะกล่าวว่า สถาปัตยกรรมไทยในด้านหนึ่งถูกออกแบบขึ้นจากแรงบันดาลใจที่มาจากสิงสาราสัตว์ต่างๆ ทั้งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติและในจินตนาการ เราสามารถแบ่งสิงสาราสัตว์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมไทยได้กว้างๆ เป็น 2 ประเภท คือ ความเกี่ยวข้องในฐานะที่ถูกใช้เป็นชื่อเรียกองค์ประกอบและโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมไทย กับความเกี่ยวข้องโดยตรงที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์รูปแบบทางสถาปัตยกรรม [caption…
Baan Cats 2018 หลากหลายมุมเหม่อกลางอากาศ กับการกลับมารักกันใหม่ของหมู่แมว
เรื่อง: สิริพร ด่านสกุล ภาพ: ณัฐวุฒิ มัชฌิมา Mutchima Studio สถาปนิก: ณัฐวุฒิ มัชฌิมา Mutchima Studio การเลี้ยงแมวในบ้านกำลังเป็นที่นิยม เพราะไม่รบกวนเพื่อนบ้าน ลดการเกิดอุบัติเหตุ และป้องกันการติดโรค แต่บางครั้งก็ทำให้แมวเครียด…
Studio Visit: ทิศทาง สตูดิโอ
เรื่อง: วสวัตติ์ รุจิระภูมิ ภาพ: อนันตา ฐิตานัตต์ ทิศทาง สตูดิโอ (Tidtang Studio) เป็นสตูดิโอสถาปนิกชื่อไทยๆ ที่เน้นความเป็นไทยเข้าไปอยู่ในทุกงานที่ทำ โครงการ Busaba Ayutthaya Hostel ถือเป็นผลงานที่อธิบายทิศทางของงานสถาปัตยกรรมในแบบของทิศทาง สตูดิโอได้เป็นอย่างดี…
Roundtable: Animals and Me การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้สัตว์
เรื่อง: ASA CREW Team ภาพ: ชนิภา เต็มพร้อม การออกแบบสวนสัตว์ที่มีผู้ใช้สอยอาคารเป็นทั้งมนุษย์และสัตว์นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนุกที่เราอาจจะไม่ค่อยได้พูดถึงกันสักเท่าไร ASA CREW มีโอกาสได้นั่งพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญสองท่าน ได้แก่ คุณยงชัย อุตระ สัตวแพทย์ และผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักอนุรักษ์และวิจัย องค์การสวนสัตว์…
Cat Cafe’ Home รีฟอร์มวิถีชีวิต ด้วยสัดส่วนของเพื่อนร่วมชีวิตและจังหวะในการเข้าหากัน
เรื่อง : สิริพร ด่านสกุล สถาปนิก: พร เลาหสุขเกษม Ponna Studio ภาพถ่าย: พร เลาหสุขเกษม Ponna Studio MVRDV เคยกล่าวว่า “ในโลกปัจจุบันสัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ร่มมากขึ้น มีการแบ่งปันพื้นที่กับผู้เลี้ยง…
Boonserm Premthada | Bangkok Project Studio
เรื่อง: วสวัตติ์ รุจิระภูมิ กล่าวได้ว่า ณ เวลานี้ คงไม่มีใครไม่รู้จักชื่อ ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา และ Bangkok Project Studio ซึ่งไม่ได้เพียงเป็นที่รู้จักในวงการสถาปัตยกรรมไทยเท่านั้น หากแต่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก รางวัล The Royal…
ในความสัมพันธ์ระหว่างขนาด: โลกของช้าง จังหวัดสุรินทร์
เรื่อง: อ. ดร. วิญญู อาจรักษา สถาปนิก: Bangkok Project Studio ผศ. บุญเสริม เปรมธาดา สภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่างๆ ในเมืองมักถูกกำหนดให้มีขนาดที่สอดคล้องไปกับร่างกายมนุษย์และกิจกรรมที่เราคุ้นเคย แต่ในบริบทซึ่งเราดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับสัตว์ การสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมต้องคำนึงถึงสิ่งมีชีวิตต่างขนาดกัน ความท้าทายในการออกแบบความเชื่อมโยงนี้อาจก่อให้เกิดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและประสบการณ์ที่ช่วยให้เราตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง คน…
“Small Steps Forward,” said Arrhov Frick
เรื่อง: นวันวัจน์ ยุธานหัส Images courtesy of Arrhov Frick Arrhov Frick ก่อตั้งโดย Johan Arrhov และ Henrik Frick ในปี 2010…
โรงเรียนสถาปัตย์ผลิตนักคิด
The Bartlett School of Architecture, University College London (UCL) ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะผลิตสถาปนิกเพียงอย่างเดียว แต่มีระบบการเรียนการสอนที่เปิดกว้างให้นักศึกษาได้ทดลองและค้นคว้าหาสิ่งที่ชอบและนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมก็ได้ สิ่งหนึ่งที่ได้เปรียบสำหรับโรงเรียนคือที่ตั้งกลางกรุงลอนดอน เมืองระดับโลกที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากทั่วโลกได้สัมผัสและเรียนรู้จากสิ่งที่พบเจอในชีวิตประจำวัน และเนื่องจากโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนด้านวิชาการหลากหลายด้าน จึงมีห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ และe-database ที่รวบรวมหนังสือและบทความเกี่ยวกับความรู้งานวิจัยด้านต่างๆ…
D HOSTEL BANGKOK เปลี่ยนฉากหน้าของตึกแถวให้กลายเป็นงานดรอว์อิ้ง
D HOSTEL BANGKOK ผลงานของ Klickken Studio เป็นโฮสเทลที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งในย่านข้าวสาร อันเป็นที่รู้กันว่าคือเมืองหลวงของเหล่าแบคแพคเกอร์ การออกแบบโฮสเทลแห่งนี้ได้รับโจทย์มาว่าอยากได้อาคารที่หน้าตาของมันดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ซึ่งแถวที่ตั้งของโครงการจะมีสถาปัตยกรรมในสไตล์โคโลเนียลอยู่ค่อนข้างมาก จึงนำาเอาเส้นสายสไตล์โคโลเนียลมาสร้างขึ้นใหม่แต่จะไม่ปั้นปูนในแบบร้อยปีที่แล้วเพื่อสร้างอาคารในปัจจุบันที่ยัง คงเป็นสไตล์โคโลเนียล ผู้ออกแบบจึงตัดสินใจใช้ดีเทลเหล็กเป็นองค์ประกอบแทน “Facade หรือผนังด้านหน้าอาคาร ถูกออกแบบให้เป็นตึกโคโลเนียลสีขาวในเฟรมสีดำ เราพยายามเปลี่ยนฉากหน้าของตึกให้กลายเป็นงานดรอว์อิ้ง เราสร้างกระดาษกราฟขึ้นมาเหมือนกับเวลาทำางานใน AutoCAD…
สร้างบ้านเหมือนใจคิด
บ้าน Maxime Residence ของคุณ Maxime Gheysen และคุณรัตติกาล คงใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทั้งคู่ตัดสินใจเลือกซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อสร้างบ้านเนื่องจากตัวที่ดินติดกับอ่างเก็บนํ้าและตั้งอยู่ในชุมชนที่ค่อนข้างเงียบสงบ คุณ Maxime เล่าย้อนไปถึงเมื่อครั้งเริ่มตันมีความคิดที่จะสร้างบ้าน และขั้นตอนในการหาสถาปนิกว่า … “เราค่อนข้างจะพอใจในการทํางานร่วมกับสถาปนิก เพราะทางสถาปนิกได้เสนอภาพสามมิติและหุ่นจําลอง…
พื้นที่ศิลปะในโลกสาธารณะของ Alex Face
“ผมรักและผูกพันกับงานศิลปะมาตั้งแต่เด็กๆ อยากเป็นศิลปินจึงเลือกเรียนศิลปะพอได้มาเจอกับวัฒนธรรมของ กลุ่มวัยรุ่นคือ เพื่อนๆ ที่ชอบเล่นสเก็ตบอร์ด ทําให้รู้จักกับศิลปะกราฟฟิติ้ผ่านหนังสือสเกต็บอร์ด ผมสนใจในลวดลาย กราฟิก ฟ้อนต์ และตัวการ์ตูนคาแรกเตอร์ที่มันสะดุดตา เริ่มซื้อหนังสือมาดู มาศึกษา แล้วผมก็เริ่มสร้าง Tag หรือชื่อสร้างฟ้อนต์ในรูปแบบของตัวเองเหมือนเป็นการประกาศตัวตน ครั้งแรกที่พ่นกราฟฟิตี้ก็พ่นซากรถที่ลาดกระบังนั่นแหละนั่นคือกราฟฟิตี้ยุคแรกของผม” Alex Face หรือ…
บ้านทางเลือกดินและไม้ไผ่ นวัตกรรมธรรมชาติจากอดีตสู่อนาคต
ปัจจุบันงานออกแบบก่อสร้างบ้านและอาคารมีการนำวัสดุจากธรรมชาติที่หาง่ายและลดกระบวนการผลิตที่สิ้นเปลืองพลังงานมาใช้ในการก่อสร้างมากขึ้น แนวคิดการสร้างบ้านดินและบ้านไม้ไผ่จึงมีการออกแบบนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งบ้านที่อยู่อาศัยขนาดเล็กไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ ภูมิปัญญาดั้งเดิมกำลังกลับมาเป็นทางเลือกสำหรับอนาคต ดินและไม้ไผ่ถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในเกือบทุกพื้นที่และมีศักยภาพที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ ซึ่งถ้าอาคารที่ต้องการนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มากก็อยู่ในวิสัยที่จะฝึกฝนให้สามารถทำด้วยตัวเองได้ บ้านดิน บ้านดินถือเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาดั้งเดิมในหลายพื้นที่ รวมทั้งมีเทคนิควิธีในการก่อสร้างที่หลากหลาย ต่อมาได้รับการศึกษาพัฒนาจนได้รับการรองรับด้วยกฎหมายในหลายประเทศ โดยมีการพัฒนาส่วนผสม เช่น การผสมปูนขาวหรือคอนกรีต เพื่อทำให้สามารถทนต่อการกัดเซาะของฝนได้ดีมากขึ้น เทคนิคการสร้างบ้านดินที่นิยมใช้มีอยู่ 2 วิธี คือการทำเป็นอิฐดินดิบและการใช้โครงไม้หุ้มด้วยดินผสมฟาง ดินที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการสร้างบ้านดินคือ…
สถานทูตออสเตรเลีย : สถาปัตยกรรมสีเหลืองทองบนถนนสาทรที่กําลังจะกลายเป็นอดีต
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สัญจรไปมาบนถนนสาทรเราเชื่อว่าคุณต้องเคยสะดุดตาอาคารสีเหลืองทองทรงโมเดิร์น อันเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยซึ่งอยู่คู่ถนนสายนี้มายาวนานกว่า38 ปีและเร็วๆ นี้สถานที่แห่งนี้กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวสอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปข่าวการย้ายสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย และการเตรียมพร้อมย้ายไปยังที่ทำการใหม่ในย่านสวนลุมพินีด้วยเหตุผลด้านการประเมินพื้นที่ของรัฐบาลออสเตรเลียถึงตัวอาคารที่มีอายุยาวนาน รวมไปถึงการประเมินความเหมาะสมกับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต ได้สร้างความสนใจไม่น้อยในหน้าหนังสือพิมพ์ข่าวออนไลน์รวมไปถึงวงการอสังหาริมทรัพย์เมื่อกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียได้ประกาศขายที่ดินบนถนนสาทรเนื้อที่ประมาณ 7.5 ไร่ ASA CREW ร่วมเก็บบันทึกความทรงจำ รวมไปถึงจดบันทึกความรู้ทางสถาปัตยกรรมในครั้งนี้นำโดยทีมอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพและน้องๆนักศึกษา โดยได้รับการต้อนรับพร้อมเปิดบ้านพักอันแสนอบอุ่นของคุณฮานาน โรบิลลิอาร์ด ภริยาเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย สถานทูตแห่งนี้ได้รับการออกแบบโดย Mr.Ken Woolley…
ศิลปะสร้างสุข ในแบบ ชลิต นาคพะวัน
ชลิต นาคพะวัน ผู้อำนวยการ Chalit Art Project & Gallery และศิลปินแนวนามธรรมชื่อดัง อารมรณ์ดีที่มีลายเส้นการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้เทคนิคแป้งทัลคัมและยางพาราใน โทนสีสดใสจนได้ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากแต่ในการสอนศิลปะชลิตกลับไม่ได้ให้ผู้เรียนต้องสร้างงานตามลายเส้นของเขา ในทางกลับกันเขาได้ให้ผู้เรียนได้ค้นหาตัวตนที่แท้จริง แล้วถ่ายทอดผ่านเส้น สี ที่แปรงลวดลาย จนกลายเป็นงานศิลปะในรูปแบบเฉพาะตนที่แตกต่างออกไป ไม่เพียงเท่านี้…
REWIND TO THE PAST AT BANGKOKIAN MUSEUM ย้อนเวลาหาอดีตที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
ผู้เขียนเคยได้ยินชื่อพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตบางรัก หรือในอีกชื่อคือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกซึ่งมีที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี2550 จากการที่มีผู้เสนอชื่อเข้ารับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จากนั้นทีมที่เข้าไปถ่ายทําภาพนิ่งก็เล่าย้ำอีกครั้งว่า ที่นี่ดีจริงๆ น่าจะพาเด็กเรียนอนุรักษ์มาดูสักครั้ง แต่ด้วยความที่เห็นว่าอยู่ใกล้แค่นี้ทําให้หาเวลามาดูไม่ได้สักทีจนเมื่อมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้ขอให้เข้ามาช่วยประเมินเพื่อขอรับรางวัลอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมจาก UNESCO Asia-Pacific…
“Darunbannalai” the Library for Kids บ้านโบราณซอยวัดม่วงแค สู่ห้องสมุดเจ้าตัวจิ๋ว
จากแนวคิด“บุงโกะ” ของประเทศญี่ปุ่น ที่แม้บ้านและผู้ใหญ่รักการอ่านมักดัดแปลงบ้านของตนให้เป็นห้องสมุดในชุมชนสำหรับเด็กๆ เป็นแรงบันดาลใจให้มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งมีภารกิจ “นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ” มองหาสถานที่ในฝันที่จะเป็นพื้นที่แบ่งปันการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (สำหรับเด็กแรกเกิด จนถึงเด็กอายุ 7 ขวบก่อนเข้าชั้น ป.1 ) และได้ส่งต่อสมุดนิทานถึงมือเด็กๆ ในชุมชนตามแนวคิดแบบบุงโกะบ้าง “ที่ผ่านมาเรามีหนังสือให้เด็ก แต่ห้องสมุดเราไม่มี”…